สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มะละกอปลักไม้ลาย
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, สุภาวดี สมภาค, ชญานุช ตรีพันธ์, นิตยา คงสวัสดิ์, เพ็ญลักษณ์ ชูดี, ชัยกฤต พรมมา, ปราณี เถาว์โท - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มะละกอปลักไม้ลาย
ชื่อเรื่อง (EN): Regianal Yield Trial on Papaya Varieties “Plukmailai”
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบพันธุ์มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย ดำเนินการทดสอบ 4 แหล่ง คือ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ (ศวส.ศก.) ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง (ศวส.ตรัง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ (ศวพ.ชม.) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี (ศวพ.กจ.) เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2557 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) 12 กรรมวิธี 3 ซ้ำ คัดเลือกให้เหลือ 8 สายพันธุ์ นำมาทดสอบพันธุ์โดยการวางแผนแบบเดิมต่ออีก 3 ปี คือปี พ.ศ. 2558-2560 คัดเลือกพันธุ์ได้ 5 , 3 และ 1 พันธุ์ตามลำดับ พบว่าพันธุ์ พันธุ์ SKH 2-6.2-12-2-4 SKH 3-16-26-1-2 และ SKH 3-16-11-1-1 มีลักษณะดีเด่นในกลุ่มพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ SKH 2-6.2-12-2-4 เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดมีลักษณะทางการเกษตรดังนี้ 1) อายุการออกดอกนับจากวันปลูกเฉลี่ย 115 วัน 2) มีลักษณะต้นเตี้ยโดยมีความสูงเฉลี่ย 82 เซนติเมตร ในวันดอกแรกบาน ทรงพุ่มขนาดเล็กคือมีเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 145 เซนติเมตร 3) น้ำหนัก/ผลเฉลี่ย 911 กรัม 4) สีเนื้อสีส้มเข้ม (ON25A-O32A) 5) ความหวานเฉลี่ย 11.79 0Bix ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุ 1 ปี 35 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้าแล้วพบว่า มีแนวโน้มแตกต่างกันทางสถิติในบางพื้นที่ ทางด้านอายุวันดอกแรกบานพันธุ์ SKH 2-6.2-12-2-4 ออกดอกได้เร็วกว่า น้ำหนัก/ผลที่มากกว่า สีเนื้อแดงเข้มมากกว่า เนื้อมีความหวานมากกว่า ในขณะที่การเจริญเติบโตทางกิ่งใบในทุกมิติมีการเจริญเติบโตที่มากกว่าด้วย
บทคัดย่อ (EN): Papaya (regianal) yeild trial in 4 Location : Sisaket Horticultural Research Center,Trang Horticultural Research Center, the Chiang Mai Agricultural Research and Development Center, and Kanchanaburi Agricultural Research and Development Center. The experiment were selected by conventional planning for 4 years : 2014-2017 with a Randomize Compleat block designe. It was found that SKH 2-6.2-12-2.-4 SKH 3-16-26-1-2 and SKH 3-16-11-1-1 were selected, the best was SKH 2-6.2-12-2-4 with the flowering Agricultural Characteristics : 1) Flowering early was 115 day. 2) Height 82 cm. at the First blossom, small shrub average diameter 145 cm. 3) the fruit weight 911 g. 4) fruit color : ON25A-O32A 5) TSS 11.79 0Brix. Productivity at 1 year 35 kg/plant differences with commereial varieties in some areas. The Variety SKH 2-6.2-12-2-4 was the first blooming early, fruit color orange to red and Sweet test.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มะละกอปลักไม้ลาย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อินทผลัม การขยายพันธุ์มะละกอ (Carica papaya L.) สายพันธุ์ฮอลแลนด์ในสภาพปลอดเชื้อ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ส้มโอ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ โครงการวิจัยการคัดเลือกและทดสอบพันธุ์ผักกาดขาวปลี (ระยะที่ 2 ) โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด โครงการวิจัยการทดสอบองุ่นพันธุ์ต่างประเทศที่เหมาะสมกับประเทศไทย โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งและเทคโนโลยีการผลิต ความสำคัญของปลักต่อสวัสดิภาพของกระบือปลัก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก