สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการคัดเลือกและทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลี (ระยะที่ 2 )
กฤษณ์ ลินวัฒนา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการคัดเลือกและทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลี (ระยะที่ 2 )
ชื่อเรื่อง (EN): Varietal Selection and Trial of Chinese cabbage (2nd Stage)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กฤษณ์ ลินวัฒนา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมได้ดำเนินการในแปลงวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ปี 2558-2559 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 คือ พันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมทนร้อนที่ได้จากคู่ผสม E7 x B18 กรรมวิธีที่ 2 คือ พันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมทนร้อนที่ได้จากคู่ผสม B18 x E7 กรรมวิธีที่ 3 คือพันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมจากร้านค้าพันธุ์ที่ 1 กรรมวิธีที่ 4 คือ พันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมจากร้านค้าพันธุ์ที่ 2 และกรรมวิธีที่ 5 คือ พันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมจากร้านค้าพันธุ์ที่ 3 ซึ่งการทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสมประกอบด้วย 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝนและฤดูหนาว โดยเตรียมแปลงปลูกขนาด 1.2 x 5 เมตร ใช้ระยะปลูก 25 x 25 เซนติเมตร ตามแต่ละกรรมวิธี การทดสอบฤดูฝน พบว่าพันธุ์คู่ผสม B18 x E7 มีผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด 33.8 กิโลกรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสม จากร้านค้าพันธุ์ที่ 3 และร้านค้าพันธุ์ที่ 1 ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ย 28 และ 26.3 กิโลกรัม ตามลำดับ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับร้านค้าพันธุ์ที่ 2 และคู่ผสม E7 x B18 ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ย 24.2 และ 23.4 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนช่วงฤดูหนาว พบว่าพันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสม จากร้านค้าพันธุ์ที่ 1 มีผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด 37.6 กิโลกรัม ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับคู่ผสม E7 x B18, B18 x E7 และร้านค้าพันธุ์ที่ 3 มีผลผลิตเฉลี่ย 35.8, 31.3 และ 26 กิโลกรัม ตามลำดับ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับร้านค้าพันธุ์ที่ 2 ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ย 24.8 กิโลกรัม การคัดเลือกพันธุ์ผักกาดขาวปลีผสมเปิดทนร้อน ได้ดำเนินการในแปลงวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ปี 2558-2559 โดยใช้เมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลีจาก Asian Vegetable Research and Development Center–The world vegetable center (AVRDC-The world vegetable center), ประเทศไต้หวัน จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ V10606461106, V90606441104 และ คู่ผสม E7xB18 ซึ่งดำเนินการคัดเลือกจากต้นที่มีลักษณะการเข้าปลีแน่น โดยใช้ไม้หลักทำเครื่องหมายที่ดีที่สุด (D1) ปักไม้จำนวน 3 หลัก ที่ดีรองลงมา (D2) ปักไม้ จำนวน 2 หลัก และที่ดีพอใช้ (D3) ปักไม้จำนวน 1 หลักย้ายต้นที่คัดเลือกไปปลูกรวมกันวางเป็นชั้น ชั้นนอกสุดคือดีพอใช้ (D3) ชั้นกลางคือดีรองลงมา (D2) และชั้นในสุดคือดีที่สุด (D1) ห่างจากแปลงเดิมอย่างน้อย 1 กิโลเมตร น้ำหนักเมล็ดที่ได้จากการคัดเลือกพันธุ์ที่เข้าปลีดีที่สุด (D1) 251.8 กรัม น้ำหนักเมล็ดที่ได้จากการเข้าปลีดีรองลงมา (D2) 322.4 กรัม และน้ำหนักเมล็ดที่ได้จากการเข้าปลีดีพอใช้ (D3) 534.2 กรัม จากนั้นนำเมล็ดที่ได้จากการผสมเปิดด้วยวิธีการคัดเลือกแบบ maternal line selection มาทำการทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลีผสมเปิดทนร้อน โดยนำเมล็ดพันธุ์ D1 และ D2 จากการคัดเลือกพันธุ์ผักกาดขาวปลีผสมเปิดทนร้อนมาทดสอบกับพันธุ์การค้าในแปลงวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ปี 2559 วางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 คือ พันธุ์ D1, กรรมวิธีที่ 2 คือพันธุ์ D2, กรรมวิธีที่ 3 คือพันธุ์การค้า 1, กรรมวิธีที่ 4 คือพันธุ์การค้า 2 และกรรมวิธีที่ 5 คือพันธุ์การค้า 3 เตรียมแปลงปลูกขนาด 1.2x5 เมตร ใช้ระยะปลูก 25 X 25 เซนติเมตร ตามแต่ละกรรมวิธี พบว่า พันธุ์ D1 มีผลผลิตมากที่ 34.5 กิโลกรัม รองลงมาคือ พันธุ์ D2, พันธุ์การค้า 2, พันธุ์การค้า 3 และพันธุ์การค้า 1 มีผลผลิตเฉลี่ย 28.5, 25, 24.8 และ 23.8 กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The selection and trails of Chinese cabbage (phase 2) is very important to finding the drought-tolerant varieties of Chinese cabbage from hybrid and open-pollinated varieties. These varieties should also have high yield production and high quality. This study consisted of two experiments; In the experiment 1, the trials of hybrid Chinese cabbage varieties for drought-tolerant and the experiment 2, the maternal line selection and trails of drought-tolerant Chinese cabbage for open-pollinated varieties. The trials of hybrid Chinese cabbage varieties for drought-tolerant was determined at Chiang Mai Royal Agricultural Research Center (CMRARC), Mae-Win, Mae-Wang, Chiang Mai in 2015-2016. The experiment was designed to RCBD with five treatments and four replications of E7 x B18, B18 x E7 (hybrid varieties) and, F1 commercial variety No. 1, No. 2 and No. 3. The plot size was kept 1.2 m ? 5 m for each treatment. The row to row and plant to plant spacing were 25 and 25 cm, respectively. The growth, yield and sensory tests of Chinese cabbage were evaluated. In rainy season, B18 x E7 was higher yield (33.8 kg) than F1 commercial variety No. 3 (28 kg) and F1 commercial variety No. 1 (26.3) but did not significant different in these commercial varieties. In cold season, the yield of F1 commercial variety No. 1 (37.6 kg) did not significant higher than E7 x B18 (35.8 kg), B18 x E7 (31.3 kg) and F1 commercial variety No. 3 (26 kg), respectively. The maternal line selection and trails of drought-tolerant Chinese cabbage for open-pollinated varieties was determined at Chiang Mai Royal Agricultural Research Center (CMRARC), Mae-Win, Mae-Wang, Chiang Mai in 2015-2016. The three drought-tolerant varieties of Chinese cabbage seed from Asian Vegetable Research and Development Center–The world vegetable center (AVRDC-The world vegetable center), Taiwan such as V10606461106, V90606441104 and E7xB18 (hybrid variety) were planted and selected by the maternal line selection method. The physical characteristic of plant was selected from Crisp head, width stem and good shape that consist of D1 (head-forming leaf strong overlap at terminal region and head covered from subtending leaves), D2 (head-forming leaf slight overlap at terminal region and head intermediate from subtending leaves) and D3 (head-forming leaf curled overlap at terminal region and head exposed from subtending leaves). After that, the seed of D1 and D2 were planted and evaluated in the research field at Chiang Mai Royal Agricultural Research Center (CMRARC), Mae-Win, Mae-Wang, Chiang Mai in 2016. The experiment was designed to RCBD with five treatments of Open-pollinated varieties and four replications of D1, D2, commercial variety No. 1, No. 2 and No. 3. The plot size was kept 1.2 m ? 5 m for each treatment. The row to row and plant to plant spacing were 25 and 25 cm, respectively. The growth and yield of Chinese cabbage were evaluated. D1 was higher yield (34.5 kg) than D2 (28.5 kg), commercial variety No. 2 (25 kg), No. 3 (24.8 kg) and No.1 (23.8 kg), respectively but did not significant different in each commercial variety.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการคัดเลือกและทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลี (ระยะที่ 2 )
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2559
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อินทผลัม การคัดเลือกพันธุ์หม่อนลูกผสมเปิดเพื่อผลผลิต การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ของผักกาดขาวปลีลูกผสมชั่วที่หนึ่ง การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มะละกอปลักไม้ลาย โปรแกรมการคัดเลือกพันธุ์เพื่อผลิตกุ้งก้ามกรามสายพันธุ์ดี: ทดสอบกุ้งก้ามกรามปรับปรุงพันธุ์รุ่นที่ 2 และ4 โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ สัดส่วนรูปความเป็นประโยชน์ของยูเรีย แอมโมเนียมและไนเตรตในปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดขาวปลี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก