สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ
จารุวรรณ บางแวก - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Development Research and Usages of Potential Starch
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จารุวรรณ บางแวก
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: แป้งพืชในประเทศไทยมาจากพืชหลายชนิด ในการศึกษานี้เพื่อหาวิธีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตศักยภาพ เช่น มันเทศ และ กล้วย ด้วยวิธีการต่างๆ คือ ผลิตแป้งจากกล้วยดิบ และมันเทศ ในรูปฟลาวและสตาร์ช ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแป้งทุกแบบ ศึกษาฤดูการปลูก อายุการเก็บเกี่ยวกล้วย ระยะเวลาการเก็บรักษาแป้งกล้วยว่ามีผลต่อคุณภาพแป้งกล้วย 4 ชนิด คือ หักมุก น้ำว้า ไข่ และหอม พบว่า ฤดูการปลูก และอายุเก็บเกี่ยวไม่มีผลต่อคุณภาพแป้ง การเก็บรักษาแป้งกล้วยควรเก็บที่ความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ในถุงลามิเนต ที่อุณหภูมิ 4 และ 10oC จะทำให้เก็บรักษาได้นานเป็นเวลานาน 6 เดือน แล้วนำมาแปรรูปเพื่อทดแทนพืชอื่น เช่น แทนแป้งสาลี เพื่อลดการนำเข้า โดยการทำเบเกอรี่ จากแป้งฟลาวมันเทศ สามารถนำมาทำเค้ก โดนัท แพนเค้ก โดยมีคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ต่างจากการใช้แป้งสาลี โดยใช้แป้งฟลาวมันเทศทดแทนแป้งสาลีได้ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นทำสตาร์ชด้วยวิธีการต่างๆ พบว่าการแช่แป้งฟลาวด้วยน้ำส้มสายชูประมาณ 30 นาทีจะสามารถลดปริมาณโปรตีน ทำให้มีคุณภาพเหมือนสตาร์ชได้ในเวลาสั้นกว่าการแช่น้ำและสามารถบริโภคได้ สตาร์ชมันเทศสามารถนำมาทำวุ้นเส้นโดยผสมกับสตาร์ชถั่วเขียว โดยใช้สตาร์ชมันเทศ 20% จะได้วุ้นเส้นที่มีคุณภาพเหมือนสตาร์ชถั่วเขียว 100% แป้งที่มีส่วนประกอบของสายน้ำตาลแบบต่างๆ เมื่อบริโภคก็จะมีการย่อยด้วยเอนไซม์แอลฟาอมิเลสในน้ำลายย่อยแป้งให้เป็นกลูโคส ซึ่งจะสะสมในเส้นเลือด ถ้าสะสมมากก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่แป้งพืชบางชนิดถึงแม้จะย่อยด้วยเอนไซม์แอลฟาอมิเลสแต่ได้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำ ทำให้สามารถบริโภคแป้งได้มากไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ถั่วต่างๆ บัว เผือก เดือย กล้วย มันเทศ เป็นต้น ซึ่งเป็นแป้งประเภทที่มีโปรตีน ไขมัน เส้นใยสูง คาร์โบไฮเดรทต่ำมีลักษณะเป็นแป้งที่ย่อยยากหรือ resistant starch และยังสามารถนำสตาร์ชมันเทศและมันสำปะหลังสามารถนำมาทำแผ่นฟิล์มโดยเติมสารเติมแต่ง 2 ชนิด คือ ซอบิทอล และกลีเซอรอลที่มีค่าความต้านแรงดึง และเปอร์เซ็นต์การยืดตัว เพื่อนำไปทำภาชนะบรรจุอาหารเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้นำสตาร์ชมันสำปะหลังหรือสตาร์ชมันเทศมาขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม พบว่า เมื่อปริมาณสารเติมแต่งเพิ่มขึ้น ความแข็งแรงของการปิดผนึกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยซอบิทอลให้ค่าความแข็งแรงการปิดผนึกมากกว่ากลีเซอรอล และทำการเปรียบเทียบระหว่างฟิล์มสตาร์ชมันสำปะหลัง และสตาร์ชมันเทศ พบว่า ฟิล์มสตาร์ชมันเทศให้ค่าความต้านแรงดึงขาดสูงกว่า แต่ฟิล์มสตาร์ชมันสำปะหลังให้ค่า OTR สูงกว่า ฟิล์มทุกชนิดสามารถย่อยสลายได้ภายใน 8 วัน โดยการฝังกลบในดิน เมื่อผสมแอลจิเนตในความเข้มข้นเพิ่มขึ้นส่งผลให้ฟิล์มมีความต้านทานต่อแรงดึงขาดและโมดูลัสของการยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นและการยืดตัวลดลง เมื่อนำฟิล์มทั้งสองมาทำภาชนะบรรจุอาหารที่มีความกรอบ พบว่า ความชื้นอาหารจะสูงขึ้น ทำให้ไม่เหมาะสมในการบรรจุอาหารกรอบ
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this project were to find the ways to use and increase the price of flour/starch of potential crops in Thailand during the years 2011-15. Sweet potato, raw banana which were planted in wide area in Thailand, were made flour and starch. Generally, sweet potato was eaten by simple cooking such as boiling, grill etc. Banana was always eaten ripen ones. Chemical components, qualities of flour and starch from sweet potato and 4 varieties of banana are Hakmook, Namwa, Khai and Hom should be studied. Also what factors affecting qualities should be conducted. Banana flour could store for 6 months in laminate packages in 4 and 10oC. It was found that seasons, harvesting dates were not affected the qualities. It was shown that flour from different ripening age (60-80% of ripening) had not different qualities. Sweet potato flour could be made bakery product such as cake, doughnut, pancake, etc. Thus, sweet potato was replaced wheat flour 100%. Starch which having higher viscosity than flour was made for noodle from sweet potato starch. So in vermicelli process, 20% of sweet potato starch could be mixed with mungbean starch. Starch was flour which removed protein, fiber, oil etc. Normally, starch was washed by water 2-3 times. It was found that flour was soaked with vinegar for 30 minutes and washed 2-3 times, getting starch with same qualities as washing. Pea, nut, lotus grain, taro, job’s tear, banan, sweet potato, etc., were resistant starch which gave low glucose when consumed. Moreover, starch of sweet potato and cassava were able to make biodegradable film and packaging for food.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว โครงการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม laten โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูงเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โครงการวิจัยการศึกษาวิจัยคุณสมบัติ การผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน โครงการต่อเนื่องปีที่ 2 (2529) โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตผสมมะเกี๋ยง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก