สืบค้นงานวิจัย
การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ปีการเพาะปลูก 2552
เกียรติยศ ทรงสง่า - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ปีการเพาะปลูก 2552
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกียรติยศ ทรงสง่า
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กมล เรืองเดช
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาดนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน มี วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และเพื่อติดตามประเมินผลการ ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การติดตามประเมินครั้ง นี้ใช้แบบสอบถามูเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลจากเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง 4 ภาค รวม 11 นิคม เกษตรกรตัวอย่างจำนวน 2,120 ราย ผลการติดตามประเมินสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ 1). เกษตรกรมีเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 52 และ 48 ตามลำดับ) มีอายุ เฉลี่ยประมาณ 53 ปี และเกษตรกรร้อยละ 77 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย ประมาณ 4.20 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.45 คน รกรส่วนใหญ่มีการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 1 แปลง และได้รับสิทธิในที่ดินจา ถือครองเดิม ขนาดพื้นที่การถือครองเฉลี่ย 18.75 ไร่/ครัวเรือน เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 184.544 บาท/ครัวเรือน/ปี รายได้ทางการเกษตร เฉลี่ยประมาณ 107,275 บาท/ครัวเรือน/ปี และ รายได้นอกการเกษตรเฉลี่ยประมาณ 104,421 บาท/ ครัวเรือน/ปี รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยของเกษตรกรในนิคม ประมาณ 125,843 บาท/ครัวเรือน/ปี การ ออมเงินของเกษตรกรเฉลี่ย ประมาณ 33.427 บาท/ครัวเรือน 2). ผลการประเมินผลการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า เกษตรกร ส่วนใหญ่ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง ร้อยละ 95.99 เปรียบเทียบทางสถิติกับเกณฑ์ การประเมินที่ตั้งไว้ที่ ร้อยละ 85.00 ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน การใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกร คือปลูกยางพารา และ มันสำปะหลัง เป็นพืชห (ร้อยละ 37 และ 36 ตามลำดับ) โดยเกษตรกรในภาคเหนือปลูกมันสำปะหลังเป็นหลัก ส่วน เกษตรกรภาคอีสานปลูกข้าวเป็นพืชหลัก (ร้อยละ 46) พืชรองคือ ยางพาราและไม้ผล ส่วนเกษตรกร ในภาคกลาง ปลูกมันสำปะหลังเป็นพืชหลัก (ร้อยละ 58) รองลงมาคือ ยางพารา (ร้อยละ 38) ส่วนเกษตรกรในภาคใต้ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเป็นหลัก (ร้อยละ 94) รองลงมาคือ ไม้ ผล ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังดุด (ร้อยละ 21) ด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ พบว่า เกษตรกรในเขตนิคมเตรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินมีการ ทำปศสัตว์ในสัดส่วนน้อย กล่าวคือ เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อเพียง ร้อยละ 10 รองลงมาคือ ไก่พื้นเมือง ร้อยละ 7 การทำปตุสัตว์ในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในทุกภาคพบว่า เลี้ยงโคเนื้อและไก่ เป็นหลัก ด้านสัตว์น้ำ พบว่า เกษตรกรให้ความสนใจน้อย ประมาณร้อยละ 7 ของเกษตรกรเท่านั้น 3). ผลการประเมินผลการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง? เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 53.37 มีการ ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติกับเกณฑ์ก ประเมินที่วางไว้ ร้อยละ 52.90 ผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์การประเมินผล เกษตรกรในทุกภาศมีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประมาณ ครึ่งหนึ่ง ของเกษรรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีการใช้สารเคมีโดยรวมมีแนวโน้มลดลง จากการใช้สารเคมีในอดีตอยู่ในกณฑ์ปานกลาง ปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์น้อย และการใช้สารอินทรีย์มีแนวโน้มสูงขึ้นจากในอดีตอยู่ในเกณฑ์น้อย แต่การใช้สารอินทรีย์ในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยเกษตรกรในภาคกลาง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวมากที่สุด 4). ผลการประเมินผลการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต โดยพิจารณา จาก 3 ประเด็นหลัก คือด้านระบบการผลิต ด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี และด้านการดำรงชีพ ผล การประเมินผลพบว่า เกษตรกรที่สามารถพึงพาตนเองได้อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก มีประมาณ ร้อยละ 9 เท่านั้น เกษตรกรประมาณ ร้อยละ 19 พึงพาตนเองได้อยู่ในเกณฑ์ ดี ส่วนเกษตรกรที่พึ่งพาตนเอง ได้อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ ร้อยละ 26 และเกษตรกรอีกร้อยละ 46 พึ่งพาตนเองได้อยู่ในเกณฑ์ น้อย โดย สัดส่วนนี้มีความใกล้เคียงกันในทุกภาค ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1). ข้อเสนอแนะจากการติดตามและประเมินผล (1). ผลการติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน พบว่าเกษตรกรบางส่วนยังทำ ประโยชน์ด้วยตนเองไม่เต็มพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม และนอกจากนี้พบว่า เกษตรกรบางรายไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินด้วนตนเองทั้งแปลง ซึ่งสาเหตุสำคัญ คือ ให้ลูกทำประโยชน์แทน อายุมาก ให้ผู้อื่นเช่าทำประโยชน์ และ ขายให้บุดคลอื่น ส.ป.ก. ควรดำเนินการสำรวจข้อมูลการเปลี่ยนสิทธิของเกษตรกรอย่างจริงจัง เพื่อจะเป็น ลในการ วางแผน หรือเตรียมมาตรการ หรือวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดย ควรเร่งศึกษาและกำหนดการประเมินราคาที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินหรือหาวิธีการจ่ายค่าชดเชยที่ดิน และทรัพย์สินในที่ดินอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ให้แก่เกษตรกรที่ไม่ประสงค์จะ1 กอบอาชีพ ทางการเกษตร ได้มีช่องทางในการคืนที่ดินให้ ส.ป.ก. ซึ่งจะได้นำไปจัดสรรให้เกษตรกรรายใหม่โดย ที่เกษตรกรรายใหม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายบางส่วนในที่ดินและทรัพย์สินในที่ดินด้วย อีกทั้งเป็น ช่องทางในการพัฒนากองทุนปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้มีศักยภาพ และทันสมัยและทันต่อการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวในอนาคตในรูปต่างๆ เช่น องค์การมหาชน หรือธนาคารที่ดิน เพื่อเป็นจุดนัด พบหรือจุดเชื่อมต่อ ระหว่างเกษตรกรที่ไม่ประสงค์จะประกอบอาชีพทางการเกษตร และเกษตรกรที่ มีความต้องการจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ไร้ที่ดินทำกิน (2). แม้ว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตวิธีการผลิตของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง จะ ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ร้อยละ 53.37) แต่ประมาณ 2 ใน 3 ของเกษตรกรทำการผลิตพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่ทำเพื่อการค้า ซึ่งต้องลงทุนสูง และเสี่ยงต่อการขาดทุน ดังจะเห็นได้จาก เกษตรกรในภาคกลางและภาคใต้ ดังนั้น ส.ป.ก. ควรเร่งส่งเสริมให้การใช้ประโยชน์ไนที่ดินขอ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีการผลิตที่มีความหลากหลายทั้งด้านพืช และสัตว์ เพื่อให้ เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารที่บริโภคในครัวเรือน และการลดความเสี่ยงจากการขาดทุน โดยเน้นรูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรแนวใหม่ให้มากขึ้น อาทิเช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ การเกษคร ผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรธรรมชาติ เป็นต้น (3). การพึ่งพาดนเองของเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ประมาณร้อยละ 9 เท่านั้น ส.ป.ก. จึงควรเร่งส่งเสริม และพัฒนาให้เกษตรกรมี กิจกรรมลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะเกษตรกรภาคกลาง และภาคใต้ ที่มีรูปแบบการผลิตที่ต้อง พึ่งพาปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันปัจจัยการผลิตดังกล่าวมีราคาสูง ทำให้มีโอ ขาดทุนและมีหนี้สินจากการประกอบเกษตรกรรมได้ง่าย นอกจากนี้พบว่าเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว ขาดความมั่นคงทางด้านอาหารที่ใช้บริโภคในครัวเรือน ซึ่งเกษตรกรบางส่วนมีความสนใจที่จะ ตันทุนการผลิตแต่ขาศความรู้ ความเข้าใจ ที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ เกษตรกรมีกิจกรรมเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือนเพื่อให้เกษตรกรหันมาพึ่งตนเอง ได้มากขึ้นในทุกๆ ด้าน (4) จากผลการติดตามพบว่าเกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ผ่านการอบรบการผลิต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรทั้งหมดในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงได้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่ ความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรดัดสินใจปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตในอนาคต 2). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1). ส.ป.ก. ควรมีการทบทวนการดำเนินงานของนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในนิคมเศรษฐกิจ พอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของนิคมแต่ละจังหวัดเพื่อประโยชน์ในการ วางแผนพัฒนา ไปสู่นิคมการเกษตร ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม หรือในกรณีที่การดำเนินงานนิคม เศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเท่าที่ควร จะได้ทบทวน แก้ไข ปรับปรุง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และตรงตามความต้องการของ เกษตรกรในพื้นที่ จากการสอบถามเกษตรกรพบว่า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ เกษตรกรที่เป็นศูนย์ เรียนรู้ตัวอย่างในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง มีบทบาทมากต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่เกษตรกร ด้วยกัน และมีผลต่อการตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ของเกษตรกรในนิคมเป็นอย่างมาก ดังนั้น ส.ป. ก. ควรมีการส่งเสริมเกษตรกรที่เป็นศูนย์เรียนรู้ตัวอย่าง ให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ตันแบบ ที่มี ความพร้อมทั้งทางด้านองค์ความรู้ และทักษะ เพื่อจะได้เป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนนิคม เศรษฐกิจพอเพียงต่อไป (2). ส.ป.ก. ควรเร่งเชื่อมโยงเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง กับกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ ที่มี แนวคิดการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น เช่น จากปราชญ์ชาวบ้าน หรือวิสาหกิร ชุมชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ และขยายโอกาส สร้างความเข็มแข็ง เกษตรกรและชุมชน 3). ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป การศึกษาครั้งต่อไปควรคำนึงถึงลักษณะเด่นของแต่ละนิคม เพื่อจะได้สนับสนุนให้เกิดการ พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับ ขับเคลื่อนขบวนการทำงานของเกษตรกรศูนย์เรียนรู้ตัวอย่าง เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของนิคม เศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_news.php?nid=363&filename=index
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2552
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ปีการเพาะปลูก 2552
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
เอกสารแนบ 4
เอกสารแนบ 5
เอกสารแนบ 6
เอกสารแนบ 7
เอกสารแนบ 8
เอกสารแนบ 9
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดอำนาจเจริญ การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553 รายงานผลการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการถือครองของเกษตรกรนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินการพึ่งพาตนเองและความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ รายงานผลการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดระยอง การผลิตและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด การใช้ประโยชน์จากโรงเลี้ยงไหมวัยอ่อนของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2535-2542 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของเกษตรกร การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2553

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก