สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการใช้อาหารหยาบผสมสำเร็จ (TMF) ต่อการให้ผลผลิตของโคนม
จุฬานีย์ น่วมจิตร์ - องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการใช้อาหารหยาบผสมสำเร็จ (TMF) ต่อการให้ผลผลิตของโคนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุฬานีย์ น่วมจิตร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Julanee Nuamchit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชัยณรงค์ บุหงาวงษ์ ธีรพล สายสุวรรณ กิตตว์ธรรศ์ จิตต์มนัส และศรเทพ ธัมวาสร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chairong Bungawong Theeraphol Saysuwan Kittathan Jitmanus and Sornthep Thumvasorn
คำสำคัญ: การกินได้, ผลผลิตน้ำนม, อาหารหยาบผสมสำเร็จ, องค์ประกอบน้ำนม
คำสำคัญ (EN): Dry matter intake, Milk yield, Total mixed fiber, Milk composition
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการให้อาหารหยาบต่อผลผลิตของโครีดนมที่มีระยะการให้นม 7-60 วัน จำนวน 16 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 4 ตัว ตามแผนการทดลองบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) มี 2 การทดลอง โดยโคแต่ละกลุ่มได้รับอาหารตามสัดส่วนการใช้อาหารหยาบต่ออาหารข้น (R : C ratio) ที่ 45 : 55 คือ กลุ่มควบคุม (Cont.) ได้รับอาหาร TMR (การทดลองที่ 1)/ข้าวโพดหมัก (Corn การทดลองที่ 2) กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารหยาบผสมสำเร็จร่วมกับอาหารข้น (TMF) กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารหยาบผสมสำเร็จ 75% ร่วมกับหญ้าแห้งและอาหารข้น (TMH) และกลุ่มที่ 4 ได้รับหญ้าแห้งร่วมกับอาหารข้น (Hay) จากผลการทดลอง พบว่า การกินได้ในโคกลุ่ม Cont. ทั้ง 2 การทดลองมีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ในการทดลองที่ 1 ผลผลิตน้ำนมกลุ่ม TMF มีค่าสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนองค์ประกอบน้ำนมไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่กลุ่ม Cont. (TMR) มีค่าน้ำตาลแล็คโตส (Lactose) ของแข็งไม่รวมไขมัน (Solid not fat : SNF) ของแข็งรวม (Total solid : TS) สูงที่สุด กลุ่ม TMF มีค่าโปรตีน (Protein) สูงที่สุด กลุ่ม Hay มีค่าไขมัน (Fat) สูงที่สุด ส่วนการทดลองที่ 2 พบว่า ผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบน้ำนมของแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่กลุ่ม Cont. (Corn) มีผลผลิตน้ำนมและน้ำตาลแล็คโตส (Lactose) สูงที่สุด กลุ่ม TMR มีค่าไขมัน (Fat) โปรตีน (Protein) ของแข็งไม่รวมไขมัน (SNF) และของแข็งรวม (TS) สูงที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Effect of use total mixed fiber of milk production in dairy cattle
เลขทะเบียนวิจัยกรม: -
ชื่อแหล่งทุน: งบทำการแผนกวิชาการโคนม
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: งบทำการแผนกวิชาการโคนม
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 50,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: มวกเหล็ก
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 6 เดือน
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
เผยแพร่โดย: ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการใช้อาหารหยาบผสมสำเร็จ (TMF) ต่อการให้ผลผลิตของโคนม
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนม
2562
เอกสารแนบ 1
การใช้ถั่วคาวาลเคดแห้งเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคนม เทคนิคการเลี้ยงโคนมทดแทน คู่มือการประเมินและให้คะแนนรูปร่างโคนม การประเมินประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของโคนมโดยวิธีเรดิโออิมมูนโนแอสเซ 2553A17002120   การออกแบบและประเมินผลเครื่องสับฟางเพื่อใช้เป็นอาหารหยาบ สำหรับโคนม ผลของการเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในอาหารผสมสำเร็จที่ใช้ชานอ้อยหมักยูเรียเป็นอาหารหยาบต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตของโคนม การศึกษาการใช้อาหารหยาบผสมสำเร็จ (TMF) ต่อการให้ผลผลิตของโคนม การใช้เทคโนโลยีในการจัดระดับโภชนะในอาหารโคนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นสำหรับโครีดนม (2) ในสภาพการให้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ ผลของการใช้หญ้าหมักเป็นอาหารหยาบหลักที่มีผลต่อการเจริญโตบโตของโคนมเพศผู้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก