สืบค้นงานวิจัย
รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
ชัยณรงค์ ดอนเกิด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัยณรงค์ ดอนเกิด
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษารูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และสังคมบางประการของเกษตรกร 2) รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร และ 3) ปัญหาการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ทำไร่นาสวนผสมที่ประสบผลสำเร็จ ในจังหวัดหนองคาย จำนวน 767 ราย จำนวนตัวอย่าง 263 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 52.61 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่การเกษตรเป็นที่ราบโดยร้อยละ 46.77 เป็นดินร่วน มีเส้นทางคมนาคมสะดวกตลอดปี เกษตรกรส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ใกล้พื้นที่ทำการเกษตร มีไฟฟ้าใช้ในไร่นา ร้อยละ 60.17อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติทำการเกษตร ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำใช้ตลอดปี เกษตรกรมีประสบการณ์ในด้านการจัดทำไร่นาสวนผสมเฉลี่ย 7.03 ปีและส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำไร่นาสวนผสม เฉลี่ย 6.76 ครั้ง เคยไปทัศนศึกษาดูงานเฉลี่ย 3.13 ครั้ง ร้อยละ 57.79 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำไร่นาสวนผสมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและในการทำไร่นาสวนผสมมีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ เกษตรกรมีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.96 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 25.79 ไร่ เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งทำไร่นาสวนผสมในรูปแบบที่ประกอบด้วยกิจกรรมการปลูกข้าว การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงปลาซึ่งในรูปแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีกำไรสุทธิต่ำสุด 2,877 บาท/ปี สูงสุด 100,000 บาท/ปี รองลงมาทำไร่นาสวนผสมในรูปแบบประกอบด้วยกิจกรรมการปลูกข้าว การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น การเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้มีกำไร่สุทธิต่ำสุด 20,000 บาท/ปี สูงสุด 118,985 บาท/ปี สำหรับพืชหลักที่เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่คือข้าว พืชรองคือ ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชฤดูแล้งที่ปลูกคือถั่วเหลือง และส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์ คือ เป็ด ไก่และปลา เลี้ยงโค กระบือ และเลี้ยงสุกรร้อยละ 28.14 เกษตรกรมีปัญหามากในเรื่องดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เรื่องสารเคมีราคาแพง เรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ และเรื่องปุ๋ยเคมีราคาแพง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2546 รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา สภาพการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรตำบลแสลงพันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการยอมรับการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสานของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง สภาพการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสานของเกษตรกรตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสานของเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู สภาพการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร ตำบลพลกรัง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การผลิตมะเขือเทศในฤดูกาลของเกษตรกร ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก