สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา
กิตติมา รักโสภา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา
ชื่อเรื่อง (EN): Classification of rice genetic diversity by morphological traits
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติมา รักโสภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kittima Ruksopa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าว สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่ เพื่อผสมพันธุ์ให้ได้พันธุ์ข้าวรุ่นลูกที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น และมีลักษณะที่ดีตรงความต้องการ การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวโดยวิธีการจัดกลุ่ม เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการศึกษาหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม เพื่อลดการซ้ำซ้อนของพันธุ์ข้าว และสามารถแยกความหลากหลายของพันธุ์ข้าวให้เป็นกลุ่ม การศึกษาครั้งนี้ใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 211 พันธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน Simple Matching และจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA สำหรับลักษณะทางการเกษตรวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน Square Euclidean และจัดกลุ่มด้วยวิธีของ Ward ผลการวิเคราะห์สามารถจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวทางสัณฐานวิทยาออกเป็น 6 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มที่ 1 มีสมาชิกภายในกลุ่มพันธุ์ข้าวสูงสุดจำนวน 137 พันธุ์ ตามมาด้วย กลุ่มที่ 2, 3, 15, 6 และ 9 มีสมาชิกภายในกลุ่มพันธุ์ข้าวจำนวน 16, 12, 6, 5 และ 3 พันธุ์ ตามลำดับ สำหรับการจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวด้วยลักษณะทางการเกษตรสามารถจัดกลุ่มได้ 9 กลุ่มหลัก โดย กลุ่มที่ 3 มีจำนวนสมาชิกภายในกลุ่มสูงสุดจำนวน 126 พันธุ์ ตามมาด้วย กลุ่มที่ 4, 2, 8, 10, 9, 15, 6 และ 17 มีจำนวน 17, 16, 11, 5, 4, 4, 3 และ 3 พันธุ์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาภายในแต่ละกลุ่มของลักษณะสัณฐานวิทยา พบว่า ส่วนใหญ่สีแผ่นใบจะเป็นสีเขียว สีกาบใบสีเขียว สีลิ้นใบสีขาว รูปร่างของลิ้นใบมีสองยอด สีหูใบสีเขียวอ่อน สีข้อต่อใบสีเขียวอ่อน สียอดดอกสีขาว สีกลีบรองดอกสีขาว ข้าวไม่มีหาง ระแง้ถี่ ขนบนเปลือกเมล็ดสั้น และส่วนมากจะเป็นข้าวเจ้า สำหรับลักษณะทางการเกษตร กลุ่มพันธุ์ข้าวที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ความยาวลำต้น จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนัก 100 เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวเมล็ดข้าวเปลือก และความกว้างเมล็ดข้าวเปลือก ได้แก่ กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ 8, 3, 17, 8, 8 และ 15 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Classification of rice genetic diversity aims to study the genetic relationship and reduce the duplication of collected rice varieties in the National Rice Seed Storage Laboratory for Genetic Resources. Cluster analysis of the morphological and agronomic traits of 211 rice varieties was calculated by Simple Matching and Square Euclidean as well as clustered by UPGMA and Ward method, respectively. Cluster based on morphology having 6 main groups indicated that the highest number of members within the group was Group 1 consisting of 137 rice varieties, followed by Group 2, 3, 15, 6 and 9 consisting of 16, 12, 6, 5 and 3 rice varieties, respectively. Cluster by agronomic traits having 9 main groups showed that the highest number of members was Group3 consisting of 126 varieties, followed by group 4 (17 varieties), 2 (16 varieties), 8 (11 varieties), 10 (5 varieties), 9 (4 varieties), 15 (4 varieties), 6 (3 varieties) and 17 (3 varieties). The morphological characters on each groups were mostly green in blade color, green in basal leaf sheath color, white in ligule color, pale green in auricle color with 2-cleft shape, pale green in collar color, white in apiculus color, white in sterile lemmas color, absent in awning, light in secondary branching, short hairs in lemma palea pubesence and non-waxy in endosperm type. Some agronomic traits, the highest of average value on culm length, culm diameter, number of panicle per hill, 100 grains weight, grain length, and grain width were found in group 8, 3, 17, 8, 8 and 15, respectively.
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/5638/1/2556C-OP5-p.52-61.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมะแว้งต้น ความหลากหลายของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของข้าวพื้นเมือง ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ของไทยจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดข้าว การจำแนกพันธุ์ข้าวก่ำ (Oryza sativa L.) พื้นบ้าน ด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา ลักษณะเนื้อสัมผัส และฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ความหลากหลายทางลักษณะสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การจำแนกพันธุ์ข้าวก่ำ (Oryza sativa L.) พื้นบ้านด้วยลักษณะสัณฐานวิทยาลักษณะเนื้อสัมผัส และฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การจำแนกกล้วยน้ำว้าโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและลายพิมพ์ DNA การประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของหม่อนเพื่อการจำแนกพันธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก