สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวระบบผลิตยางพาราขั้นต้นและขั้นกลางสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า
ธันวดี สุขสาโรจน์ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวระบบผลิตยางพาราขั้นต้นและขั้นกลางสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า
ชื่อเรื่อง (EN): Enhancement of Green Productivity in Upper and Mid Stream Para Rubber Production System for TireIndustry in Thailand by Value Chain Analysis
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธันวดี สุขสาโรจน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่และยางล้อรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ใช้ยางพาราสำคัญภายในประเทศ ยางล้อรถยนต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารเคมีในการผลิต การกำจัดซาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลดลงของทรัพยากรที่ต้องใช้ในประบวนการผลิต การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life cycle assessment, LCA) เป็นเทคนิคในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การแปรรูป การจัดจำหน่าย การใช้และการรีไซเคิลหรือการกำจัด ประโยชน์ของ LCA คือ ความสามารถในการบ่งชี้ขั้นตอนที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรสูงหรือปล่อยผลกระทบสูง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ ในการวิเคราะห์ผลกระทบทางระบบนิเวศและทางเศรษฐกิจของห่วงโซ่อุปทานต้นน้ำและกลางน้ำของยางล้อรถยนต์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมยางพาราต้นน้ำ ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบ และอุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ ยางแท่ง (STR5L และ STR20) และยางแผ่นรมควัน ผลการวิเคราะห์ LCA สำหรับค่าเฉลี่ยของประเทศแสดงให้เห็นว่าความเป็นพิษของมนุษย์เป็นประเภทผลกระทบที่มีค่าสูงสุดจากผลกระทบ 9 หมวดผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ห่วงโซ่อุปทานยางรถยนต์ต้นน้ำ บัญชีรายการสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ปุ๋ย กรดฟอร์มิก และพาราควอท ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการผลิตแผ่นยางแผ่นรมควันพบว่า มีผลกระทบต่อความเป็นพิษของมนุษย์มากที่สุดเช่นเดียวกับผลการประเมินทุกผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมยางต้นน้ำ ยางแท่ง STR5L และ STR20 รายการบัญชีด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ วัตถุดิบน้ำยางสดและน้ำยางแห้ง (ยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบ) ไฟฟ้า และเชื้อเพลิง สำหรับผลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยรวมของแผ่นยางแท่งและยางแผ่นรมควันมีค่าเท่ากับ 0.0058 และ 0.0020 ตามลำดับจากการปันส่วนทางเศรษฐศาสตร์ ผลการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ พบว่าผลิตภัณฑ์ต้นน้ำซึ่งมีค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศสูงสุด ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบ ตามลําดับ ราคาขายของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความแตกต่างไม่มากแต่ยางแผ่นดิบมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสูงจากบัญชีรายการ เช่น ไฟฟ้า สารเคมี เป็นต้น ในกรณีนี้อาจสรุปได้ว่าเกษตรกรควรผลิตน้ำยางสดหรือยางก้อนถ้วยแทนยางแผ่น หากมีการว่าจ้างแรงงานในการกรีดยางจะทำให้ประสิทธิภาพเชิงนิเวศลดลงอีกเนื่องจากรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรจะลดลง ซึ่งทำให้มูลค่าการลงทุนในสวนยางมีความวิกฤตมากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมยางพารากลางน้ำ การผลิตยางแท่งมีประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจมากกว่าแผ่นยางรมควันเมื่อคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สาเหตุหลักมาจากราคาขายยางแผ่นรมควันที่ที่ต่ำกว่า
บทคัดย่อ (EN): Thailand is one of the top tires supplying country and tires remain the top product for domestic consumption of natural rubber in Thailand. Tires represent a serious environmental concern on several fronts. Part of the risk lies with their chemical makeup, decomposition etc. and also the related natural resources depletion. Life cycle assessment (LCA) is a technique to assess environmental impacts associated with all the stages of a products life from raw material extraction through materials processing, manufacture, distribution, use and recycle or disposal. One of the benefits of the LCA is the ability to know the critical step of a product which consume high resources or release high impact at various stages of its life. Therefore, this technique combination with the eco-efficiency was applied to analyze the ecological and economic impact on the upstream and mid-stream supply chain of tires. The objectives of study was to assess the environmental impact and eco-efficiency of upstream systems including fresh latex, cup lump and rubber sheet and mid-stream of tires supply chain, block rubber and rubber smoked sheet. The results of LCA analysis for country average values showed that the human toxicity is the highest impact categories among 9 impact categories resulted from up-stream tire supply chain products. The significant inventories which contribute that impact were fertilizer, formic acid and paraquat. The analysis of rubber smoked sheet production results the highest impact for human toxicity category as same as found in analysis of upstream rubber industries as well as block rubbers (STR5L and STR20). It can be seen that the major environmental accounting inventories that affect the impact categories of mid-stream system are the raw materials, fresh latex and dry latex (cup lump and rubber sheet), electricity and fuel. The total environmental impacts of block rubber and rubber smoked sheets were 0.0058 and 0.0020 respectively from economical allocation. The eco-efficiency determination found that the upstream products which had highest eco-efficiency values were latex, cup lump and rubber sheet respectively. The selling prices of these products were similar but rubber sheet had higher impact characterized such as electricity, chemicals, etc. In this case, it can be concluded that farmers should produce fresh latex or cup lump instead of rubber sheet. If there is a hiring labor for latex harvesting, it will result in lower eco-efficiency because sales of agricultural products will decline. The economic value of investing in rubber plantations is more critical. The rubber block production was economically more than the rubber smoked sheet when concerning their environmental impacts. This is due to lower unit sales of smoked sheet rubber.
ชื่อแหล่งทุน: T2560003 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ยางพารา
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: RDG60T0147
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:169265
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวระบบผลิตยางพาราขั้นต้นและขั้นกลางสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2562
เอกสารแนบ 1
การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวเพื่อกระบวนการผลิตยางล้อรถยนต์และการจัดการยางล้อรถยนต์ใช้แล้วของประเทศไทยอย่างยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า สี การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยยางพารา อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก