สืบค้นงานวิจัย
การอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน
ชลวุฒิ ละเอียด - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Soil Fertility Conservation for Sustainable Field Maize Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชลวุฒิ ละเอียด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chollawuth La- ied1
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลการทดลองปลูกพืชระบบข้าวโพด-ข้าวฟ่าง ข้าวโพด-ถั่วเขียว และข้าวโพด -ถั่วแปบ เป็นปัจจัยที่ 1 และระดับการใส่ปุ๋ยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี 10-5-5 กก. N-P2 O5-K2O ไร่ ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยมูลไก่เป็นปัจจัยที่ 2 วางแผนแบบ 3 x 4 Factorial in RCB ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ. ตากฟ้า จ. นครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 6 ไร่ ในดินเหนียวสีดำชุดลพบุรีซ้ำที่เดิม 22 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524- 2545 เพื่อแสดงถึงสถานภาพของความอุดมสมบูรณ์ของดิน พบว่าการปลูกข้าวโพด – ข้าวฟ่าง โดยไม่ใส่ปุ๋ยเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง โดยผลผลิตข้าวโพดในช่วงปี พ.ศ. 2542 – 2545 ให้ผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ย 187 กก./ไร่ ลดลงจากช่วงปี พ.ศ. 2524 -2528 ซึ่งให้ผลผลิตข้าวโพด 425 กก./ ไร่ ถึง 238 กก./ ไร่ หรือ 56 % การใส่ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1 ตัน/ ไร่/ ปี ติดต่อกัน 13 ปี สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพด และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีขึ้น โดยพบว่า ในปี พ.ศ. 2533- 2545 ให้ผลผลิตข้าวโพด 727 กก./ ไร่ ขณะที่ไม่ใส่ปุ๋ยผลผลิตข้าวโพด 391 กก./ ไร่ สูงกว่าถึง 336 กก./ ไร่ หรือ 86 % ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2542- 2545 พบว่าการปลูกข้าวโพด – ถั่วเขียวใส่ปุ๋ยเคมี 10-5-5 กก. N-P2 O5- K2 O ไร่ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด มีค่า MRR 313% เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพด - ข้าวฟ่างไม่ใส่ปุ๋ย แต่ในด้านของการปรับปรุงดินและรักษาสภาพแวดล้อม พบว่า การปลูกข้าวโพด - ถั่วเขียวใส่ปุ๋ยมูลไก่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจคุ้มค่าต่อการลงทุน มีค่า MRR 234% เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพด - ข้าวฟ่างไม่ใส่ปุ๋ยมาเป็นการปลูกข้าวโพด - ถั่วเขียว ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำหรือใส่ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1 ตัน/ ไร่/ ปี
บทคัดย่อ (EN): Experiments on various cropping systems, were conducted at Nakhon Sawan Field Crop Research Centre in 1981 - 2002 to evaluate soil fertility with 3 cropping systems namely maize-sorghum, maize-mungbean and maize-lab lab were the factors. The kind of fertilizers namely non-fertilized, chemical fertilizer with 10-5-5 kg N-P2 O5- K2O / rai and chicken manure plus chemical fertilizer were other factors. The design was 3x4 factorial in RCB, and it was shown that average maize yield (maize-sorghum) was 187 kg/rai from 1999- 2002; decreased 56 % when was compared with that was 425 kg/rai from 1981- 1985. Application of chicken manure at the rate of 1 ton / rai / year for the last 13 years improved soil fertility and increased maize yield. Average maize yield was 727 kg/rai from 1990- 2002 in the plot with chicken manure application was 86 % higher than non fertilizer application that was 391 kg /rai. Growing legume into the cropping systems also improved soil fertility and increased yield of main crops. An appropriate cropping systems namely maize-mungbean with a recommended rate of fertilizer application resulted in a higher marginal rate of return compared to this same system with chicken manure application. However, the latter improved more soil fertility than the previous systems. So farmers should grow maize-mungbean instead of maize-sorghum with either fertilizer application at the recommended rate or chicken manure at rate of 1 ton / rai / year
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน
กรมวิชาการเกษตร
2551
การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทำข้าวโพดหมัก (Corn silage) ความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ต่าง ๆ ต่อการทำลายของด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais Motsch.) ชุดโครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแห้งแล้ง การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความอย่างยั่งยืนของรายได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การปลูกถั่วอาหารสัตว์ 5 ชนิดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตจังหวัดสระแก้ว การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินพื้นที่ทุ่งหมาหิวจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก