สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาพันธุ์ข้าวแข่งขันกับวัชพืช : ลักษณะของต้นและรากข้าวเพื่อการแข่งขันกับวัชพืช
รณชัย ช่างศรี - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพันธุ์ข้าวแข่งขันกับวัชพืช : ลักษณะของต้นและรากข้าวเพื่อการแข่งขันกับวัชพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Development of weed-competitive rice : Shoot and root traits for weed competition
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รณชัย ช่างศรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ronnachai Changsri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ดำเนินการที่ Weed Science, Crop and Environmental Sciences Division, IRRI ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการแข่งขันของข้าว (IR64, Sabita, KDML105, ข้าววัชพืช (Oryza sativa f. spontanea Acc. 105798 (THA)) และสายพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมจากคู่ผสมระหว่าง IR64 และ Sabita ที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันกับวัชพืช จำนวน6 สายพันธุ์ ได้แก่ SB561 (IR88633:1-66-B), SB562 (IR88633:1-67-B), SB604 (IR88633:1-136-B), SB665 (IR88633:1-138-B), SB708 (IR88633:20-69-B) และ SB769 (IR88633:12-55-B) การประเมินความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชภายใต้การกดดันอย่างรุนแรงจากหญ้านกสีชมพู วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ ประเมินลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขันกับหญ้านกสีชมพูหลายลักษณะ ในระยะ 7, 14, และ 21 วันหลังปลูก ผลการศึกษา พบว่า สายพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมจากคู่ผสมระหว่าง IR64 และ Sabita ส่วนใหญ่มีลักษณะสำคัญของต้นและรากที่จำเป็นสำหรับการแข่งขัน โดย ทุกสายพันธุ์มีลักษณะพื้นที่ใบมากในระยะแรก เปรียบเทียบกับพันธุ์แม่พ่อและ KDML105 สายพันธุ์ SB604 และ SB665 มีน้ำหนักแห้งของใบมากที่สุดในระยะ 7 และ 21 วันหลังปลูก แต่สายพันธุ์ SB562, SB604, และ SB665 มีน้ำหนักแห้งรวมมากที่สุด ในระยะ 7 วันหลังปลูกพบว่าสายพันธุ์ SB561 มีที่ผิวของรากมากที่สุด ที่ 21 วันหลังปลูกความยาวต่อปริมาตรรากและจำนวนปลายรากพบสูงมากที่สุดในสายพันธุ์ SB562 และ SB665 และพบข้อสังเกตว่าสายพันธุ์ SB562, SB604, และ SB708 สามารถกดดันความยาวรากของหญ้านกสีชมพู
บทคัดย่อ (EN): Greenhouse study was conducted at the Weed Science, Crop and Environmental Sciences Division, IRRI in February-April, 2013. The objective was to assess the competitiveness of rice (IR64, Sabita, KDML105, Weedy rice (Oryza sativa f. spontanea Acc. 105798 (THA)) and six rice progenies derived from a cross between IR64 and Sabita that have high potential for competitiveness against weeds. The six progenies were SB561 (IR88633:1-66-B), SB562 (IR88633:1-67-B), SB604 (IR88633:1-136-B), SB665 (IR88633:1-138-B), SB708 (IR88633:20-69-B), and SB769 (IR88633:12-55-B). We evaluated the competitive ability of these rice genotypes under severe pressure from Echinochloa colona. The experimental design was RCB with 3 replications. Several rice shoot and root traits were associated with the ability to compete with E. colona at 7, 14, and 21 days after sowing (DAS). Results also showed that most of IR64/Sabita progenies possess important root and shoot traits that are essential for competition. All progenies had higher leaf area at the early stage compared to their parents and KDML105,. SB604, and SB665 had the greatest of biomass at 7 and 21 DAS but SB562, SB604, and SB665 produced the highest of biomass. At 7DAS, SB561 had the largest root surface area. At 21 DAS, root length density and number of root tips were highest in SB561, SB562, and SB665. We observed that SB562, SB604 and SB708 suppressed the root growth of E. colona.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329829
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาพันธุ์ข้าวแข่งขันกับวัชพืช : ลักษณะของต้นและรากข้าวเพื่อการแข่งขันกับวัชพืช
กรมการข้าว
2557
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ลักษณะของต้นและรากข้าวเพื่อการแข่งขันกับวัชพืช แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของปุ๋ยต่อการแข่งขันระหว่างเดือยกับวัชพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการข้าววัชพืชแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม การใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดก่อนและหลังงอกในการควบคุมข้าววัชพืช การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติกำจัดวัชพืชในนาข้าว การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติกำจัดวัชพืชในนาข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก