สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางลักษณะสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เพียงใจ เจียรวิชญกุล - มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางลักษณะสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity of Morphology and Physiology in Tradition Rice (Oryza sativa) at Champasak District Lao People’s Democratic Republic
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เพียงใจ เจียรวิชญกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในแขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ทำการสำรวจในเดือนธันวาคม 2557 – มีนาคม 2558 ในช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกในเขต5 อำเภอได้แก่ โพนทอง จำปาสัก สุขุมา ประทุมพรและชนะสมบูรณ์ โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 37 ราย สามารถเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวได้ทั้งหมด 45 ชื่อพันธุ์ โดยจำนวนพันธุ์ข้าวที่ปลูกต่อครอบครัวมีตั้งแต่ 1 – 5 พันธุ์ โดยเกษตรกรร้อยละ 87 จะคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงของตนเองเพื่อใช้ปลูกในฤดูต่อไปทุกปีโดยใช้วิธีคัดเลือกทีละรวง นอกจากนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์กับเพื่อนบ้านทุก ๆ 2 – 4 ปีร้อยละ 54 เมื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองโดยใช้ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shanon – Weaver index พบว่ามีความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดโดยลักษณะที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงคือสีเปลือกเมล็ด (H’ = 1.135) ส่วนลักษณะทางปริมาณของเมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมืองได้แก่ ความกว้าง ความยาวและความหนารวมถึงน้ำหนัก 100 เมล็ดพบว่ามีความแตกต่างกัน เมื่อนำเมล็ดไปปลูกทดสอบในรุ่นลูกพบว่าตัวอย่างเมล็ดข้าวมีความสม่ำเสมอและสามารถจำแนกพันธุ์ได้และพบว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำต้นที่มีความหลากหลายมากที่สุดคือสีข้อต่อใบ (H’ = 1.080) และลักษณะทรงกอ (H’ = 1.015) ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The diversity of local rice varieties in Champasak province Lao PDR was surveyed in December 2012-March 2013. Assessment of rice diversity was undertaken in 5 districts Phonthong, Champasak, Sukuma, Pratoomporn and Chanasomboon. The survey was conducted in 37 household and collected 45 cultivars name during the survey. Number of varieties grown range from 1 to 5 varieties per household. In addition, 87 percent of farmers undertook seed selection every year, they selected seed from panicle to panicle. Althought, farmersexchange seed within village every 2 to 4 years cover 54%. The evaluation of genetic diversity was made by the use of seed morphological trait. The morphological traits were evaluated by Shanon-Weaver index (H’). The highest diversity trait was found in hull color (H’ = 1.135). For quantitative traits, the data showed different in 100 seed weight, un-hull width, un-hull length, un-hull breath, hull width, hull length and hull breadth. Progeny testing revealed that individual plant within each sample to be visually uniform and can be identify. However, the highest diversity of stem morphological was found in collar color (H’ = 1.088) and tiller shape (H’ = 1.015) respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางลักษณะสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
30 กันยายน 2557
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การขยายผลองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของข้าวในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่ชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่ชุมชน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของข้าวในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรและเห็ดในเขตเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ของไทยจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดข้าว การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา โครงการวิจัยความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ของข้าวหอมนครชัยศรี ในจังหวัดนครปฐม การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในนาข้าวแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดลพบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก