สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรในภาคใต้
วินัย แสงสุรีย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรในภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วินัย แสงสุรีย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักอาชีพ ซึ่งเป็นตัวแทนจำนวน 53 ราย จาก 53 ตำบล 28 อำเภอ 14 จังหวัดภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ผู้รับฟิดชอบงานพืชผักของจังหวัดทุกจังหวัด ผลการศึกษาปรากฏว่า แหล่งปลูกผักอาชีพในภาคใต้มีประมาณ 135 แห่งมีเนื้อที่ปลุกประมาณ 12,066ไร่ มีเกษตรกรประกอบการเป็นอาชีพประมาณ 6,168 ราย พืชที่ปลูกได้แก่ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงร้าน บวบเหลี่ยม มะระ ผักกาดชชนิดต่าง ๆ คะน้า พริกหยวก มะเขือยาว มะเขือเปราะ พริกเล็ก ผักบุ้ง ฟักเขียว มันเทศ ฟักทอง เผือก ขิง และข้าวโพดอ่อน เป็นต้น ผู้ประกอบอาชีพการปลูกผักส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่ก็มีจำนวนเล็กน้อยที่ต้องเช่า และทำในที่ดินผู้อื่นโดยไม่ต้องเช่าและส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ในการปลูกผักมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี การใช้แรงงานในการดำเนินการประมาณครึ่งต่อครึ่งที่ใช้แรงงานในครอบครัวและจ้างบุคคลภายนอก แต่การจ้างจะมีการจ้างเป็นครั้งคราวในบางช่วงของการเพาะปลุกส่วใหญ่ไม่มีการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพ เงินทุนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นของตนเองเป็นที่น่าสังเกตว่า เกษตรกรที่มีการปลูกผักเป็นอาชีพในภาคใต้นั้นไม่ได้เป็นคนที่มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่จะเป็นคนภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคอีสานสภาพพื้นที่ในการทำสวนผัก ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอน และเพาะปลูกในลักษณะเป็นชนิดแซมมีอยู่เป็นส่วนน้อยเป็นที่ว่างเปล่า หรือสภาพที่ต่ำในลักษณะเป็นที่นา แหล่งน้ำที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นบ่อน้ำตื้นและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ พื้นที่ที่มีการชลประทานมีน้อยมากสภาพการคมนาคมค่อนข้างดี สภาพการปฏิบัติของเกษตรกรหรือการใช้เทคโนโลยีในการผลิตแต่ละชนิดดังนี้ คะน้า เกษตรกรจะใช้เนื้อที่สำหรับปลูกคะน้าโดยเฉลี่ย 0.88 ไร่/หนึ่ง ฤดูกาล/ราย พันธุ์ที่ใช้ทั้งคะน้าใบและคะน้ายอด ลักษณะการเพาะปลูกมีทั้งเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก และหว่านในแปลงเมล็ดพันธุ์ที่ใช้โดยเฉลี่ย 0.5-1 กก./ไร่ การเตรียมดินปลูกค่อนข้างละเอียด ส่วนใหญ่จะพรวนดินและยกร่องเพียง 2 ขั้นตอน เนื่องจากสภาพพื้นที่ได้เคยใช้มาก่อน การย้ายปลูกใช้ระยะปลูก 8x8 นิ้ว ส่วนการหว่านจะมีการถอนแยกให้เหลือระยะ 5-10x5-10 นิ้ว ส่วนใหญ่จะมีการปลูกในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน มีการหยุดในเดือนธันวาคม หรือช่วงที่มีฝนตกชุกเท่านั้น นอกจากนั้นก็มีการปลูกในช่วงฤดูแล้งเพิ่มเล็กน้อย ลักษณะการให้น้ำส่วนใหญ่จะใช้เครื่องสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วต่อสายยางรด้วยฝักบัวให้วันละ 2 ครั้งทุกวัน รองลงมาหาบมารดโดยใช้บัวรดน้ำให้วันละ 1 ครั้งทุกวัน การใช้ปุ๋ยเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีควบคู่กัน มีเพียงร้อยละ 22.22 ที่ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว สำหรับปุ๋ยสูตรที่ใช้พบว่ามีการใช้หลายสูตร ส่วนใหญ่เป็นสูตร 15-15-15 รองลงมาเป็นสูตร 46-0-0 จำนวนครั้งที่มีการให้ปุ๋ยก็แตกต่างกันออกไปแต่อยู่ในช่วง 1-3 ครั้ง ส่วนใหญ่จะให้ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 15 และ 30 วันตามลำดับอัตราปุ๋ยที่ใช้จะอยุ่ในช่วง 20-25 กก./ไร่ ส่วนปุ๋ยอินทรีย์จะใช้คลุกดินในแปลงก่อนปลูกอัตรา 20-30 ปี๊บ/ไร่ การกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ใช้วิธีการถอนและถาก โรคและแมลงที่พบจะเหมือนกัน ทั้งแปลงเพาะกล้าและแปลงปลูก โรคได้แก่โรคราและโรคโคนเน่า แมลงได้แก่ หมัดกระโดด และหนอนกินใบ ยาเคมีที่เกษตรกรใช้ป้องกันกำจัด พบว่ามีมากมายหลายชนิด อัตราการใช้จะใช้ตามฉลากในเวลาที่มีโรคแมลงระบาด การเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 41-45 วัน ผลผลิตที่ได้โดนเฉลี่ย 1,688.89 กก./ไร่ ความรู้ที่เกษตรกรได้รับส่วนใหญ่ได้จากเจ้าหน้าที่และเอกสารควบคู่ รองลงมาเป็นประสบการณ์ของตนเอง แตงกวาเกษตรมีการใช้เนื้อที่สำหรับปลูกแตงกวาโดยเฉลี่ย 1.9 ไร่/หนึ่งฤดูกาล/ราย พันธุ์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง โดยมีการคัดเลือกพันธุ์มีทั้งพันธุ์เบาและพันธุ์กลางส่วนใหญ่ซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้ามีการมีการเมล็ดพันธุ์เองบ้างแต่เป็นส่วนใหญ่น้อย ลักษณะการเพาะปลูกจะใช้วิธีหารหยอดเมล็ด เมล็ดพันธุ์ที่ใช้โดยเฉลี่ย 1.34 กก./ไร่ การเตรียมดินปลูกมากจะจวกดินหรือพรวนแล้วทำหลุม การปลูกส่วนใหญ่จะทำหลุมแล้วหยอดเมล็ดแต่ก็มีบางที่ไม่ทำหลุมแต่ทำเป็นแนวแล้วหยอดเมล็ดตามแนวระยะปลูกที่ใช้ 50x50 ซม. ใช้ 3-5 เมล็ดต่อหลุม และถอนแยกไว้ 2-3 ต้น/หลุม หารให้น้ำส่วนใหญ่ให้วันละ 1 ครั้ง ทุกวัน โดยวิธีการใช้เครื่องสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว ต่อสายยางแล้วรดด้วยฝักบัว รองลงมาให้แบบวันเว้นวัน โดยวิธีเดียวกัน การให้ปุ๋ยส่วนใหญ่มีการให้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กัน มีเพียงร้อยละ 48.39 ที่ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว การให้ปุ๋ยอินทรีย์จะให้ในช่วงก่อนปลูกโดยคลุกเคล้าดินปลูกในหลุม อัตรา 150-200 กก./ไร่ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีปรากฎว่ามีการใช้สูตรปุ๋ยที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะใช้สูตร 13-13-21 รองลงมาสูตร 15-15-15 จำนวนครั้งที่ใช้แตกต่างกันออกไปอยู่ในช่วง 1-4 ครั้ง อัตราที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้ 50 กก./ไร่/ครั้ง ส่วนช่วงเวลาในการให้แต่ละครั้งจะอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน การกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ใช้ถากและถอน โรคที่พบมีดรคราและโคนเน่า แมลงศัตรูได้แก่แมลงเต่าทอง หนอนกินใบ และไรแดง ยาเคมีที่ใช้พบว่า มีมากชนิดขึ้นอยู่กับการจำหน่ายในท้องตลาด อัตราที่ใช้พบว่าใช้ตามคู่มือหรือสลากยา ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 7 วัน/ครั้ง การเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่จะเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 41-45 วัน และผลผลิตที่ได้รับโดยเฉลี่ย 4,092.29 กก./ไร่ ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับตงกวาส่วนใหญ่ได้จากประสบการณ์ของตนเอง ถั่วฝักยาว เกษตรกรในภาคใต้มีการใช้เนื้อที่สำหรับการปลูกถั่วฝักยาวโดยเฉลี่ย 1.65 ไร่/ราย/ฤดูกาล พันธุ์ที่นิยมปลูกคือพันธุ์เมล็ดขาว-แดง ส่วนใหญ่ซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้า ลักษณะการเพาะปลูก เกษตรกรนิยมการหยอดเมล็ดในหลุมปลูก โดยไม่มีการเพาะหรือหุ้มเมล็ด เมล้ดพันธุ์ที่ใช้โดยเฉลี่ย 1.15 กก./ไร่ การเตรียมดินปลูกค่อนข้างหยาบ จะมีผู้เตรียมดิน 3 ขั้นตอนคือ ไถ พรวน และยกร่อง เพียงร้อยละ 35.9 ส่วนใหญ่ทำ 2 ขั้นตอนคือพรวนและยกร่อง การปลูกส่วนใหญ่จะทำหลุมปลูก มีเพียงแล้กน้อยที่ทำเป็นแนวแล้วหยอดเมล็ดตามแนวระยะปลูกมีความแตกต่างกันมาก และส่วนใหญ่จะใช้ระยะ 0.5x0.5 เมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ 3-5 เมล็ด/หลุม แล้วถอนแยกให้เหลือ 2-3 เมล็ด/หลุม เมื่อถั่วเริ่มทอดยอดจะทำค้างให้ ช่วงที่เกาตรกรมีการเพาะปลูกสามารถแบ่งตามความนิยมได้ 5 ช่วง แต่ส่วนใหญ่จะมีการปลูกตลอดปี การให้น้ำส่วนใหญ่จะให้ทุกวันวันละครั้ง โดยใช้เครื่องสูบน้ำรด และรองลงมาคือหาบรด การให้ปุ๋ยพบว่าเกษตรกรมีการให้ปุ๋ย 2 ชนิด ผู้ที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์จะมีการให้ปุ๋ยเคมีด้วยทั้งสิ้นร้อยละ 56.41 ผู้ให้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวร้อยละ 43.59 สูตรปุ๋ยที่ใช้มีจำนวนมากและอัตราที่เกษตรกรใช้ตลอดจนช่วงเวลาการใช้ก็แตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่จะใช้สูตร 13-13-21 รองลงมาคือสุตร 15-15-15 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะใช้คลุกเคล้ากับดินในหลุมก่อนปลูกอัตรา 70-100 กก./ไร่ การกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ใช้วิธีการถากและถอน โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรครา เกษตรกรมีการใช้ยาเคมีมากมายหลายชนิด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคใต้
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรในภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิตและการตลาดข้าวสังข์หยดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง สภาพการผลิตปลาน้ำจืดในบ่อดินแบบยังชีพของเกษตรกรในภาคใต้ การผลิตและการตลาดไข่ไก่ในประเทศไทย สภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดนครพนม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในกิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาการใช้สารเคมีกับพืชผักของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก