สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำของพื้นที่รอบทางน้ำธรรมชาติที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง
สุขลัคน์ นาเนกรังสรรค์ - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำของพื้นที่รอบทางน้ำธรรมชาติที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Water Quality of Inlet at Nhongplalai reservoir Rayong Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขลัคน์ นาเนกรังสรรค์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sukkarak Nanekrangsan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิติ พานิชการ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Niti Panichkan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: อื่นๆ
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลและทางน้ำธรรมชาติที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง กำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำ ทั้งหมด 15 จุด เป็นตัวแทนของบริเวณต้นคลองพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนของคลองธรรมชาติ ที่อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างน้ำ 7 กลุ่ม เก็บตัวอย่างน้ำเดือนละ 1 ครั้ง ตามแผนการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (เดือนมกราคม – เมษายน พ.ศ.2558) และฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ.2558) การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ และส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพน้ำตามแผนการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและฤดูฝนของคลองธรรมชาติที่อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานยกเว้นปริมาณสารแขวนลอยและปริมาณโพแทสเซียมที่มีค่ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 2) ดัชนีคุณภาพน้ำของคลองธรรมชาติที่อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ระหว่างแผนการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและฤดูฝนที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ความนำไฟฟ้า ความเค็ม ความขุ่น ปริมาณสารแขวนลอยปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำปริมาณฟอสเฟตฟอสฟอรัส ปริมาณไนเตรต-ในโตรเจนปริมาณแอมโมเนีย-ในโตรเจน ปริมาณโซเดียม ปริมาณโพแทสเซียม ปริมาณคลอไรต์ สัตส่วนของการดูดซับโซเดียม (SAR) และปริมาณโซเดียมคาร์บอเนตตกค้าง (RSC) และ 3) กลุ่มตัวอย่างน้ำที่มีค่าดัชนีคุณภาพน้ำสูงที่สุด ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างน้ำจุดรวมโปร่งน้ำปิด รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างน้ำคลองหินลอย และกลุ่มตัวอย่างน้ำคลองโปร่งน้ำปิด ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในทางน้ำธรรมชาติเส้นทางเดียวกันก่อนที่จะไหลลงสู่ทางน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล สรุปผลการวิจัยได้ว่า 1) คุณภาพน้ำตามแผนการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและฤดูฝนของคลองธรรมชาติ ที่อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จัดอยู่ในประเภทน้ำชลประทานชนิด C3S1 คือเป็นน้ำที่มีความน่าไฟฟ้าอยู่ในช่วง 750-2,250 ไมโครโมส้ต่อเซนติเมตรและมีค่า SAR ไม่เกิน 10” จัดเป็นน้ำที่มีความเค็มสูงและปริมาณโซเดียมต่ำ ต้องมีการจัดการพิเศษโดยชะล้างดินอยู่เสมอเพื่อควบคุมควมเค็มควรเลือกปลูกพืชที่ทนต่อความเค็ม และ 2) ควรมีการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่บริเวณจุดรวมโปร่งน้ำปิด คลองหินลอย และคลองโปร่งน้ำปิด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่ทางน้ำเข้าอ่างเป็บน้ำหนองปลาไหล เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างน้ำจุดรวมโปร่งน้ำปิด กลุ่มตัวอย่างน้ำคลองหินลอย และกลุ่มตัวอย่างน้ำคลองโปร่งน้ำปิด ซึ่งอยู่ในทางน้ำธรรมชาติเส้นทางเดียวกันก่อนที่จะไหลลงสู่ทางน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล มีค่าดัชนีคุณภาพน้ำมากกว่ากลุ่มตัวอย่างน้ำที่อยู่ในทางน้ำธรรมชาติเส้นทางของคลองระเวิง ซึ่งเป็นอีกเส้นทางหลักก่อนที่จะโหลลงสู่ทางน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล
บทคัดย่อ (EN): This research was to study the water quality of Nong Pla Lai Reservoir and the natural waterway that flows into Nong Pla Lai Reservoir, Rayong Province. All 15 water sampling points were determined, representing the canal upstream, agricultural area and community area of ​​the natural canal. located above Nong Pla Lai Reservoir Which is divided into 7 water sample groups, collecting water samples once a month according to the water delivery plan for planting crops in the dry season (January-April 2015) and the rainy season (May-August 2015). 2015) The data analysis was divided into 2 parts: Part 1, analysis of water quality data against water quality standards, and part 2, statistical analysis. The results of the research revealed that 1) water quality according to the water delivery plan for Cultivation of dry season and rainy season crops of the natural canal above Nong Pla Lai Reservoir. Most of the values ​​were within the standard criteria except for suspended solids and potassium content that were higher than the standard criteria. 2) Water quality index of natural canals above Nong Pla Lai Reservoir. Between the water supply plans for plant cultivation in the dry season and the rainy season, there was a statistically significant difference at the 0.05 significance level, i.e. conductivity, salinity, turbidity, suspended solids content, total dissolved solids content, and water content. Phosphate Phosphorus Nitrate content-in nitrogen Ammonia content-in nitrogen Sodium content potassium content Chlorite content The ratio of sodium adsorption (SAR) and residual sodium carbonate (RSC) content, and 3) the water samples with the highest water quality index were the closed transparent aggregates. followed by the water samples of Khlong Hin Loi water. and the water samples of Khlong Pang Nam closed, respectively, which were in the same natural waterway before flowing into the waterway into the Nong Pla Lai Reservoir. The results of the research can be summarized as follows: 1) Water quality according to the water delivery plan for plant cultivation in the dry season and the rainy season of the natural canal. located above Nong Pla Lai Reservoir It is classified as type C3S1 irrigation water with electrical conductivity in the range of 750-2,250 µm/cm and a SAR value of not more than 10”. It is classified as high salinity and low sodium content. Special management must be carried out by constantly leaching the soil to control salinity, planting of salinity-tolerant crops should be selected, and 2) water quality monitoring should be carried out at closed condensation areas, floating rock canals and closed sparse canals. To monitor water quality before it flows into the waterway into the Nong Pla Lai Basin Because the water sample collection point is transparent, the water is closed. Klong Hin Loi water samples and the closed water canal sample Which is in the same natural waterway before flowing into the waterway into the Nong Pla Lai Reservoir. The water quality index was higher than that of the water samples in the natural waterway along the canal route. which is another main route before pouring into the waterway into the Nong Pla Lai Reservoir
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ. 40/2558
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 5890016
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 380,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://drive.google.com/file/d/1NLm5w8PhRrUPN-8WkHt9qFjGoB80G--r/view?usp=share_link
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ กรมชลประทาน (rada_ru@rid.go.th) on 2019-03-08T05:08:24Z No. of bitstreams: 2 สวพ 40-2558.pdf: 1047778 bytes, checksum: 6d9b30d7c3a3f5a3a24210f3ee06b8c6 (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำของพื้นที่รอบทางน้ำธรรมชาติที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง
สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
2558
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
การปฏิบัติงานระบบอ่างเก็บน้ำแบบหลายเกณฑ์กรณีศึกษาในกลุ่มน้ำมูลตอนบน การติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำตามแผนการส่งน้ำเพื่อการเกษตรในรอบฤดูกาลของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำนางรอง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงบอระเพ็ด การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง คุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำตาปี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก