สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอาหารปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย
สุมาลี เม่นสิน - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอาหารปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Sustainable Vegetable Cropping systems in Royal Project Extension Areas Pakloy
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุมาลี เม่นสิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธีรนาฎ ศักดิ์ปรีชากุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เน้นคุณภาพและความปลอดภัยในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พืชทดสอบ ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี พริกหวาน และอาโวกาโด โดยคัดเลือกวิธีที่ให้ผลดีจากผลวิจัยก่อนหน้ามาปฏิบัติตลอดการปลูกพืช ผลวิจัยสรุปได้ว่า (1) การเตรียมแปลงปลูกขั้นบันได ใช้วัสดุเพาะกล้าผสมเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิดแล้วเพาะกล้าในถาดหลุม ใส่ปูนโดโลไมท์ในดินก่อนปลูก 30 วัน ใช้ขี้ไก่หมักหินฟอสเฟตกับปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมก่อนปลูก ฉีดพ่น พด.2 พด.7 แคลเซียม คอปเปอร์ และโบรอนหลังย้ายปลูกกะหล่ำปลี ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินปรับเพิ่มขึ้นมีค่าระหว่าง 4.47 – 5.44 ช่วยลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ลง 3 เท่า ต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง 303.50 บาท/พื้นที่ 1 งาน ปริมาณผลิตผลกะหล่ำปลีสูงสุด 1,700 กิโลกรัม ในขณะที่วิธีเพาะปลูกของเกษตรกรมีปริมาณสูงสุด 1,300 กิโลกรัม ส่วนผักกาดขาวปลีที่ปลูกในแปลงทดสอบซึ่งมีอายุมากกว่า 10 ปี และระยะที่ผ่านมาให้ผลิตผลต่ำมาก พบว่า เทคโนโลยีจากผลการวิจัยช่วยให้มีผลิตผลสูงสุด 800 กิโลกรัม ในขณะที่วิธีเพาะปลูกของเกษตรกรทั่วไปในแปลงปลูกใหม่ คือ 1,350 กิโลกรัม (2) เทคโนโลยีการปลูกพริกหวานในโรงเรือนที่ให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยด ใช้วัสดุเพาะกล้าผสมเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด เพาะกล้าในถาดหลุม เน้นฉีดพ่นชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำคัญแต่ยังมีการใช้สารเคมีในระยะปลอดภัยกับต้นพริกอายุ 207 วัน พบว่า ค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อต้นสูงสุดและต่ำสุดที่ใช้ในโรงเรือนเกษตรกรทั่วไป (โรงเรือนควบคุม) คือ 1.6 และ 1.4 บาท ในขณะที่โรงเรือนร่วมการวิจัยมีค่าต่ำกว่าคือ 1.4 และ 1.2 บาท ตามลำดับ ส่วนค่าปุ๋ยกับปริมาณผลิตผล พบว่า โรงเรือนเกษตรกรทั่วไปที่ใช้ปุ๋ยมากที่สุด คือ 21.57 ต่ำสุด 8.60 บาท ให้น้ำหนักพริกต่อต้น 2.7 และ 1.16 กิโลกรัม ในขณะที่โรงเรือนที่ปฏิบัติตามเทคโนโลยีจากงานวิจัยมีค่าปุ๋ยสูงสุด 14.12 ต่ำสุด 11 บาท น้ำหนักพริกต่อต้นมีค่า 2.4 และ 1.8 กิโลกรัม (3) เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ ไอโซเลท กุลาดำ IL ยับยั้งเชื้อรา phytophthora sp. สาเหตุโรคโคนเน่าของอาโวคาโดได้ดีที่สุดที่ 76.33% ด้วยวิธี dual culture สำหรับการทดสอบวิธีป้องกันโรค พบว่า ต้นอาโวกาโดหลังย้ายปลูก 2 เดือน มีการเจริญเติบโตดีในทุกกรรม ในขณะที่การทดสอบวิธีกำจัดโรค พบว่า ต้นอาโวกาโดที่ถูกฉีดสารเคมีเข้าต้น ยังเจริญเติบโตดี แต่ต้นที่ไม่ได้ใช้สารใดๆ (ต้นควบคุม) มีลักษณะโทรมและยอดตายเพิ่มขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอาหารปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จของชุมชนต้นแบบด้านการทำการเกษตรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 วัชพืชในระบบการปลูกพืช การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก