สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Fish Communities Structure and Catch Efficiency from Gillnets in the Kwan Phayao, Phayao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kanyanat Soontornprasit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับของเครื่องมืออวนติดตาหรือข่ายในกว๊านพะเยา โดยทำการศึกษาทั้งหมด ทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2560 จำนวน 12 สถานี พบปลาทั้งหมด 16 วงศ์ 39 ชนิด โดยปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบมากที่สุดปลาแป้นแก้วมีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.06 ปลาตะเพียนขาวมีน้ำหนักรวมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ39.32 ดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์และดัชนีความมากชนิดอยู่ในช่วง 0.2286- 0.5546 และ 2.4279-3.0128 ตามลำดับ เปรียบเทียบผลจับต่อหน่วยลงแรง (CPUE) ของเครื่องมือประมงข่ายที่มีขนาดตาอวนต่างกัน 6 ขนาด พบว่าขนาดตาอวน 2.0, 3.0, 4.0, 5.0, 7.0 และ 9.0 เซนติเมตร มีผลจับต่อหน่วยลงแรงเท่ากับ416.9±277.1, 359.0±47.4, 352.4±51.2, 337.3±21.0, 213.1±37.0 และ 136.7±44.1 กรัม/100 ตารางเมตร/คืน ตามลำดับ การแพร่กระจายและโครงสร้างประชาคมปลามีความแตกต่างกันตามพื้นที่และช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 โดยอัตราส่วนปลากินพืชต่อปลากินเนื้อ เท่ากับ 3.53:1 ซึ่งบ่งบอกถึงกว๊านพะเยามีความสมดุลของสัตว์น้ำ จากข้อมูลผลการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า กว๊านพะเยามีความสมดุลของสัตว์น้ำ
บทคัดย่อ (EN): A study of the fish community structure and catch efficiency from gillnets in the KwanPhayao, was collected by 6 time surveys in 12 stations during December 2016 to October 2017. Theresult indicated that fish was found 39 fish species and 16 families. Cyprinidae was the most dominantfamily. Parambassis siamensis was the most abundance species found by number (76.06%). Barbonymusgonionotus was the most abundance species found by weight (39.32 %). Diversity index and speciesrichness index were between 0.2286-0.5546 and 2.4279-3.0128, respectively. Comparison of CPUEof 6 multi mesh size gillnets showed that mesh sizes of 2.0 3.0 5.0 4.0 7.0 and 9.0 cm. mesh sizecatch of 416.9±277.1, 359.0±47.4, 352.4±51.2, 337.3±21.0, 213.1±37.0 and 136.7±44.1 g/100 m2/night, respectively. Fish distribution and communities structure were significantly different in spatialand temporal (P <0.05). The forage fish: carnivorous fish ratio (F/C ratio) was 3.53:1. It’s indicatedthat a balanced population in the Kwan Phayao. The results of this study concluded that a balancedpopulation in the Kwan Phayao was found.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=3_153_615.pdf&id=3911&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพเครื่องมือข่ายในหนองหลวง จังหวัดเชียงราย ประสิทธิภาพการจับและการเลือกจับของเครื่องมือข่ายในแม่น้ำตาปี พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างประชาคมปลา และประสิทธิภาพของเครื่องมือข่าย ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๐ โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพของเครื่องมือข่ายในแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก