สืบค้นงานวิจัย
การเจริญของเชื้อ Macrophomina phaseolina ในส่วนต่าง ๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อของราก
มัทนา ศรีหัตถกรรม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเจริญของเชื้อ Macrophomina phaseolina ในส่วนต่าง ๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อของราก
ชื่อเรื่อง (EN): Systemic Development of the Pathogen from Root Infection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มัทนา ศรีหัตถกรรม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Matana Srihuttagum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเจริญอย่างต่อเนื่อง (systemic development) ของเชื้อ M. phaseolina จากการติดเชื้อที่รากเข้าไปในลำต้นและเมล็ด ดำเนินการโดยการปลูกต้นกล้าถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 อายุ 5 วัน ในดินที่คลุกด้วย inoculum ของเชื้อ M. phaseolina อัตรา 2% w/w 5 ต้น/กระถาง ดูแล รดน้ำ เพื่อรักษาระดับความชื้นของดินให้อยู่ที่ 60 % WHC เป็นเวลา 52 วัน (หลังฝักแรกดำ 3 วัน) จากนั้นค่อย ๆ ลดระดับความชื้นของดินลงเหลือ 57% WHC ตามลำดับ ตัดต้นไปตรวจสอบ การเจริญอย่างต่อเนื่องของเชื้อในลำต้นเข้าไปในเมล็ดใต้กล้องจุลทรรศน์ ที่ระยะเวลา 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15 และ 17 สัปดาห์หลังปลูก และตรวจสอบการติดเชื้อที่ราก ลำต้น และเมล็ด บนอาหาร potato dextrose agar ที่ระยะเวลาเดียวกัน ทำการบันทึกส่วนของต้นที่พบเส้นใย ลักษณะการเจริญ (Inter หรือ Intracellular mycelium) และความหนาแน่นของเส้นใยในต้นถั่วเขียวผิวดำ และบันทึกความรุนแรงของโรคที่รากโดยใช้ระดับ 0-5 ผลการทดลองพบว่า เชื้อ M. phaseolina เจริญอย่างต่อเนื่องจากแผลที่ราก เข้าไปภายในลำต้น จากโคนต้นขึ้นไปสู่ส่วนยอดและกิ่งก้าน พบเส้นใบของเชื้อนี้หนาแน่นบริเวณท่อน้ำ ท่ออาหาร และแก่นกลางลำต้น บริเวณ cortex พบน้อยมาก เส้นใยมีลักษณะการเจริญแบบ intracellular (เจริญอยู่ภายในเซลล์พืช จากเซลล์หนึ่งเข้าไปในเซลล์ข้างเคียง และในเซลล์ที่สูงขึ้นไป ด้วยอัตรา 4.4 ซม./สัปดาห์ แต่เมื่อตรวจสอบตั้งแต่ถั่วเขียวผิวดำเริ่มติดเมล็ดจนถึงเมล็ดแก่ (11 สัปดาห์หลังปลูก) และจนถึง 17 สัปดาห์หลังปลูกไม่พบการติดเชื้อในเมล็ด ทั้งนี้เพราะว่า ในระยะที่ถั่วเขียวผิดดำมีการเจริญเติบโตดี แข็งแรง ถั่วเขียวผิวดำมีความต้านทานต่อการรุกรานของเส้นใยของเชิ้อ M. phaseolina สูง ทำให้เชื้อเจริญขึ้นไปสู่ส่วนยอดช้าลง ไม่สามารถขึ้นไปถึงฝักได้ก่อนการสุกแก่ของเมล็ด แต่เมื่อใดที่ถั่วเขียวผิวดำอ่อนแอต่อโรค เชื้อสามารถเจริญในต้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ถั่วเขียวผิวดำยืนต้นแห้งตาย ภายใน 1-2 วัน การตายอย่างรวดเร็วของต้นถั่วเขียวผิวดำ ในขณะเดียวกัน ไม่มีผลทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโตและเข้าสู่ระยะฟักตัว สร้างเมล็ด sclerotia ไม่สามารถเข้าทำลายเมล็ดและฝักได้ และสามารถสรุปได้ว่า การติดเชื้อของเมล็ดไม่ได้เกิดจากการเจริญอย่างต่อเนื่องของเชื้อจากรากผ่านลำต้นเข้าไปสู่เมล็ด
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted in the glasshouse in order to investigate systemic development of the pathogen from diseased roots through the stem to infect seeds. Five-day-old blackgram seedlings var. pitsanuloke 2 were inoculated by transplanting them in soil incorporated with 2% inoculum of M. phaseolina (5 seedlings per opot) and wee watered frequently to keep soil moisture a t 60% water holding capacity (5 seedlings per pot) and were watered frequenty to keep soil moisture at 60% water holding capacity (WHC) for 52 days (3 days after the first pod turned black). Soil moisture was then gradually reduced to 57% WHC and finally to 56% WHC as planned. Fourteen replications were made. Six replications were for investigating the systemic development of the pathogen from diseased foots through the stem and seeds by the pathogen on a pototo dextrose agar medium at the same investigating times to ensure that it was M. phaseolina invading or infecting inside plant parts. A location, growth and the incidence of mycelia of the pathogen inside the stem were recorded. The severity of root rot was evaluated by using a 0-5 scale. Results revealed that M. phaseolina from diseased toots invaded the stem tissues systemically and intracellularly at the rate of 4.4 centimeters a day. Its mycelia were located mostly in the xylem, phoem and pith but rarely in cortex. They could invade upward the top end of the plant and some pod stalks since soil moisture was reduced to 57% WHC. However, no sdde was found infected at any investigating times. The reducting of soil moisture to 57% WHC had an overwhelming effect to the diseased plants and made them death of the entire diseased plants within 1-2 days. The abrupt death of the entire diseased plants at the same time terminated growth and activities of the pathogen. Mycelia formed sclerotia and could not infect the pod, therefore, seeds were free from infecting. In contrast, under soil water which was flavoured to growth of the plants, at 60% WHC, the plant grew vigorously and could highly resist to the onset of the pathogen mycelia. So they could not reach the pod and seeds before they were mature and dry out.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเจริญของเชื้อ Macrophomina phaseolina ในส่วนต่าง ๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อของราก
กรมวิชาการเกษตร
2539
เอกสารแนบ 1
อัตราการติดเชื้อและผลของพรอพอลิสต่อการติดเชื้อ Nosema ceranae ของทางเดินอาหารส่วนกลางและต่อมไฮโปฟาริงค์ของผึ้งในประเทศไทย การประยุกต์ใช้อาหารพื้นบ้านปลอดพยาธิในการควบคุมการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดีในชุมชนที่มีอัตราการติดเชื้อพยาธิสูง การศึกษาระบาดวิทยาและอัตราการติดเชื้อโรคสครับไทฟัส ในไรอ่อนและหนูในพื้นที่แหล่งระบาดโรคของประเทศไทย การประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านปลอดพยาธิเพื่อควบคุมอัตราการติดเชื้อพยาธิ Opisthorchis viverrini ในชุมชน ปัจจัยเสี่ยงและอัตราการติดเชื้อวัณโรคแบบแฝงในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ Risk factors and prevalence for latent tuberculosis infection among healthcare workers การศึกษาพาหะนำโรค และอัตราการติดเชื้อก่อโรคลิชมาเนีย ในพาหะนำโรคในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในภาคใต้ ประเทศไทย การศึกษาอัตราการติดเชื้อโรคสัตว์สู่คนที่มีหนูเป็นรังโรคเพื่อการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ชายแดนและช่องทางเข้าออกประเทศ การตรวจการติดเชื้อวัณโรคจากตัวอย่างเลือดในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรคติดเชื้อทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากเชื้อ Human Metapneumovirus (hMPV) โรคติดเชื้อ Streptococcus agalactiae

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก