สืบค้นงานวิจัย
การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ของชุมชนบ้านห้วยแก้ว ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
วาที คงบรรทัด - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ของชุมชนบ้านห้วยแก้ว ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วาที คงบรรทัด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Watee Kongbantad
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีเป้าหมายให้เกษตรกร 4 ราย บ้านห้วยแก้ว ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ทำการ เลี้ยงไก่ประดู่หางดำที่ได้รับการส่งเสริมโดย สกว. ในรูปแบบการเลี้ยงและผลิตลูกไก่ตามธรรมชาติ โดยมีขั้นตอน และวิธีการดังนี้ เกษตรกรจะได้รับความรู้ทางวิชาการ และการอบรมความรู้พื้นฐานสำหรับการเลี้ยงไก่จาก นักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงทั้งจากการบรรยาย การปฏิบัติ และการศึกษาจากฟาร์มตัวอย่างที่ ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงมาก่อน จากนั้นเกษตรกรจะได้ทดลองเลี้ยงจริง จากการเลี้ยงพ่อพันธุ์ 5 ตัว ต่อ แม่ พันธุ์ 20 ตัว ปล่อยคุมฝูงและสร้างรังสำหรับการไข่ ให้แม่ไก่ฟักไข่ตามธรรมชาติ มีการสร้างโรงเรือน และพื้นที่ สำหรับการปล่อยแปลง ให้อาหารข้น แต่เน้นการเสริมด้วยอาหารในท้องถิ่น เมื่อได้ลูกไก่แล้วจะทำการขุนไก่ รวมทั้งการได้รับการเสริมความรู้ แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มตลอดระยะการเลี้ยงโดยมีคณะนักวิจัยเป็นพี่เลี้ยงตลอด การดูแลและให้คำปรึกษาจากคณะนักวิจัยตลอดระยะเวลาการเลี้ยง 12 เดือน และมีการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ผลการดำเนินการ พบว่า เกษตรกร 3 รายที่ไม่มีประสบการณ์การเลี้ยงไก่มาก่อน มีเพียง 1 ราย ที่มี ประสบการณ์เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ และการเลี้ยงไก่ไข่มาก่อน เกษตรกรมีเป้าหมายการผลิตลูกไก่ 2,240 ตัวต่อปี ผลกการดำเนินงานพบว่า สามารถผลิตไข่ได้ 3,042 ฟอง อัตราการฟักออกโดยธรรมชาติได้ร้อยละ 80.93 สามารถผลิตลูกไก่ได้จริง 2,462 ตัว หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์คือ 109.91 ของเป้าหมาย สำหรับการวิเคราะห์ โครงสร้างต้นทุน และผลตอบแทนของเกษตรกร พบว่า มีต้นทุนเฉลี่ย 56,129.50 บาท ต่อราย หรือต้นทุนการ ผลิตไก่เฉลี่ย 79.75 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรผลิตไก่ขุนได้จำนวน 587 ตัวต่อรายต่อปี สร้างผลตอบแทนรวม เป็นเงิน 64,107 บาท ต่อปี ติดเป็นกำไรสุทธิ 7,977.50 บาท ต่อปี หรือ รายได้เฉลี่ย 664.80 บาท ต่อเดือน จากผลการดำเนินการสรุปได้ว่าเกษตรกรมีทัศนคติที่ดีในการเลี้ยงไก่ โดยเกษตรกรที่มีประสบการณ์สามารถ ถ่ายทอดให้กับผู้ไม่มีประสบการณ์จนสามารถดำเนินการเลี้ยงไก่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หากเกษตรกรได้รับการ อบรม และการให้ความรู้การแลกเปลี่ยน และการได้พบเห็นจากประสบการณโดยตรงจะทำให้เกษตรกรมีทักษะ การเลี้ยงไก่เป็นอาชีพได้มากขึ้นสามารถดำเนินการเลี้ยงไก่ได้อย่างต่อเนื่องหลังสิ้นสุดโครงการ และสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่ประดู่ครั้งนี้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากปัจจัย สำคัญ 2 ด้าน คือต้นทุนการผลิตที่สูงจากการใช้อาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยง และราคาวัตถุดิบอาหารค่อนข้างสูง มีการพึ่งพาวัสดุดิบอาหารในพื้นที่น้อยและขาดการใช้อาหารเสริมอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนค่าอาหารสูง และ ปัจจัยด้านการตลาดเกษตรกรยังไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน การขายยังอยู่ในระดับชุมชนและผ่านระบบพ่อค้าคน กลางจึงขายได้ในราคาต่ำ สาเหตุอาจเกิดจากจำนวนผลผลิตยังไม่แน่นอน ไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดการ เลี้ยงให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดระดับกลางหรือระดับสูงต้องการ อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถ เลี้ยงไก่ประดู่หางดำเป็นอาชีพหลักนั้นยังไม่สามารถสรุปได้จึงต้องมีการศึกษาและการส่งเสริมต่อไปอย่างต่อเนื่อง
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สกว.-55-010
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/298830
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ของชุมชนบ้านห้วยแก้ว ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2556
เอกสารแนบ 1
การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเพื่อการค้าของชุมชนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ผลผลิตไข่และต้นทุนการผลิตลูกของไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่ เมื่อเลี้ยงโดยฟาร์มของเกษตรกร ผลผลิตไข่และต้นทุนการผลิตลูกของไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ - โรดไทยเมื่อเลี้ยงโดยฟาร์มของเกษตรกร ความแม่นยำในการแยกเพศลูกไก่แรกเกิดของไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่-เล็กฮอร์น ผลของการใช้สมุนไพรต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่เบตงและไก่ประดู่หางดำ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำ เชียงใหม่พันธุ์แท้และลูกผสม ลักษณะภายนอกและสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำเชียงใหม่) พันธุ์แท้และลูกผสม ความนุ่มของเนื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 และไก่กระทง ผลของการใช้ใบหม่อนหมักในอาหารต่อสมรรถการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำระยะรุ่น (4-7 สัปดาห์) สถานภาพการจัดการด้านสุขศาสตร์และการป้องกันโรคในโรงเชือดไก่พื้นเมือง ประดู่หางดำเชียงใหม่เพื่อการปรับปรุงสู่อาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก