สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช
ทรงพล สมศรี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Preliminary Plant Germplasm Conservation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทรงพล สมศรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชได้ทำการศึกษาสำรวจ รวบรวม และอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชเพื่อเก็บรักษาไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ในแปลงรวบรวมพันธุ์ และในสภาพถิ่นเดิม รวมทั้งการศึกษาข้อมูลเชื้อพันธุ์พืชเบื้องต้น แหล่งที่ตั้งของเชื้อพันธุ์และการกระจายตัวของเชื้อพันธุกรรมพืช ศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ประเมินคุณค่าพืช เชื้อพันธุ์พืช การจัดเก็บจัดเก็บข้อมูลที่ได้ให้เป็นระบบและ จัดทำเป็นฐานข้อมูลพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมทั้งการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมพืช ซึ่งได้ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ได้ผลการศึกษาดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืช ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการสำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชสวนในสภาพท้องถิ่น (On farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) ได้แก่ กลุ่มไม้ผลที่สำคัญ พบว่า ศวส.จันทบุรี รวบรวมได้ จำนวน 634 พันธุ์ โดยรวบรวมไว้ จำนวน 3 แห่ง คือ ศวส.จันทบุรี จำนวน 103 พันธุ์ ศวพ.จันทบุรี จำนวน 57 พันธุ์ และศูนย์พัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี จำนวน 474 พันธุ์ ศวส.ตรัง รวบรวมพันธุ์ทุเรียนได้ทั้งหมด 123 ตัวอย่างพันธุ์ ศวพ.ยะลา รวบรวมได้ 20 พันธุ์ ศวล.เชียงใหม่ รวบรวมและขยายพันธุ์ลำไย จำนวน 31 พันธุ์ ศวส.เชียงราย รวบรวมพันธุ์ลำไย 40 พันธุ์ ศวส.ตรัง สามารถเก็บรวบรวม ลางสาดได้ 7 ตัวอย่างพันธุ์ ลองกอง 1 ตัวอย่างพันธุ์ มังคุด 69 ตัวอย่างพันธุ์ เงาะ 12 ตัวอย่างพันธุ์ ศวป.สุราษฎร์ธานี รวบรวมพืชสกุลลางสาด ลองกอง ได้ 16 พันธุ์ ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมพันธุ์ส้มได้ 48 พันธุ์ เป็นกลุ่มส้มโอ จำนวน 6 พันธุ์ กลุ่มส้มเกลี้ยง จำนวน 11 พันธุ์ กลุ่มมะนาว จำนวน 6 พันธุ์ กลุ่มส้มเปลือกล่อน จำนวน 17 พันธุ์ กลุ่มเกรฟ จำนวน 2 พันธุ์ กลุ่มลูกผสม จำนวน 6 สายพันธุ์ ศวพ.ขอนแก่น สามารถรวบรวมพันธุ์ส้ม 81 พันธุ์ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีศักยภาพในการแข่งขัน พบว่า ศวส. ชุมพร รวบรวมได้ 35 พันธุ์ ศวส.จันทบุรี รวบรวมได้ 5 วงศ์ย่อย 25 สกุล จำนวน 40 ชนิด ศวพ.กาญจนบุรี รวบรวมได้ 45 พันธุ์ ศวส.เชียงราย รวบรวมกล้วยไม้ได้ จำนวน 164 พันธุ์ ปทุมมา ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมได้ จำนวน 27 ชนิด 40 พันธุ์ กลุ่มไม้ผลพื้นเมือง ศวพ.นครพนม รวบรวมได้ 47 ชนิด ศวพ.หนองคาย รวบรวมได้ 30 ชนิด ศวส. ศรีสะเกษ รวบรวมได้ 35 ชนิด ศวพ.น่าน รวบรวมได้ 9 ชนิด 54 ตัวอย่างพันธุ์ กลุ่มไม้ผลเมืองร้อน ศวพ.น่าน รวบรวมได้ 4 ชนิด ศวส.ตรัง มีจำนวน 81 ชนิด กลุ่มไม้ผลเมืองร้อนต่างประเทศ ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมได้ 20 ชนิด มะม่วง ศวพ.ขอนแก่น รวบรวมได้ 101 พันธุ์ ศวพ.กาญจนบุรี รวบรวมได้ จำนวน 50 พันธุ์ เป็นมะม่วงพันธุ์ไทย จำนวน 42 พันธุ์ และมะม่วงพันธุ์ต่างประเทศจำนวน 8 พันธุ์ ศวส.เชียงราย รวบรวม ลิ้นจี่ ได้ 46 พันธุ์ ศวพ.เชียงใหม่ รวบรวมได้ 31 พันธุ์ กลุ่มไม้ผลเขตหนาว ศวล.เชียงใหม่ รวบรวมได้ จำนวน 6 ชนิด แบ่งเป็น พีช จำนวน 10 สายพันธุ์ เนคตารีน จำนวน 3 พันธุ์ พลับ จำนวน 20 พันธุ์ พลัม จำนวน 4 พันธุ์ บ๊วย จำนวน 6 พันธุ์ สาลี่ จำนวน 5 พันธุ์ กลุ่มไม้ผลพันธุ์ดี ศวพ.นครพนม รวบรวมได้ 18 ชนิด 37 สายพันธุ์ ศวพ.ขอนแก่นรวบรวม มะละกอ ได้ 14 พันธุ์ ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมมะกอกน้ำมันได้ จำนวน 9 พันธุ์ ศวพ.สกลนคร รวบรวมมะกอกน้ำมัน ได้จำนวน 31 ต้น ศวพ.กส.เลย รวบรวมมะกอกน้ำมันได้ จำนวน 19 พันธุ์ ศวพ.เพชรบูรณ์ รวบรวมมะกอกน้ำมัน ได้ จำนวน 26 พันธุ์ ศวพ.กาญจนบุรี รวบรวม ฝรั่งคั้นน้ำ ได้จำนวน 17 พันธุ์ รวบรวมขนุนได้ จำนวน 16 พันธุ์ พุทราจำนวน 7 พันธุ์ มะขามเปรี้ยวจำนวน 4 พันธุ์ ละมุด จำนวน 8 พันธุ์ ศวพ.เพชรบุรี สามารถ รวบรวม มะกอกน้ำมัน ได้ จำนวน 9 พันธุ์ กระท้อน ได้ จำนวน 5 พันธุ์ ขนุน จำนวน 12 พันธุ์ มะขามเปรี้ยว จำนวน 4 พันธุ์ มะเฟือง จำนวน 24 พันธุ์ มะม่วง จำนวน 6 พันธุ์ ทุเรียนเทศ จำนวน 2 พันธุ์ คือ ทุเรียนเทศพันธุ์พื้นเมือง และทุเรียนเทศภูเขา หรือน้อยหน่าป่า (Wild Soursop) กลุ่มพืชสวนอุตสาหกรรม ศวส.ชุมพร รวบรวมกาแฟ ได้จำนวน 29 พันธุ์ และโกโก้ จำนวน 33 พันธุ์ ศวพ.เชียงใหม่ รวบรวมชาได้ จำนวน 64 พันธุ์ ศวพ.เพชรบุรี รวบรวมสับปะรด ได้จำนวน 34 พันธุ์ แบ่งเป็น พันธุ์ในประเทศ 10 พันธุ์ พันธุ์ต่างประเทศ 24 พันธุ์ และศวพ. ชุมพร รวบรวมมะพร้าวได้ มะพร้าวไทยพื้นเมืองต้นเตี้ย จำนวน 6 พันธุ์ มะพร้าวไทยพื้นเมืองต้นสูง จำนวน 6 พันธุ์ มะพร้าวต่างประเทศ จำนวน 4 พันธุ์ มะพร้าวลูกผสม จำนวน 4 พันธุ์ ศวพ.เพชรบุรี รวบรวมมะม่วงหิมพานต์ ได้ จำนวน 5 พันธุ์ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ (ไม้หอม และไม้ดอก) ไม้หอม ศวพ.นครพนม รวบรวมได้จำนวน 133 ชนิด ศวส.ตรัง รวบรวมได้จำนวน 44 ชนิด ศวพ.หนองคาย รวบรวมได้จำนวน 36 ชนิด ศวพ. แพร่ รวบรวมได้ จำนวน 68 ชนิด ศวล.เชียงใหม่ รวบรวมได้ จำนวน 59 ชนิด ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมได้ จำนวน 137 ชนิด ศวพ. กาญจนบุรี รวบรวมได้ จำนวน 22 ชนิด กล้วยไม้ ศวส.จันทบุรี รวบรวมได้ จำนวน 5 วงศ์ย่อย 46 สกุล จำนวน 86 ชนิด ศวส.เชียงราย รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ ในโรงเรือนได้ 35 สกุล 100 ชนิด จำนวน 2,823 กอ 8,357 ต้น พันธุ์กล้วยไม้ในสภาพธรรมชาติ 4 สกุล 48 ชนิด จำนวน 10 กอ 411 ต้น บัว ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมได้ จำนวน 56 ตัวอย่าง เฟิร์น ศวส.เชียงราย รวบรวมเฟิร์นในสภาพธรรมชาติได้ 3 ชนิด 17 กอ 15 ต้น และในโรงเรือน 53 ชนิด จำนวน 1,061 กอ 2,658 ต้น ปาล์ม รวบรวมได้ 8 ชนิด ปรง 1 ชนิด กลุ่มผักพื้นเมือง ศวส.ศรีสะเกษ รวบรวมได้ จำนวน 251 ชนิด ศวส.ตรัง รวบรวมได้ จำนวน 62 ชนิด จำนวน 580 ต้น ศวพ.แพร่ รวบรวมผักพื้นบ้านภาคเหนือ ได้ จำนวน 157 ชนิด หน่อไม้ฝรั่ง ศวพ.กาญจนบุรี รวบรวมได้ 9 สายพันธุ์ และการรวบรวมพันธุ์ตาลโตนดเพื่อการอนุรักษ์ ศวพ.เพชรบุรี รวบรวมได้ จำนวน 1,078 สายต้นกิจกรรมการสำรวจ รวบรวม จำแนกตัวอย่างพรรณไม้พื้นเมืองหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ การสำรวจและรวบรวมกล้วยไม้พื้นเมืองบริเวณหมู่เกาะในเขตภาคใต้ พบว่า สามารถรวบรวมกล้วยไม้ได้ จำนวน 100 ชนิด เช่น พืชสกุล สกุล Acampe, Adenoncos, Aerides, Agrostophyllum, Appendicula, Bulbophyllum, Cirrhopetalum การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน บริเวณทองผาภูมิตะวันตก รวบรวมตัวอย่างได้ประมาณ 20 ชนิด พรรณไม้วงศ์เทียน (Balsaminaceae) และวงศ์ชาฤาษี (Gesneriaceae) บริเวณเทือกเขาหินปูน พบพืชจำนวน 60 ชนิด จัดอยู่สกุลเทียนป่า (Impatiens) 20 ชนิด อีก 40 ชนิดจัดอยู่ในวงศ์ชาฤาษี พืชวงศ์กะเพราทางภาคตะวันตก สำรวจและรวบรวมได้ 45 ชนิด พรรณไม้ดอกไม้ประดับพื้นเมืองในภาคตะวันตก ได้พรรณไม้ที่มีศักยภาพและใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับมาปลูกไว้ จำนวน 12 วงศ์ 50 ชนิด พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเลกลุ่มมอร์แกนบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ได้ตัวอย่างพืชที่เรียกเป็นภาษามอร์แกน พร้อมกับการใช้ประโยชน์ของชาวเลมอร์แกน ประมาณ 100 ชนิด จำแนกเป็นพืชอาหาร 45 ชนิด พืชที่เป็นยา 25 ชนิด พืชใช้สอยสำหรับทำเครื่องมือ โครงสร้างบ้าน ทำฟืน และอื่น ๆ 28 ชนิด พืชพิษ 5 ชนิด และพืชในพิธีกรรมและความเชื่อ 14 ชนิด บัวพื้นเมืองในเขตภาคกลาง ในเขตภาคกลาง พบกลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน 8 ประชากร จากที่สำรวจ ใน 30 ประชากร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบัวหลวงและกลุ่มบัวผันบัวเผื่อนทั้งสองกลุ่มมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ขนาดกลีบดอก สีของกลีบดอก ส่วนรังไข่มีจำนวนคาร์เพล แตกต่างกันไปแม้แต่ในกลุ่มประชากรเดียวกัน ความหลากหลายของเฟิร์นในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่ปิง สำรวจและจำแนกได้ 20 ชนิด ว่านมหาเมฆ สามารถนำมาขยายพันธุ์ได้ จำนวน 20 กระถาง กล้วยไม้ในป่าเต็งรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวบรวมได้ จำนวน 30 ชนิด ว่านนางคำ สามารถขยายพันธุ์ จำนวน 20 กระถาง ไม้ผลเขตร้อนในพื้นที่ภาคตะวันออก พบมะไฟป่า ลำไย กลุ่มลิ้นจี่และคอแลน สีรามัน สละและระกำ และได้ตัวอย่าง เพื่ออบแห้ง ไว้ศึกษาจำนวน 25 ตัวอย่างพันธุ์ พรรณพืชในพื้นที่ป่าชุมชนบริเวณรอยต่อจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าด้านเหนือของป่าชุมชน บ้านห้วยสูง พื้นที่ป่าเต็งรัง พบพืช จำนวน 15 ชนิด ไม้ผลสกุลมะตูม ปาล์มสิบสองปันนา ปรงป่า ตะขบป่า พะยอม กล้วยไม้ป่าอิงอาศัยและกล้วยไม้ดิน เป็นต้น ไม้ผลพื้นเมืองวงศ์ส้ม สามารถจำแนกและจัดทำข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ได้จำนวน 5 สกุล 40 ตัวอย่างพันธุ์ และจำแนกชนิดได้ 6 ชนิด พืชอวบน้ำต่างถิ่นเพื่อการค้าบริเวณสวนจตุจักร พบว่าพรรณไม้อวบน้ำที่ได้รับความนิยมปลูกเป็นพืชตระกูลกระบองเพชร ว่านงาช้าง ว่านหางจระเข้ และกุหลาบหิน ไม้ดอกสกุลหน้าวัว สำรวจ รวบรวม ได้จำนวน 20 พันธุ์ การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในจังหวัดชุมพร และจังหวัดจันทบุรี ได้ทำการตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชที่ไปสำรวจจำนวนพื้นที่ละ 40 ชนิด ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน พืชพื้นเมืองวงศ์เหงือกปลาหมอในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถรวบรวมตัวอย่างพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอได้ 20 ชนิด และจำแนกได้ 21 ชนิด กล้วยไม้สกุลสิงโตในประเทศไทย พบกล้วยไม้สกุลสิงโต จำนวน 60 ตัวอย่างพันธุ์ สามารถระบุชนิดได้จำนวน 25 ชนิด สำรวจ รวบรวมและศึกษาความหลากหลายภูมิปัญญาพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์ของผักและผลไม้เพื่อเศรษฐกิจชุมชนบริเวณจังหวัดริมแม่น้ำโขง เก็บรวบรวมตัวอย่าง พืชได้จำนวน 30 ชนิด ผักพื้นเมือง 20 ชนิด ไม้ผลพื้นเมือง 7 ชนิด พืชท้องถิ่นอีสานสกุลกลอย เพื่อการแปรรูปเป็นอาหาร สามารถรวบรวมได้ 35 ตัวอย่างพันธุ์ สมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้ สามารถรวบรวมสมุนไพรได้ จำนวน 80 ชนิด กล้วยไม้ป่าในเขตภาคใต้ตอนล่าง สามารถรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่า ได้แก่เอื้องมือชะนี รองเท้านารี เหลืองกระบี่ ขวาสตูล เหลืองตรัง รองเท้านารีม่วงสงขลา รองเท้านารีช่องอ่างทอง ได้ทั้งหมด 120 กระถาง กล้วยไม้สกุลสิงโต จำนวน 25 ต้น และหางช้าง 5 กระถาง พืชวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ในพื้นที่ภาคใต้ พบดาหลา 4 สายพันธุ์ กระทือ 3 สายพันธุ์ ปุด 3 สายพันธุ์ ขิงแดง ขิงชมพู และขิงอินโด และศึกษาศักยภาพของพืชท้องถิ่นอีสานสกุลกลอย ศวร.ขอนแก่น รวบรวมได้จำนวนทั้งสิ้น 50 ตัวอย่างพันธุ์ ซึ่งชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ เช่น มันมือเสือ มันเลือด มันกลอย เป็นต้น จากการจำแนกความแตกต่างทางพันธุกรรมของพืชสกุลกลอยโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SRAP ด้วยไพร์เมอร์ จำนวน 33 คู่ พบว่าสามารถตรวจจับดีเอ็นเอได้จำนวนทั้งสิ้น 647 ตำแหน่ง กิจกรรมการสำรวจ รวบรวม และศึกษาชนิดวัชพืชในพืชเศรษฐกิจ วัชพืชในแปลงปลูกมันฝรั่ง พบวัชพืชทั้งหมด 43 ชนิดพืช จำแนกได้ 19 วงศ์ 39 สกุล 43 ชนิด ในแปลงปลูกมันสำปะหลังพบวัชพืชทั้งหมด 32 วงศ์ 80 สกุล 103 ชนิด กิจกรรมการสำรวจ รวบรวม และศึกษาเชื้อพันธุ์พืชไร่ (อ้อย อ้อยป่า มันสำปะหลัง ข้าวฟ่างหวาน งา ถั่วเขียว ข้าวโพดฝักสด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปอสา ป่านรามี) รวม 717 สายพันธุ์ ทำการรักษาเชื้อพันธุ์ในสภาพแปลงปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย/อ้อยป่า มันสำปะหลัง ป่านรามี และปอสา รวม 1,698 สายพันธุ์ และฟื้นฟูเชื้อพันธุกรรมพืชไร่ ได้แก่ งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง รวม 4,737 สายพันธุ์ กิจกรรมที่ 2 ศึกษาลักษณะและประเมินคุณค่าพันธุกรรมพืช ประกอบด้วย กิจกรรมการจำแนกลักษณะและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมพืชสวน โดยทำการบันทึกข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะทางการเกษตร และจัดทำฐานข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ตามแบบของ International Plant Genetic Resource Institute (IPGRI) ได้แก่ กลุ่มไม้ผลสำคัญ คือ ทุเรียน ศวส.จันทบุรี จำแนกได้ จำนวน 255 พันธุ์ ศวพ.ยะลา ธารโต สามารถจำแนกหมวดหมู่ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่นไม่น้อยกว่า 10 ตัวอย่างพันธุ์ ศวส.ชุมพร สามารถจำแนกได้ จำนวน 29 พันธุ์ ลำไย ศวส.เชียงราย สามารถจำแนกได้ จำนวน 40 พันธุ์ ศวล.เชียงใหม่ สามารถจำแนกได้ จำนวน 19 พันธุ์ ลองกอง ลางสาด ศวป.สุราษฎร์ธานี จำนวน 16 พันธุ์ ส้มโอปลอดโรค ศวพ.พิจิตร สามารถจำแนกได้ จำนวน 4 สายพันธุ์ ไม้ผลเขตหนาว ศวล.เชียงใหม่ สามารถจำแนกได้ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ พีช จำนวน 5 พันธุ์ เนคตารีน จำนวน 2 พันธุ์ พลัม จำนวน 3 พันธุ์ พลับจำนวน 7 พันธุ์ ไม้ผลต่างประเทศ ศวส.ศรีสะเกษ สามารถจำแนกได้ จำนวน 34 สกุล ไม้ผลเมืองร้อนศวส.ตรัง สามารถจำแนกได้ จำนวน 81 ชนิด มะม่วง ศวพ.พิจิตร สามารถจำแนกได้ จำนวน 70 พันธุ์ มะปราง ศวพ.พิจิตร สามารถจำแนกได้ จำนวน 60 พันธุ์ ขนุน ฝรั่ง มะนาว ศวพ.พิจิตร สามารถจำแนกมะนาวได้จำนวน 6 พันธุ์ ฝรั่ง จำนวน 7 สายพันธุ์ ขนุน จำนวน 9 พันธุ์ มะเกี๋ยง ศวพ. ลำปาง สามารถ จำแนกได้ จำนวน 49 พันธุ์ ไม้ผลพื้นเมือง ศวพ.นครพนม สามารถ จำแนกได้ จำนวน 29 วงศ์ 45 ชนิด ศวพ.หนองคาย สามารถ จำแนกได้ จำนวน 47 พันธุ์ กล้วย ศวส.สุโขทัย สามารถ จำแนกได้ จำนวน 299 พันธุ์ มะละกอ ศวพ.ขอนแก่น สามารถ จำแนกได้ จำนวน 14 พันธุ์ มะไฟจีน ศวพ.น่าน สามารถจำแนกได้ จำนวน 4 สายพันธุ์ ต้น มะละกอ ศวส.ศรีสะเกษ สามารถ จำแนกได้ จำนวน 12 พันธุ์ ส้มเกลี้ยง ศวพ. ลำปาง จำแนกได้ จำนวน 8 สายต้น มะเดื่อฝรั่ง ศวล.เชียงใหม่ สามารถ จำแนกได้ จำนวน 17 พันธุ์ กลุ่มพืชสวนอุตสาหกรรม ศวพ.กส.เชียงราย สามารถจำแนก กาแฟอาราบิก้าได้จำนวน 116 พันธุ์ มะคาเดเมีย ได้จำนวน 55 พันธุ์ และเกาลัดจีน ได้จำนวน 10 พันธุ์ มะม่วงหิมพานต์ ศวส.ศรีสะเกษ สามารถจำแนกได้ จำนวน 37 พันธุ์ ศวพ.นครพนม สามารถจำแนกได้ จำนวน 21 พันธุ์ ศวล.เชียงใหม่ สามารถจำแนก ชา ได้จำนวน 34 พันธุ์ จำแนก กาแฟ ได้จำนวน 38 พันธุ์ และจำแนก มะคาเดเมียได้ จำนวน 73 พันธุ์ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน และพืชกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ปทุมมา สวพ.4 สามารถจำแนก ได้ 27 ชนิด จำนวน 40 พันธุ์ ศวส.เชียงราย สามารถจำแนก ได้ 7 พันธุ์ ดาหลา ศวส.ตรัง สามารถจำแนก พันธุ์การค้า พันธุ์พื้นเมือง จำนวน 70 ตัวอย่างพันธุ์ และพันธุ์แนะนำ จำนวน 5 สายพันธุ์ ศวพ.ยะลา สามารถจำแนก 100 ตัวอย่างพันธุ์ กล้วยไม้ สวส. สามารถจำแนก กล้วยไม้สกุลแวนดา ได้ 68 พันธุ์ และลูกผสมสกุลหวายพันธุ์การค้า ได้ 150 พันธุ์ และนำเชื้อพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์สร้างลูกผสม 5 พันธุ์ (แวนดา) และลูกผสม 5 พันธุ์ (หวาย) ศวส.ศรีสะเกษ จำแนก กล้วยไม้การค้า 139 พันธุ์ ศวส.เชียงราย จำแนกได้ 91 พันธุ์ ศวพ.ลำปาง จำแนกได้ 16 วงศ์ รวม 51 พันธุ์ ศวพ.กาญจนบุรี จำแนก กล้วยไม้รองเท้านารีภาคตะวันตกได้ 4 พันธุ์ ศวล.เชียงใหม่ จำแนกได้จำนวน 7 สกุล รวม 58 สายพันธุ์ ไม้หอม ศวล.เชียงใหม่ จำแนกได้ 59 ชนิดพืช ศวพ.นครพนม จำแนกได้ 40 วงศ์ 133 ชนิด ศวส.ตรัง จำแนกได้ 44 ชนิด ศวพ.พิจิตร จำแนก ได้ไม้หอม 86 ชนิด มี ดอกหอม 60 ชนิด ใบหอม 4 ชนิด เปลือกและต้นหอม 7 ชนิด ลูกและผลหอม 8 ชนิด รากหอม 7 ชนิด ว่านสี่ทิศ แบงค์เซีย ศวพ.กส.เชียงราย จำแนกได้ 4 พันธุ์ หน้าวัว ศวพ.ลำปาง จำแนกได้ 83 สายพันธุ์ สายพันธุ์ไทย 12 พันธุ์ สายพันธุ์ต่างประเทศ 71 พันธุ์ ศวพ.กส.เชียงใหม่ จำแนกได้จำนวน 33 พันธุ์ มะลิ ศวส.ศรีสะเกษ จำแนกได้จำนวน 20 พันธุ์ เยอบีร่า ศวพ.พิจิตร จำแนกได้ เยอบีร่ายุโรป 3 สายพันธุ์ พันธุ์ไทย 3 สายพันธุ์ ลูกผสม 20 สายพันธุ์ บัว ศวพ.พิจิตร จำแนกได้ จำนวน 5 พันธุ์ ศวส.ศรีสะเกษ จำแนกได้ บัวหลวง จำนวน 26 สายพันธุ์ สายพันธุ์ปทุม 10 สายพันธุ์ ปุณฑริก 4 สายพันธุ์ สัตตบุษย์ 3 สายพันธุ์ สัตตบงกช 4 สายพันธุ์ บัวสาย จำนวน 30 สายพันธุ์ และกลุ่มผัก ศวส.ตรัง จำแนกผักพื้นเมือง ได้ 60 ชนิด สะตอ จำนวน 25 ตัวอย่างพันธุ์ เนียง มี 50 ตัวอย่างพันธุ์ จำนวน 183 ต้น ศวพ.พิจิตร จำแนกพันธุ์ไผ่ตง จำนวน 69 พันธุ์ หวาย 4 พันธุ์ มะเขือ 10 พันธุ์ พริกชี้ฟ้า 30 พันธุ์ กุยช่าย 30 พันธุ์ ผักบุ้งจีน 10 พันธุ์ เผือก 280 พันธุ์ มันเทศ 370 พันธุ์ ศวพ.แพร่ ผักพื้นบ้าน สามารถจำแนกโดยใช้ลักษณะพืชเป็นเกณฑ์ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไม้ยืนต้น (Tree) จำนวน 34 ชนิด กลุ่มไม้พุ่ม (Shrub) จำนวน 27 ชนิด กลุ่มไม้เลื้อยหรือไม้เถา (Climber) จำนวน 31 ชนิด และกลุ่มไม้ล้มลุก (Herb) จำนวน 65 ชนิด จำแนกรสชาติหลักของผักพื้นบ้านได้เป็น 7 รส กิจกรรมการจำแนกลักษณะและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมพืชสมุนไพร/ พืชหายาก ได้แก่ 1) การสำรวจหรือเก็บรวบรวมพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์พืชสมุนไพรโดยบันทึกแหล่งที่มา ลักษณะทั่วไป ส่วนขยายพันธุ์ การใช้ประโยชน์ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ทางยา ดำเนินการปลูกรวบรวมทั้งในเรือนเพาะชำ และแปลงรวบรวมพันธุ์ ที่ สทช. ศบป.ตาก สวพ.2 ศวส.แพร่ สวพ.1 ศูนย์บริการวิชาการฯนครพนม สวพ.4 ศวส.ชุมพร สวพ.7 ศวส.ตรัง สวพ.8 และ ศวล.เชียงใหม่ เนื้อที่รวมทั้งหมดประมาณ 100 ไร่ ศึกษาขยายพันธุ์ บันทึกข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล พบว่าได้รวบรวมอนุรักษ์พันธุ์สมุนไพรไว้ที่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 163 วงศ์ 1,133 ชนิด พร้อมทั้งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพรและดำเนินดูแลรักษาพันธุ์ อนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่อไป 2) การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของกล้วยไม้ป่า พบว่า ศวส.ชุมพร สามารถจำแนกพันธุ์กล้วยไม้ป่าที่ยังคงมีอยู่ จำนวน 188 ชนิด ศวส.จันทบุรี สามารถจำแนกพันธุ์กล้วยไม้ป่าไว้ในโรงเรือนได้ไม่น้อยกว่า 740 ตัวอย่างพันธุ์ ในการจำแนกกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก ใช้วิธีการจำแนกกล้วยไม้ตามระบบของ R.L. Dressler ได้จำนวน 5 วงศ์ย่อย 46 สกุล รวมจำนวนชนิดกล้วยไม้ทั้งหมดที่จำแนกได้ 86 ชนิด 3) การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืชสกุลกลอย สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถจำแนกพันธุ์พืชหัวพื้นเมืองสกุลกลอย ได้จำนวน 5 ตัวอย่างพันธุ์ และ 4) การศึกษาจำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ต่างๆ ดังนี้ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ คัดเลือกสายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรจากข้อมูลงานทดลองของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 10 สายพันธุ์ พบว่า มีดอกสีขาว มีขนที่ดอก และฝักอ่อน ในพันธุ์ KKU 8 และ KKU 21 ทรงพุ่มมีลักษณะเป็นพุ่มหนาทึบ ออกดอกช้ากว่าพันธุ์อื่น โดยมีจำนวนวันออกดอกแรกมากที่สุด คือ 106 และ 93.6 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ ฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ KKU 8, KKU 24 และ KKU 21 มีจำนวนวันมากที่สุดเช่นกัน คือ 115.6, 105.3 และ 101.9 วัน ตามลำดับ ฟ้าทะลายโจรทั้ง 10 สายพันธุ์มีผลให้ความสูงต้น น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งใบแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) โดยที่อายุ 90 วันหลังย้ายปลูก ฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ KKU 24, KKU 2, KKU 12 และ KKU 9 มีความสูงต้นสูงที่สุด คือ 54.88, 54.44, 54.38 และ 53.44 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนสายพันธุ์ KKU 8 และ KKU 21 มีความสูงต้นต่ำที่สุด คือ 33.31 และ 36.50 เซนติเมตร ตามลำดับ จำนวนข้อต่อต้นของฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ KKU 2, KKU 26, KKU 24 และ KKU 12 ที่อายุ 90 วันหลังย้ายปลูก มีแนวโน้มว่ามีจำนวนข้อต่อต้นสูงสุดแต่ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ฟ้าทะลายโจรในสายพันธุ์ KKU 12, KKU 9 และ KKU 6 มีน้ำหนักแห้งต้นมากที่สุด คือ 57.72, 56.55 และ 54.92 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ส่วนในสายพันธุ์ KKU 8 มีน้ำหนักแห้งต้นน้อยที่สุด คือ 17.11 กรัมต่อต้น ส่วนน้ำหนักแห้งใบ พบว่า ฟ้าทะลายโจรในสายพันธุ์ KKU 21 และ KKU 8 มีน้ำหนักแห้งใบมากที่สุด คือ 31.27 และ 28.58 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ส่วนในสายพันธุ์ KKU 2 มีน้ำหนักแห้งใบน้อยที่สุด คือ 9.43 กรัมต่อต้น และในสายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่แตกต่างกันไม่มีผลให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด แตกต่างกันทางสถิติ กิจกรรมการศึกษาจำแนกลักษณะและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมพืชไร่ ได้แก่ 1) การศึกษาจำแนก ลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของพืชไร่ (งา อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ปอสา ถั่วพื้นเมือง ถั่วเขียว ข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่างหวาน ฝ้าย สบู่ดำ แก่นตะวัน คาเมลิน่า และเรพสีด) ในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ) และ สภาพถิ่นเดิม (In situ) สามารถจำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุ์พืชไร่ รวม 4,665 สายพันธุ์ 2) การศึกษาความแปรปรวนของการออกดอกในเชื้อพันธุ์มันสำปะหลังในแปลงรวบรวมพันธุ์ รวม 400 สายพันธุ์ พบว่า เชื้อพันธุ์มันสำปะหลังที่สามารถออกดอกได้มีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นพันธุ์ประเภทแตกกิ่ง และช่วงที่ออกดอกมากที่สุด คือ เดือนตุลาคม ด้านอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยตอนกลางคืนมีผลต่อการออกดอกของมันสำปะหลัง โดยอุณหภูมิเฉลี่ยตอนกลางคืนที่ต่ำจะกระตุ้นให้เกิดการออกดอกได้ดีกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยตอนกลางคืนที่สูง และผลของระดับความสูงต่อการออกดอกของมันสำปะหลัง พบว่า ที่ระดับความสูง 1,000 และ 1,400 เมตร มันสำปะหลังทั้งชนิดที่แตกกิ่งและไม่แตกกิ่งออกดอกทุกพันธุ์ และให้ปริมาณดอกมากกว่าที่ระดับความสูง 40 เมตร โดยปริมาณการออกดอกที่ระดับความสูง 1,000 เมตร มากกว่าที่ระดับ 1,400 เมตร 3) การจำแนกและประเมินลักษณะทางคุณภาพของหัวและคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของแป้ง ในเชื้อพันธุ์มันสำปะหลัง รวม 872 สายพันธุ์ พบว่า สีของเนื้อหัวสดมีตั้งแต่สีขาว สีครีม สีเหลืองอ่อน และสีเหลือง โดยพันธุ์ที่มีเนื้อสีเหลือง ได้แก่ MPAR98, MPER2360, MCOL2493, MBRA325, MBRA311, MBRA71, MBRA337, MCOL2173 และ MENTEGA มีปริมาณเปลือกอยู่ระหว่าง 13.1-30.7 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณแป้งระหว่าง 3.2-29.2 เปอร์เซ็นต์ มีความชื้นในหัวสดระหว่าง 56.6-80.0 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณไซยาไนด์ในเนื้อมันสดระหว่าง 21.5-1521.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีคุณภาพด้านความหนืดสูงสุดหรือความเหนียวสูงสุดของน้ำแป้งอยู่ระหว่าง 529-910 BU 4) การจำแนกและประเมินระดับความต้านทานแมลงศัตรูของเชื้อพันธุ์มันสำปะหลัง ผลการสำรวจศัตรูมันสำปะหลัง 3 ชนิด คือ ไรแดง แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยแป้ง ตามสภาพธรรมชาติในแปลงรวบรวมพันธุ์มันสำปะหลังในปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553 จำนวน 160 พันธุ์ พบว่า ระดับการเข้าทำลายของไรแดงจากน้อยไปหามากดังนี้ มี 151 พันธุ์ที่มีไรแดงอยู่ในระดับไม่เกิน 5.0 เปอร์เซ็นต์ มี 7 พันธุ์ที่มีไรแดงอยู่ในระดับ 5.1-10.1 เปอร์เซ็นต์ มี 1 พันธุ์ ที่มีไรแดงอยู่ในระดับ 10.1-15.0 เปอร์เซ็นต์ และมี 1 พันธุ์ ที่มีไรแดงอยู่ในระดับ 20.1- 25.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวมีดังนี้ พันธุ์ที่มีการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาว ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ มี 154 พันธุ์, พันธุ์ที่มีแมลงหวี่ขาวเข้าทำลายในระดับ 5.1-10.0 เปอร์เซ็นต์ มี 4 พันธุ์, พันธุ์ที่มีแมลงหวี่ขาวเข้าทำลายในระดับ 10.1-15.0 เปอร์เซ็นต์ มี 1 พันธุ์ และพบ 1 พันธุ์ที่มีแมลงหวี่ขาวเข้าทำลาย 15.1-20.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง มีดังนี้ พันธุ์ที่มีการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ มี 136 พันธุ์, พันธุ์ที่มีเพลี้ยแป้งเข้าทำลายในระดับ 5.1-10.0 เปอร์เซ็นต์ มี 19 พันธุ์, พันธุ์ที่มีเพลี้ยแป้งเข้าทำลายในระดับ 10.1-15.0 เปอร์เซ็นต์ มี 3 พันธุ์, พันธุ์ที่มีเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย 15.1-20.0 เปอร์เซ็นต์ มี 1 พันธุ์ และพบ 1 พันธุ์ที่มีเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย 25.0-30.0 เปอร์เซ็นต์ 5) การจำแนกและประเมินระดับความต้านทานโรคของเชื้อพันธุ์มันสำปะหลัง โดยทำการประเมินระดับความต้านทานโรคใบไหม้ในและใบจุดชนิดต่างๆ ของเชื้อพันธุ์มันสำปะหลังในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553 จำนวน 555 พันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง การประเมินโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Xanthomonas campestris pv. manihotis โดยวิธี ตัดใบ (Clipping method) ในเรือนทดลองที่ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิห้อง ตรวจเช็คระดับความรุนแรงของโรค 1-5 ทุก 7 วันเป็นเวลา 2 เดือน พบ พันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานต่อโรคใบไหม้ 3 พันธุ์ คือ MCUB 23 CR 19 และ MARG 2 5. การจำแนกและประเมินคุณภาพของท่อนพันธุ์ในเชื้อพันธุ์มันสำปะหลัง โรคใบจุดสีน้ำตาลที่เกิดจากเชื้อCercosporidium henningsii ในสภาพธรรมชาติ ตรวจเช็คเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและประเมินระดับความรุนแรงของโรค 1- 5 ตั้งแต่อายุ 5 เดือน ทุกๆ 2 สัปดาห์ พบ พันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานต่อโรค 165 พันธุ์ ต้านทานปานกลางใบจุดสีน้ำตาล 360 พันธุ์ จำนวน และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค 1 พันธุ์ คือ MCUB 56 และ 6) ผลการประเมินคุณภาพของท่อนพันธุ์ จำนวน 81 พันธุ์ พบว่า ความสูงต้น อยู่ระหว่าง 80-288 เซนติเมตร โดยมีจำนวนชั้นในการแตกกิ่งตั้งแต่ไม่แตกกิ่งจนถึงแตกกิ่ง 3 ชั้น ความยาวรวมของต้นพันธุ์ที่ใช้ทำพันธุ์ได้ตั้งแต่ 42.1-149.7 เซนติเมตร จำนวนตาของท่อนพันธุ์ปลูก(ขนาดความยาว 20 เซนติเมตร) อยู่ระหว่าง 8-25 ตา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นอยู่ระหว่าง 1.52-2.86 เซนติเมตร ความหนาแน่นหรือความถ่วงจำเพาะของท่อนพันธุ์อยู่ระหว่าง 0.628-1.028 เปอร์เซ็นต์ ความงอกหลังปลูกในสภาพแปลง 30 วัน อยู่ระหว่าง 0-100 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมที่ 3 เทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมพืช ประกอบด้วย กิจกรรมการศึกษาเทคโนโลยีการ อนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชได้แก่ 1) การศึกษาอิทธิพลของวิธีการเก็บรักษาที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช พบว่า เมล็ดที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดส้มเสี้ยวที่อายุ 24 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) โดยที่อุณหภูมิห้อง ห้องอนุรักษ์ระยะปานกลาง (5 องศาเซลเซียส) และห้องอนุรักษ์ระยะยาว (-10 องศาเซลเซียส) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 95 เปอร์เซ็นต์ 89 เปอร์เซ็นต์ และ 73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันไม่มีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด คูน มะคำดีควาย ชุมเห็ดเทศ และมะแว้งต้นในทุกอายุการเก็บรักษามีความแตกต่างกันทางสถิติ เมล็ดสมอพิเภกที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 1, 6 และ 24 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) ที่อายุ 1 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 46 เปอร์เซ็นต์ 17 เปอร์เซ็นต์ และ 15.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ดเริ่มลดลง เช่นเดียวกับในสมอไทยที่เมล็ดที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของที่อายุ 1, 3 และ 6 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ที่อายุ 6 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 13.0 เปอร์เซ็นต์ 8.0 เปอร์เซ็นต์ และ 9.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดขามมะป้อมที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 3, 9, 12 และ 24 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) โดยที่อายุ 12 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ดสูงกว่าที่อายุอื่นๆ คือ 87.5 เปอร์เซ็นต์ 79.0 เปอร์เซ็นต์ และ 64.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดมะขามแขกที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 24 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 65.25 เปอร์เซ็นต์ 91.5 เปอร์เซ็นต์ และ 96.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดกระเจี๊ยบแดงที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 18 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 42.0 เปอร์เซ็นต์ 72.0 เปอร์เซ็นต์ และ 97.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดชุมเห็ดเทศที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 12 และ 18 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยที่อายุ 12 เดือน เปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 80.0 เปอร์เซ็นต์ 68.0 เปอร์เซ็นต์ และ 41.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดมะแว้งเครือที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 1 และ 12 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ที่อายุ 1 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 81.25 เปอร์เซ็นต์ 80.00 เปอร์เซ็นต์ และ 67.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และที่อายุ 12 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกในเมล็ด 66.5 เปอร์เซ็นต์ 83.00 เปอร์เซ็นต์ และ 94.75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดบุกคางคกที่เก็บรักษาในกรรมวิธีที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกที่อายุ 1, 3, 6 และ 9 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยที่ทุกอายุการตรวจวัดที่ห้องอนุรักษ์ระยะยาว (-10 องศาเซลเซียส) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเท่ากับ 0 เช่นเดียวกับเมล็ดสำรอง ส่วนเมล็ดรากสามสิบไม่ได้ทำการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ความงอกเนื่องจากเมล็ดมีจำนวนน้อย 2) การศึกษาวิธีลดความชื้นและระดับความชื้นที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์ระยะยาวของเมล็ดพืชน้ำมัน พบว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีระดับความชื้น 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อลดความชื้นโดยใช้ตู้อบความร้อนมีค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยไม่แตกต่างกับเมล็ดพันธุ์ที่ลดความชื้นโดยใช้ห้องลดความชื้น โดยเมล็ดที่มีระดับความชื้น 4 เปอร์เซ็นต์สามารถเก็บรักษาได้นาน 10 เดือน ส่วนเมล็ดที่มีระดับความชื้น 6 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นานถึง 12 เดือนในภาชนะปิดผนึก โดยมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความงอกอยู่ระหว่าง 51-58 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงที่ลดความชื้นโดยใช้ตู้อบความร้อนพบว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงที่ระดับความชื้น 4 เปอร์เซ็นต์สามารถเก็บรักษาได้นานถึง 11 เดือน ในภาชนะปิดผนึก ส่วนเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงที่ลดความชื้นโดยห้องลดความชื้น พบว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงที่ระดับความชื้น 4 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 12 เดือน โดยในเดือนที่ 12 มีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงถึง 72 เปอร์เซ็นต์เมื่อเก็บรักษาในภาชนะปิดผนึก 3) ความชื้นของเมล็ดและอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์ระยะยาวของเมล็ดพันธุ์มะละกอ พบว่าระยะเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์มะละกออย่างมีนัยสำคัญยิ่งรวมทั้งความชื้นของเมล็ด และความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับระยะเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในทุกสภาพอุณหภูมิการเก็บรักษาอีกด้วย เมล็ดที่มีความชื้น 9-10 เปอร์เซ็นต์ ความงอกเริ่มต้น 98 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บรักษาที่สภาพอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ 15, 5 และ -10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 เดือนมีเปอร์เซ็นต์ความงอก 51, 75, 75 และ 40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดที่มีความชื้น 7-8 เปอร์เซ็นต์ ความงอกเริ่มต้น 96 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 30 เดือนที่สภาพอุณหภูมิห้อง, 15, 5 และ-10 องศาเซลเซียส จะมีความงอก 51, 80, 82 และ 45 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนเมล็ดที่มีความชื้น 4-5 เปอร์เซ็นต์ ความงอกเริ่มต้น 95 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บรักษาที่สภาพอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ 15, 5 และ -10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 เดือนมีเปอร์เซ็นต์ ความงอก 52, 61, 64 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง (-196 องศาเซลเซียส) วางแผนการทดลองแบบ 3x6 Factorial Experimental in CRD จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือความชื้นของเมล็ดมี 3 ระดับได้แก่ 9-10, 7-8 และ 4-5 เปอร์เซ็นต์ และเวลาที่ใช้ในการเก็บรักษามี 6 ระดับ ได้แก่ 0, 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน และ 1 ปี พบว่าระดับความชื้นภายในเมล็ดไม่มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดมีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรักษา รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างระดับความชื้นของเมล็ดและระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรักษามีผลทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้น 5 เปอร์เซ็นต์ ความงอกเริ่มต้น 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน และ 1 ปี มีเปอร์เซ็นต์ความงอก 93, 91, 91, 90 และ 89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 4) ศึกษาความแข็งแรงของเมล็ดถั่วเหลืองเพื่อเก็บรักษาในธนาคาร เชื้อพันธุ์พืช โดยวิธีการเร่งอายุ วิธีวัดค่าดัชนีความงอก และวิธีวัดค่าการนำไฟฟ้า สำหรับการเก็บรักษาในระยะปานกลางและระยะยาวที่อายุการเก็บรักษาต่างกัน พบว่าเมล็ดถั่วเหลืองที่เก็บอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เริ่มนำออกมาทดสอบในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 สำหรับอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เริ่มนำออกมาทดสอบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 1 ปี วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียลใน CRD หลังจากนั้นทำการทดลองซ้ำในปีที่2 โดยใช้เมล็ด ถั่วเหลือง 3 พันธุ์จากแหล่งเดิมซึ่งเป็นถั่วเหลืองช่วงแล้งปี พ.ศ. 2552 เก็บเกี่ยวช่วงเดือนเมษายน มาทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิเดิมแต่เพิ่มการเก็บรักษาในระยะยาว (-10 องศาเซลเซียส) แล้วนำมาทดสอบความงอก ความชื้น ทดสอบความแข็งแรง (seed vigor ) ทดสอบทุก 1 เดือน สำหรับการเก็บรักษาถั่วเหลือง 25 องศาเซลเซียส และ 5 องศาเซลเซียส เริ่มทดสอบและบันทึกเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 – กันยายน พ.ศ. 2553 สำหรับถั่วเหลืองที่เก็บรักษาไว้ที่ -10 องศาเซลเซียส นำออกมาทดสอบ 2 ครั้งในมิถุนายน พ.ศ. 2553 และกันยายน พ.ศ. 2553 ผลการศึกษาในปีแรกพบว่า ระยะเวลาในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ถั่วเหลือง และฤดูปลูกนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทุกอุณหภูมิ ทั้ง 2 ปีที่ทำการศึกษา สำหรับวิธีเร่งอายุ (AAT) เป็นไปในทำนองเดียวกันกับวิธีวัดดัชนีความงอก (GI Test) คือมีเปอร์เซ็นต์ความงอกลดลงเมื่อเวลาผ่านไปเมล็ดถั่วเหลืองที่เก็บรักษาในทุกอุณหภูมิ สำหรับวิธีวัดค่าการนำไฟฟ้านั้น (EC Test) เมล็ดถั่วเหลืองที่เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และ 5 องศาเซลเซียส พบว่า ค่าการนำไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีแรกของการศึกษา แต่สำหรับปีที่ 2 ของการศึกษาพบว่าเมล็ดถั่วเหลืองที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่าการนำไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ค่าการนำไฟฟ้าแสดงค่าไม่เพิ่มขึ้นกลับมีแนวโน้มไปในทางลดลงสำหรับเมล็ดที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส แสดงค่าการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งพันธุ์เชียงใหม่ 60 และสจ.5 แต่พันธุ์แม่โจ้ 9518-2 กลับแสดงค่าไม่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วเมื่อเวลาผ่านไปมีการแสดงถึงความแข็งแรงของเมล็ดถั่วเหลืองที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีค่าดัชนีความงอกลดลง เปอร์เซ็นต์ความงอกหลังเร่งอายุลดลง และค่าการนำไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และ -10 องศาเซลเซียส กล่าวได้ว่ายิ่งเก็บถั่วเหลืองไว้นาน พันธุ์แม่โจ้ 9518-2 จะแสดงถึงความแข็งแรงกว่าพันธุ์อื่น โดยทั้ง 3 วิธีให้ผลสอดคล้องกันกับความแข็งแรงของเมล็ด 5) การจัดการฐานพันธุกรรมถั่วเหลืองที่อนุรักษ์ไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ของสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมถั่วเหลืองโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access เวอร์ชั่น 2003 ซึ่งฐานข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ หมายเลขตัวอย่างพันธุ์ (Gs. No.) ชื่อพันธุ์ น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ความงอก เปอร์เซ็นต์ความชื้น แหล่งที่มาของเชื้อพันธุ์ ประเภทการอนุรักษ์ ข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ข้อมูลลักษณะทางการเกษตร และรูปประกอบ กิจกรรมการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชสวนในสภาพปลอดเชื้อ ทำการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชสวนในสภาพปลอดเชื้อและสภาพเยือกแข็ง ของกล้วย เงาะ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ส้ม และมะละกอ ผลการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยในสภาพปลอดเชื้อ โดยวิธีการเก็บรักษาการเลี้ยงต้นอ่อนในอาหารสูตรชะลอการเจริญเติบโต (Slow growth) และการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง (Cryopreservation) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้ในการเก็บรักษาอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชได้เป็นระยะเวลานาน เพื่อเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โดยวิธีการเก็บรักษาในอาหารสูตรชะลอการเจริญเติบโตศึกษาในกล้วยปลูก จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยมะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ และกล้วยตานี ในขวดทดลองขนาดเล็ก (3 x 9 เซนติเมตร) และการลดปริมาณธาตุอาหาร โดยทดลองอนุรักษ์บนอาหารจำนวน 6 สูตรอาหาร พบว่า กล้วยทุกพันธุ์สามารถเจริญอยู่ได้เป็นเวลา 9-12 เดือน ในสูตรอาหาร MS ปกติ 1/2MS ที่เติมน้ำตาล 15 กรัม/ลิตร และ1/4MS ที่เติมน้ำตาล 15 กรัม/ลิตร ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ นอกจากนี้ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมทอง และกล้วยน้ำว้า ยังสามารถเก็บรักษาได้ในอาหาร 1/2MSที่เติมน้ำตาล 7.5 กรัม/ลิตร และวิธีการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งศึกษาในเนื้อเยื่อปลายยอดกล้วยหอมทอง โดยวิธี Vitrification, Encapsulation vitrfication วิธี Vitrification ตามวิธีการของ INIBAP (The International Network for the Improvement of Banana and Plantain) และ Droplet พบว่าปลายยอดกล้วยที่ใช้ทดลองยังไม่สามารถรอดชีวิตหลังจากการทดลองศึกษาในวิธีต่างๆ ดังกล่าว ส่วนการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมของเงาะหลังเพาะเลี้ยงไป 1 เดือน ผลปรากฏว่ายังไม่มีการพัฒนา สำหรับแคลลัสพัฒนาจากยอดอ่อนและผลอ่อนพบว่าไม่สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้สำหรับการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์มะพร้าวในสภาพปลอดเชื้อ และในสภาพเยือกแข็ง ได้ดำเนินการที่สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2553 โดยทำการศึกษาการเก็บรักษาคัพภะของมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม (น้ำหอม X กะทิ) ในห้องทดลองในสภาพปลอดเชื้อและในไนโตรเจนเหลว (สภาพเยือกแข็ง) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการทดลอง ปรากฏว่า การเก็บในที่มืด 3 เดือนในอาหารที่ไม่มีน้ำตาลทำให้คัภพะไม่สามารถพัฒนา แม้หลังจากนั้นจะย้ายไปเพาะเลี้ยงในอาหารปกติ ในขณะที่การเก็บในที่มืดในอาหารที่มีน้ำตาล 15 กรัม/ลิตร หรือมากกว่า ไม่สามารถจะชะลอการเจริญเติบโตของคัพภะได้ สำหรับการเก็บรักษาคัพภะในไนโตรเจนเหลวด้วยวิธีการต่างๆ พบว่า การทำ Vitrification, Encapsulation และการ pretreatment ด้วยสารละลาย Cryoprotective substances ยังไม่ได้ผลสำหรับคัพภะมะพร้าวลูกผสมที่ใช้ในการทดลอง การลดความชื้นอย่างช้าๆ ด้วย silica gel เป็นเวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ปรากฎว่ายังมีคัพภะสามารถพัฒนาไปเป็นต้นได้ หลังจากเก็บในไนโตรเจนเหลว แม้ว่าความชื้นของคัภพะจะใกล้เคียงกับกรรมวิธีอื่นๆ จึงคาดว่าการที่คัภพะสามารถรอดชีวิตและสามารถพัฒนาต่อได้ อาจจะเนื่องจากความแข็งแรงของคัพภะเอง แม้ว่าจะมีการคัดขนาดของ คัภพะ และอายุเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกัน แต่ความแข็งแรงของเมล็ด ไม่สามารถจะรับประกันได้ว่า จะมีความแข็งแรงเท่าเทียมกัน จึงเป็นปัญหาค่อนข้างมากในการใช้คัภพะในการอนุรักษ์ในสภาพเยือกแข็ง นอกจากนี้โดยตัวคัพภะเองมีโครงสร้างเนื้อเยื่อที่ค่อนข้างซับซ้อน มีขนาดใหญ่จึงยากต่อการที่จะลดความชื้นและให้ความเย็นได้อย่างสม่ำเสมอ ด้านพันธุกรรมพืชสกุลส้มชนิดต่าง ๆ ได้ทำการเก็บรักษาไว้ภายใต้สภาพปลอดเชื้อ จากการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมส้ม คือ สูตร half- MS และ MS เนื่องจากเนื้อเยื่อส้มมีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ มีสีเขียวสด มีการเจริญเติบโตปรกติ ไม่มีการเกิดแคลสัสบริเวณส่วนฐาน ส่วนสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับขั้นตอนการเพิ่มปริมาณต้นส้มให้ได้ปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วคือสูตร MS ที่เติม BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยได้ทำการทดลองกับส้มสายพันธุ์ Rangpur lime ส้มพันธุ์จุกตรัง พันธุ์คลีโอพัตรา พันธุ์สายน้ำผึ้งเบอร์ 2 (ฉายรังสี ปริมาณ 4 Krad แบบ Acute) พบว่า สูตร MS ที่เติม BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้ค่าเฉลี่ยจำนวนยอดมากที่สุด ส่วนสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการชักนำการเกิดรากของต้นส้มคือ สูตร MS ที่เติม NAA 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยให้จำนวนรากเฉลี่ยมากที่สุดคือ 8.1 ราก และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดราก 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทำการทดลองกับส้มพันธุ์ Rangpur lime ส่วนการทดลองการย้ายต้นส้มออกปลูกในสภาพโรงเรือนพบว่า วิธีการนำต้นส้มออกไปปรับสภาพก่อนการย้ายปลูกเป็นเวลา 3-4 วันโดยคลายฝาเกลียวเล็กน้อย วางไว้ภายใต้สภาพอุณหภูมิห้องปรกติ จากนั้นย้ายลงวัสดุปลูก รดน้ำ แล้วคลุมด้วยถุงพลาสติกใสเป็นเวลา 30 วัน พบว่า ต้นส้มมีอัตราการรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ และการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมมะละกอในสภาพปลอดเชื้อ (Tissue Culture) และสภาพเยือกแข็ง (Cryopreservation) เพื่อศึกษาหาวิธีการที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมมะละกอ มีขั้นตอนเริ่มจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมะละกอจำนวน 5 สายพันธุ์ในสูตรอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณ ได้ต้นกล้ามะละกอสายพันธุ์ละ 100 ต้น เก็บรักษาในอาหารสังเคราะห์สูตรอนุรักษ์ Drew-Smith (DS) ดัดแปลงโดยการไม่มีการเติมส่วนประกอบของฮอร์โมนชนิดต่างๆในสูตรอาหารดังกล่าวและลดปริมาณน้ำตาลให้เหลือ 1 เปอร์เซ็นต์ fructose (DS+ 1 เปอร์เซ็นต์ fructose) ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เนื้อเยื่อส่วนหนึ่งเก็บในไนโตรเจนเหลว (สภาพเยือกแข็ง) จากนั้นทดสอบการคืนสภาพเนื้อเยื่อ (Regeneration) ทุก 6, 12, 18, 24, 30 และ 36 เดือน โดยการนำเนื้อเยื่อมะละกอจากการเก็บรักษามาเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อในอาหารสังเคราะห์สูตรเพิ่มปริมาณ พบว่าเนื้อเยื่อในอาหาร DS+ 1 เปอร์เซ็นต์ fructose สามารถคืนสภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากการเก็บรักษาเป็นเวลา 6 และ 12 เดือน แต่เนื้อเยื่อที่เก็บรักษาเป็นเวลา 18 เดือนเป็นต้นไปมักพบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ทำให้สามารถคืนสภาพเนื้อเยื่อได้เพียงเล็กน้อย ส่วนการเก็บเนื้อเยื่อในไนโตรเจนเหลวทำการทดสอบการคืนสภาพเนื้อเยื่อเมื่อเก็บรักษาได้ 6 เดือนพบว่าไม่สามารถคืนสภาพเนื้อเยื่อได้เนื่องจากอาจเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการดึงน้ำออกจากเนื้อเยื่อซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังสูงต้องอาศัยความชำนาญ นอกจากนี้อายุของเนื้อเยื่อที่นำมาเก็บด้วยวิธีเยือกแข็งอาจมีผลต่อความสำเร็จในการเก็บรักษาเช่นกัน กิจกรรมศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชหายากในสภาพปลอดเชื้อ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีการอนุรักษ์และเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชหายากในสภาพปลอดเชื้อ และสภาพเยือกแข็ง ทำการศึกษาวิธีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าเอื้องปากนกแก้ว จากการเก็บรักษาต้นอ่อน ในสภาพปลอดเชื้อในขวดทดลอง พบว่า สูตร Vacin และ Went (VW) ดัดแปลง (เติมน้ำมะพร้าวอ่อน 150 มิลลิลิตรต่อลิตร) + mannitol 4 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลดีคือ การรอดชีวิตสูง 70 เปอร์เซ็นต์ การเก็บรักษาเมล็ดในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี Vitrification พบว่า สูตร PVS2 ในอาหารเหลวสูตร MS ให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุดเป็น 92.44 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับการแช่ในสูตร PVS2 ในอาหารเหลวสูตร VW ซึ่งมีความงอก 89.47 เปอร์เซ็นต์ การเก็บรักษาโปรโตคอร์มในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี Vitrification พบว่าไม่มีการพัฒนาเป็นยอดใหม่ และเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดทั้งหมดภายในเวลา 2 เดือน การเก็บรักษาโปรโตคอร์มโดยวิธี Encapsulation Vitrification จากการทดลองไม่พบความมีชีวิตของโปรโตอคร์มทุกตัวอย่าง และเมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรพื้นฐานก็ไม่สามารถพัฒนาเป็นยอดใหม่ได้และเนื้อเยื่อกลายเป็นสีขาวภายในเวลา 4 เดือน การเก็บรักษาปลายยอดโดยวิธี Encapsulation Dehydration จากการทดลองไม่พบการเจริญเป็นยอดใหม่แม้จะเลี้ยงต่อเนื่องไปจนถึงระยะ 7 เดือน และการเก็บรักษาปลายยอดในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี Vitrification พบว่า ปลายยอดทั้งหมดเปลี่ยนเป็นสีขาวซีด ซึ่งแสดงว่าไม่มีชีวิต (จากการตรวจสอบโดยแช่ในสารละลาย TTC 0.6 เปอร์เซ็นต์ ) แต่พบว่าในชุดที่ไม่ได้เก็บในไนโตรเจนเหลว สามารถงอกยอดใหม่ได้สูงสุด 44 เปอร์เซ็นต์ จากวิธีที่ทำ preculture ในอาหารที่มีซูโครส 0.3 โมลาร์ อย่างเดียวโดยไม่มีการแช่ PVS2 กล้วยไม้เอื้อง เงินหลวง เอื้องสายหลวง เอื้องแซะหอม โดยศึกษาการเก็บรักษาในสภาพชะลอการเจริญเติบโต (Slow growth) โดยวิธีการลดปริมาณธาตุอาหารหรือแหล่งพลังงานเปรียบเทียบระหว่างสูตรอาหารต่างๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงกล้วยไม้ โดยทดลองเลี้ยงต้นอ่อนเอื้องเงินหลวงในอาหารสูตรต่างๆ กัน 30 สูตร ต้นอ่อนเอื้องสายหลวงในอาหารสูตรต่างๆ กัน 18 สูตร และต้นอ่อนเอื้องแซะหอมในอาหารสูตรต่างๆ กัน 8 สูตร เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้ พบว่ากล้วยไม้ทั้ง 3 ชนิดสามารถเก็บรักษาในสูตรอาหารชะลอการเจริญเติบโตได้นานถึง 12-15 เดือน พบว่า ต้นอ่อนเอื้องเงินหลวงสามารถเก็บรักษาได้ในอาหารกลุ่ม 1/2MS และ 1/2VW ที่เติมน้ำตาล ต้นอ่อนเอื้องสายหลวงสามารถเก็บรักษาได้ในอาหารกลุ่ม MS และกลุ่ม VW+P100+B100 โดยสูตร 1/8VW+P100+B100 พบว่าต้นอ่อนกล้วยไม้ยังเจริญแข็งแรงดี และต้นอ่อนเอื้องแซะหอมเก็บรักษาได้ในอาหารสูตร 1/4VW+Sucrose 1 เปอร์เซ็นต์ และการศึกษาวิธีการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง (Cryopreservation) ของกล้วยไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้ด้วยวิธี Vitrification และ Encapsulation-Vitrification ศึกษาระยะเวลาในการแช่ในสาร Cryoprotectant (PVS2) เป็นเวลา 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 นาที หลังการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว (-196 องศาเซลเซียส) นำมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร VW (1969) ดัดแปลง พบว่า เมล็ดเอื้องเงินหลวงงอกได้ดีเมื่อแช่ใน PVS2 เป็นเวลา 60 นาที โดยวิธี Vitrification และแช่ใน PVS2 เป็นเวลา 100 นาที โดยวิธี Encapsulation-Vitrification เมล็ดเอื้องสายหลวงงอกได้ดีเมื่อแช่ใน PVS2 เป็นเวลา 40 นาทีขึ้นไป โดยวิธี Vitrification และแช่ใน PVS2 เป็นเวลา 80-100 นาที โดยวิธี Encapsulation-Vitrification และในเอื้องแซะหอม เมล็ดงอกได้ดีเมื่อแช่ใน PVS2 นานเป็นเวลา 60 นาทีขึ้นไป โดยวิธี Vitrification และแช่ใน PVS2 เป็นเวลา 80 นาที โดยวิธี Encapsulation-Vitrification นอกจากนี้ยังศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าสกุลหวาย 7 ชนิด ในสภาพชะลอการเจริญเติบโตโดยการจำกัดปริมาณสารอาหารสูตร 1/15 VW 1/10 VW และ 1/15 VW และสภาพเยือกแข็งด้วยวิธี Encapsulation-Vitrification สามารถเก็บรักษาต้นอ่อนกล้วยไม้ทุกชนิดได้บนอาหารสูตร 1/2 VW โดยไม่เปลี่ยนอาหารนาน 1 ปี และเมื่อลดปริมาณสารอาหารลงได้อีก พบว่าเหลืองจันทบูร และเอื้องสายน้ำผึ้งสามารถเก็บรักษาได้บนอาหารสูตร VW นาน 9 เดือนโดยไม่ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ เพราะกล้วยไม้ทั้ง 2 ชนิด เมื่อผ่านการอนุรักษ์แล้วสามารถย้ายปลูกต้นอ่อนในโรงเรือนได้ แต่กล้วยไม้อีก 5 ชนิดคือ เอื้องคำกิ่ว เอื้องมือนาง เอื้องสายพระอินทร์ เอื้องแปรงสีฟัน เอื้องผาเวียง ควรอนุรักษ์บนอาหารสูตร 1/15 VW และ 1/10 VW โดยระยะเวลาในการอนุรักษ์ 6-9 เดือน โดยไม่เปลี่ยนอาหารใหม่ ส่วนการอนุรักษ์ในสภาพเยือกแข็ง ใช้เทคนิค Encapsulation-Vitrification โดยนำเมล็ดกล้วยไม้ทั้ง 7 ชนิด มาเคลือบด้วยสาร Alginate และใช้ระยะเวลาแช่สาร PVS2 นาน 20-60 นาที ก่อนนำไปแช่ในไนโตรเจนเหลวนาน 48 ชั่วโมง เมื่อนำเมล็ดกล้วยไม้ออกจากไนโตรเจนเหลวสามารถนำมาเพาะเลี้ยงฟื้นฟูคืนชีวิตได้มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเมล็ดกล้วยไม้ที่แช่ PVS2 นาน 80 และ 100 นาที 2) การศึกษาวิธีการเก็บรักษาพันธุกรรมกวาวเครือขาวในสภาพปลอดเชื้อในหลอดทดลอง พบว่า การเก็บรักษาเป็นเวลา 7 เดือน ในอาหารสูตรที่มีการลดปริมาณสารอาหารลง ? และ ? โดยไม่เติมซูโครสให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตต่ำ (12.5 เปอร์เซ็นต์) และ 25 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นสูตรที่ไม่ควรใช้ในการเก็บรักษาต่อไปอีก สำหรับการเก็บรักษาในอาหารสูตรอื่น ๆ ซึ่งมีการรอดชีวิต 75 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปนั้น เมื่อตรวจดูลักษณะตัวอย่างยอดที่รอดชีวิต พบว่า มีทั้งยอดที่มีลักษณะสมบูรณ์ คือมีส่วนลำต้น ใบ สีเขียวสดอยู่ ไม่มีอาการเหลืองหรือแห้งตาย กับมียอดหรือกลุ่มยอดที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีหลายประการคือ ส่วนลำต้นหรือใบหรือทั้ง 2 อย่าง เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือซีดขาว ในขณะที่มีการแตกยอดใหม่ตรงส่วนโคนหรือฐานของชิ้นส่วนนั้น ๆ ด้วย บางตัวอย่างยอดหลักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล, เหลือง แต่มีการเจริญของยอดแขนงใหม่ตรงส่วนโคนหรือส่วนฐานยอด ลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏอยู่ในตัวอย่างยอดที่เก็บรักษาในอาหารทุกสูตร ดังนั้น เพื่อให้สามารถเก็บรักษาตัวอย่างยอดที่รอดชีวิตต่อไปได้อีก จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายอาหาร (Subculture) เพื่อให้ชิ้นส่วนยอดที่เก็บรักษาได้ฟื้นฟูและพัฒนาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นเชื้อพันธุ์ต่อไปได้ 3) การศึกษาวิธีการเก็บรักษาพันธุกรรมเชื้อพันธุ์พุงทะลายและชุมเห็ดไทยในสภาพปลอดเชื้อในหลอดทดลอง พบว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมล็ดและปลายยอดพุงทะลายในอาหารที่ต่างกัน 4 สูตร ไม่พบการเจริญเติบโต ส่วนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมล็ดพุงทะลายในอาหารสูตร MS ต้นอ่อนที่งอกมีความสูงต้นสูงที่สุด และสามารถนำปลายยอดและตาข้างไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มจำนวนต้นได้ และเมื่อนำปลายยอดไปเพาะเลี้ยง พบว่า สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดเฉลี่ยสูงกว่าสูตรอาหารอื่นๆ ส่วนเมล็ดที่เพาะในสูตรอาหารดัดแปลง MS + BA 2 มิลลิกรัม/ต่อลิตร และสูตรอาหารดัดแปลง MS + BA 2 มิลลิกรัม/ต่อลิตร + IBA 25 มิลลิกรัม/ต่อต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่สามารถพัฒนาเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ แต่มีการสร้างแคลลัสขนาดใหญ่ ดังนั้น ในการเพิ่มจำนวนปลายยอดชุมเห็ดเทศให้มากที่สุดควรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารสูตร MS ในการเก็บรักษาปลายยอดในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี Encapsulation/Dehydration ปัญหาที่พบคือ ชิ้นส่วนพืช หรือ Bead ยังคงมีความชื้นสูงทำให้ไม่สามารถเก็บในสภาพเยือกแข็งได้ ซึ่งควรศึกษาหาเทคนิคที่เหมาะสมอื่นๆ ต่อไป เช่น Simple Freezing, Vitrification และ Encapsulation/Vitrification เพื่อการป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดผลึกน้ำแข็งภายในเซลล์ในระหว่างการเก็บในถังไนโตรเจนเหลว -196 องศาเซลเซียส และการเก็บเมล็ดชุมเห็ดเทศในสภาพเยือกแข็ง (-196 องศาเซลเซียส) เพื่อการอนุรักษ์ในระยะยาว เมล็ดควรมีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จากข้อมูลนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชชนิดอื่นๆ เช่น พืชที่มีเมล็ดอยู่ในกลุ่ม Orthodox seed ซึ่งสามารถลดความชื้นในเมล็ดให้ต่ำลงได้โดยยังคงรักษาความแข็งแรงและความมีชีวิตได้สูง กิจกรรมศึกษาเทคโนโลยีการอนุรักษ์และเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชไร่ในสภาพปลอดเชื้อ โดยศึกษาเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังที่รับจาก CIAT มีทั้งหมด 628 พันธุ์ ปัจจุบันมีพันธุ์ที่อนุรักษ์ไว้ในสภาพปลอดเชื้อรวม 639 พันธุ์ (อนุรักษ์ไว้เดิม 46 พันธุ์ ) การ Subculture เพื่อให้ได้ปริมาณต้นกล้ามากขึ้นและอนุรักษ์ไว้ในสภาพปลอดเชื้อ เนื่องจากมันสำปะหลังที่อนุรักษ์ไว้ในสภาพปลอดเชื้อมีจำนวนมาก ประกอบกับแรงงานมีจำนวนจำกัด จึงได้มีวิธีการทดลองที่จะยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น โดยการเพิ่มปริมาณอาหารจาก 20 มิลลิลิตร เพิ่มเป็น 40 มิลลิลิตร ผลการทดลองพบว่า มันสำปะหลังส่วนใหญ่ที่มีการเพิ่มปริมาณอาหารมีการเจริญเติบโตไม่ค่อยดี คือ ลักษณะของต้นไม่แข็งแรง ต้นผอมและเหลืองใส ขนาดของตาที่จะนำมา Subculture เพื่อขยายพันธุ์ใหม่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกใหม่ในรุ่นต่อไปไม่ค่อยเจริญเติบโต กิจกรรมที่ 4 การวิจัยและทดสอบพันธุ์กวาวเครือที่ให้ผลผลิตและสาระสำคัญสูง ศึกษาพันธุ์กวาวเครือแดงจากจังหวัดลำปาง และกวาวเครือดำจากจังหวัดเชียงใหม่ ปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เมื่ออายุ 2 ปี กวาวเครือแดง เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นเฉลี่ย 6.43 ? 1.96 เซนติเมตร ลักษณะใบย่อยส่วนปลาย รูปไข่กลับ ฝักแก่สีน้ำตาล รูปแบนยาว มีรอยคอดใกล้ปลายฝัก เมล็ดสีน้ำตาล รูปกลม-แบน ยังไม่มีหัวใต้ดิน กวาวเครือดำ เมล็ดสีดำ รูปกลม-แบน เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นเฉลี่ย 7.85 ? 0.68 เซนติเมตร ลักษณะใบย่อยส่วนปลายรูปใบหอก ยังไม่ออกดอก ติดฝัก และไม่มีหัวใต้ดิน กิจกรรมที่ 5 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลูคาว ได้รวบรวมพันธุ์พลูคาวจากแหล่งต่างๆ และจัดจำแนกตามลักษณะสัณฐานวิทยาได้จำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ใบแดง สายพันธุ์ใบเขียว สายพันธุ์ก้านม่วง และสายพันธุ์ใบด่าง บันทึกข้อมูลชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ แหล่งที่มา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโต และการนำพลูคาวไปใช้ประโยชน์ ผลจากการศึกษาและรวบรวมพันธุ์ทำให้ได้ข้อมูลและแหล่งรวบรวมพันธุกรรมพลูคาว เพื่อประโยชน์ในการวิจัยต่อไป กิจกรรมที่ 6 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก โดยรวบรวมพันธุ์บัวบกจากแหล่งต่างๆ ได้จำนวน 25 สายพันธุ์ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น หนองคาย เลย บุรีรัมย์ ภาคกลาง อยุธยา ภาคตะวันออก ฉะเชิงเทรา จันบุรี ตราด และระยอง ภาคตะวันตก นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี บันทึกข้อมูลชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ แหล่งที่มา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโต และการนำบัวบกไปใช้ประโยชน์ และสามารถเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งพันธุกรรมบัวบก เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีต่อไป กิจกรรมที่ 7 การวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรอื่นที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย กิจกรรมศึกษา รวบรวม และพัฒนาพืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ทางยารักษาโรค โดยศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรและสถาบันวิจัยพืชสวน ศึกษารวบรวมสายพันธุ์พืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ทางยารักษาโรค ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เริ่มต้นวิจัยปี พ.ศ. 2551- 2553 โดยทำการออกสำรวจรวบรวมพืชสมุนไพรใช้ประโยชน์ทางยารักษาโรค ตามแหล่งขึ้นเองตามธรรมชาติ นำส่วนที่ขยายพันธุ์มาปลูกในแปลงรวบรวมสายพันธุ์ พร้อมศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด เช่น ชุมเห็ดเทศ บอระเพ็ด และเพชรสังฆาต พบว่าเมื่อตรวจสอบลักษณะทางพฤกษศาสตร์แล้วจากแหล่งต่าง ๆ พบว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เช่น ชุมเห็ดเทศ ประเภทไม้พุ่ม สรรพคุณทางยา ลำต้น ช่วยขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้โรคกระษัยเส้น ใบ เป็นยาระบายอ่อน รักษากลากเกลื้อน ขับปัสสาวะ สมานธาตุ ดอกเป็นยาระบาย เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก บอระเพ็ด เป็นไม้เถาเลื้อยอายุข้ามปี สรรพคุณทางยา เถา ใช้บำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ใบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ผล แก้เสมหะเป็นพิษ เพชรสังฆาต เป็นไม้เถาเลื้อย อายุข้ามปี สรรพคุณทางยา เถาใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก รักษากระดูกแตก แก้หูน้ำหนวก ใบ รักษาโรคลำไส้ แก้ปวดท้อง เป็นต้น และได้แปลงรวบรวมสายพันธุ์พืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ทางยารักษาโรค เพื่อนำมาปรุงเป็นยารักษาโรคต่อไป และจากการเก็บและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ทางยารักษาโรค จากแหล่งปลูกต่างๆ ในเขตภาคเหนือ ในสภาพแปลงรวบรวมพันธุ์ภายในบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จำนวน 32 ชนิด จำแนกเป็น 8 กลุ่มตามลักษณะการบำบัด/รักษาโรค ดังนี้ 1. รักษาระบบทางเดินอาหาร 2. รักษาระบบทางเดินปัสสาวะ 3. ลดน้ำตาลในเลือด 4. รักษาความดันโลหิต 5. บำรุงร่างกาย 6. รักษาโรคผิวหนัง 7. รักษาโรคมะเร็ง 8. รักษาระบบทางเดินหายใจ กิจกรรมศึกษา รวบรวม และพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อความงามและทำเครื่องสำอาง โดยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของอัญชันที่รวบรวมได้จำนวน 1 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่าอัญชันเป็นพืชที่ออกดอกได้ตลอดทั้งปี เป็นพืชล้มลุกชนิดเถาเลื้อย มีลำต้นสีเขียวเป็นเถาเลื้อย ดอกมี 5 กลีบ ถ้ากลีบมีขนาดเล็กจะเป็นดอกลักษณะดอกเดี่ยว ถ้ากลีบมีขนาดใหญ่จะมีดอกเป็นลักษณะดอกซ้อน กลีบดอกมีหลายสี ได้แก่สีม่วง สีฟ้า และสีน้ำเงิน มีสารประกอบสำคัญที่นำมาเป็นสีผสมในอาหาร ได้แก่ สารแอนโท ไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งสกัดได้จากส่วนดอก และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ทำการเก็บและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรเพื่อความงามและทำเครื่องสำอางจากแหล่งปลูกต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ ในสภาพแปลงรวบรวมพันธุ์ภายในบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จำนวน 20 ชนิด จำแนกเป็น 4 กลุ่มตามสรรพคุณ ได้ดังนี้ 1. บำรุงผิว จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ว่านหางจระเข้ กล้วย ขมิ้นชัน ส้มเขียวหวาน พญายอ และชบา 2. บำรุงผม จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ อัญชัน ขิง มะละกอ มะกรูด มะขามป้อม และชบา 3. บำรุงผิวหน้า จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ มะนาว มะขาม ไพล บัวบก มะเขือเทศ มะม่วง ทับทิม และแตงกวา 4. บำรุงเหงือกและฟัน จำนวน 1 ชนิด คือ ฝรั่ง กิจกรรมศึกษา รวบรวม และพัฒนาพืชสมุนไพรที่เป็นอาหารเสริมสุขภาพและสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ การรวบรวมสายพันธุ์ดอกคำฝอยและศึกษาการเจริญเติบโต ดำเนินการทดลองระหว่างเดือน ตุลาคม - กันยายน 2552 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ระดับความสูง 940 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดำเนินการปลูกดอกคำฝอยพันธุ์พานทอง ผลการทดลองพบว่า ดอกคำฝอยพันธุ์พานทองมีการเจริญเติบโตเฉลี่ย ด้านความสูง 85 เซนติเมตร จำนวนดอก 8 ดอกต่อต้น ดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร พบการเข้าทำลายของเสี้ยนดิน แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากการปลูกดอกคำฝอยเพียงครั้งเดียวและพันธุ์เดียว ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม และ ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกระเจี๊ยบแดงที่รวบรวมได้จำนวน 51 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่ากระเจี๊ยบแดงมีอายุดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่าง 89-129 วันหลังปลูก มีอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรก 119-159 วันหลังปลูก และลักษณะใบมี 2 แบบ คือแบบที่ 1 Deeply lobed และแบบที่ 2 Partially lobed ลักษณะของดอกมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 สีกลีบดอกขอบนอกสีชมพูสีกลีบดอกข้างในตรงกลางแดง และ แบบที่ 2 สีกลีบดอกขอบนอกสีเหลืองสีกลีบดอกข้างในตรงกลางแดง สำหรับกลีบเลี้ยงมี 3 สี ได้แก่ ชมพู แดง และแดงเข้ม และมีความหนาหรือบางแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ส่วนปริมาณสารสำคัญพบว่า มีค่า Total anthocyanin ตั้งแต่ 7.1 ถึง 494.29 มิลลิกรัม/100 กรัม (Fresh weight) ซึ่งปริมาณสารสำคัญที่วัดได้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับสีของกลีบเลี้ยงโดยสีแดงเข้มและกลีบหนาจะมีปริมาณ anthocyanin มากกว่ากลีบเลี้ยงบางและมีสีแดงหรือสีชมพู กิจกรรมศึกษา รวบรวม และพัฒนาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ได้แก่ มะระขี้นก บวบขม ฟักข้าว และผักคราด พืชสมุนไพรพื้นบ้าน คือ มะระขี้นก ด้านการเจริญเติบโต ความยาวของเถาเลื้อยอยู่ระหว่าง 262 - 328 เซนติเมตร ด้านสรรพคุณทางยา ใช้ดอก ผลดิบ และผลสุก ช่วยในการบำรุงรักษาการย่อยอาหาร ลดไข้ ช่วยบำรุงกระดูก และป้องกันตับอักเสบ รวมเป็นผักสด บวบขม ด้านการเจริญเติบโตดูการเลื้อยของเถาอยู่ช่วง 393 - 536 เซนติเมตร ด้านสรรพคุณทางยา ใช้ เถา, ต้น ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลม ผลสด แก้คัน แก้รังแคบนหนังศีรษะ ส่วนเมล็ดแก้โรคหอบหืด ฟักข้าว การเจริญเติบโตของเถาเลื้อยอยู่ระหว่าง 146.66-646.6 เซนติเมตร สรรพคุณทางยา ใบ แก้ไข้ ใช้พอกฝี ถอนพิษแมลงกัดต่อย เมล็ด แก้ไอ รักษาวัณโรค ส่วนผักคราดหัวแหวน ดูอัตราการเจริญเติบโต ความสูงอยู่ระหว่าง 59-31.2 เซนติเมตร การออกดอกทั้งปี สรรพคุณทางยา ใบ แก้ปวดศีรษะ แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ปวดฟัน ผล แก้ร้อนใน ส่วนต้นใช้โรคไขข้ออักเสบ และขับปัสสาวะ พืชสมุนไพรพื้นบ้าน สามารถนำมาปรุงเป็นยาบำบัดรักษาเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี กิจกรรมศึกษา รวบรวม และพัฒนาวัชพืชสมุนไพรและไม้น้ำทำการสำรวจ รวบรวม พืชสมุนไพรและไม้น้ำ 5 สกุล พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับวัชพืชที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อให้ทราบชนิดที่แท้จริง เกิดความถูกต้องในการนำมาใช้ในด้านสมุนไพร สำหรับชนิดที่หายากหรือไม่ค่อยพบ รวบรวมเมล็ดพันธุ์ เพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป พบพืชในสกุลก้นจ้ำ 2 ชนิด 3 พันธุ์ ผักเสี้ยน 4 ชนิด หญ้างวงช้าง 3 ชนิด เอื้องเพชรม้า 4 ชนิด และผักคางไก่ 3 ชนิด และหญ้ากองลอย ซึ่งมีบางชนิดไม่มีการใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรในประเทศไทย แต่มีการใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะบางชนิด ที่มีพบในพื้นที่จำกัดในประเทศไทย กิจกรรมศึกษา รวบรวม และพัฒนาพืชสมุนไพรที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและจุลินทรีย์ จากแหล่งต่างๆ มาปลูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และทำการศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพรต่างๆ ซึ่งรวบรวมได้ทั้งสิ้น จำนวน 30 ชนิด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม รวบรวมพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้จำนวน 29 ชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มตามประสิทธิภาพและการออกฤทธิ์ต่อศัตรูเป้าหมาย กิจกรรมที่ 8 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชสมุนไพรและเครื่องเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าการส่งออก ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอบเชยที่มีคุณภาพ จากการทดลอง พบว่า อบเชยพันธุ์นครราชสีมา (เชียด) จะแตกใบที่มีลักษณะยาวที่สุด คือ ยาวเฉลี่ย 20.90 เซนติเมตร แต่พันธุ์ญวน (เวียดนาม) จะกว้างที่สุดคือเฉลี่ย 6.00 เซนติเมตร และพันธุ์จากอินโดนีเซียจะมีใบสั้นและแคบที่สุด คือ ยาวเฉลี่ย 8.30 เซนติเมตร กว้างเฉลี่ย 2.70 เซนติเมตร
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช
ทรงพล สมศรี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ อนุกรมวิธาน การอนุรักษ์ ทรัพยากรพันธุ์พืชวงศ์ขิงในเขต พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ. สธ. จ. กาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการอนุรักษ์ โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชผัก โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์จุลินทรีย์ และเห็ด แผนงานวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL