สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะแรกฟักออกจากไข่ และระยะปลานิ้ว
กฤษณะ เรืองคล้าย, พันธสิทธิ์ โชคสวัสดิกร, สุภฎา คีรีรัฐนิคม, อานุช คีรีรัฐนิคม, ศราวุธ เจะโส๊ะ - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะแรกฟักออกจากไข่ และระยะปลานิ้ว
ชื่อเรื่อง (EN): The Study on Nursing Feeds for Nieuhofii’s Catfish (Clarias niehofii) During Larval Stage to Fingerling
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองที่ 1 ทดลองใช้ไรแดง ตัวอ่อนอาร์ทีเมีย หนอนแดงสับ เนื้อปลาบดผสมวิตามิน ไข่ตุ๋นผสมปลาป่น และอาหารผสมเปียกอนุบาลลูกปลาดุกลำพัน ระยะเริ่มกินอาหารจนถึงระยะ 10 วัน ผลการทดลองพบว่าลูกปลาที่ได้รับตัวอ่อนอาร์ทีเมียเป็นอาหาร มีความยาวตัวสูงที่สุด แตกต่างจากชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) ส่วนปริมาณแอมโมเนียในน้ำมีค่าสูงที่สุดเมื่อใช้เนื้อปลาบดผสมวิตามินเป็นอาหาร (P<0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาดุกลำพันที่มีอายุ 15-42 วัน โดยทดลองเลี้ยงลูกปลาด้วยอาร์ทีเมีย อาหารผสมชนิดเปียก เนื้อปลาบดผสมวิตามิน ไข่ตุ๋นผสมปลาป่น อาหารผสมชนิดเปียก+อาร์ทีเมีย และไข่ตุ๋นผสมปลาป่น+อาร์ทีเมีย พบว่าการใช้อาหารผสมชนิดเปียก และอาหารผสมชนิดเปียก+อาร์ทีเมีย มีผลให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวของลูกปลามีค่าสูงที่สุด (P<0.05) การใช้เนื้อปลาสดผสมวิตามินเป็นอาหารอนุบาลลูกปลาทำให้แอมโมเนีย และไนไตรทในระบบมีค่าสูง และแตกต่างจากชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของโปรตีนระดับต่างๆ ในอาหารของปลาดุกลำพันระยะปลานิ้ว โดยใช้อาหารทดลอง 8 สูตร ที่มีระดับโปรตีนแตกต่างกัน คือ 28, 30, 32, 34, 36, 38, 40 และ 42% เลี้ยงปลาดุกลำพัน (น้ำหนักเริ่มต้น 4.98?0.04 - 5.04?0.04 กรัม) เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า ปลาดุกลำพันที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีนในอาหาร 38- 42% มีน้ำหนักเฉลี่ย, น้ำหนักที่เพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงที่สุด (p<0.05) โดยมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำที่สุด (p<0.05) นอกจากนี้ปลาที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีน 38- 42% ยังมีค่าการใช้ประโยชน์ของโปรตีนสุทธิ (ANPU) สูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปลาที่ได้รับอาหารทดลองสูตรอื่น ๆ แต่พบว่าประสิทธิภาพการใช้โปรตีน(PER) มีค่าสูงสุดเฉพาะในปลาที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีน 40% ซึ่งแตกต่างอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปลาที่ได้รับอาหารทดลองสูตรอื่น ๆ อย่างไรก็ตามอาหารทดลองทุกสูตร ไม่ส่งผลต่อการรอดตายของปลา และคุณภาพน้ำตลอดระยะเวลาของการทดลอง
บทคัดย่อ (EN): Experiment I : Using Moina sp., Artemia naupii, minced blood worm, minced fish with vitamin, egg custard with fishmeal, and moist feed as test diets for Nieuhofii’s catfish during start of feeding to 10 day period. Results showed that the body length of larvae fed with Artemia naupii was highest when compared to others (P0.05). Ammonia concentration was highest in the group fed minced fish with vitamin. Experiment II : Study in the 15-42 days-old Nieuhofii’s catfish by feeding the fish with Artemia naupii, moist feed, minced fish with vitamin, egg custard with fishmeal, moist feed+Artemia and egg custard with fishmeal+Artemia. The highest average body weight found in the fish fed moist feed and moist feed+Artemia naupii (P<0.05). Using minced fish with vitamin as larval feed leads to increase ammonia and nitrite in the system and significantly different from others (P<0.05). Experiment III : Study on the effects of dietary protein levels in Nieuhofii’s catfish juveniles. Feeding the fish (average weight of 4.98?0.04 - 5.04?0.04 g) with 8 different protein levels e.g. 28, 30, 32, 34, 36, 38, 40 and 42% for 10 weeks. The result showed that the average weight, weight gain and specific growth rate were highest (p<0.05) in the fish fed test diets contained 38- 42% protein. Feed conversion rate was lowest in the group fed diet contained 38- 42% protein. Furthermore, the fish fed diets contained 38- 42 % protein showed the highest in apparent net protein utilization (ANPU) when compared to other treatments (p<0.05). But the protein efficiency ratio (PER) was highest only in the fish fed 40% protein diet and significantly different when compared to other treatments (p<0.05). However, all test diets were not effect to survival and water quality during the feeding trial.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะแรกฟักออกจากไข่ และระยะปลานิ้ว
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2552
ผลของคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการรอดตายของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะปลานิ้ว การเพาะและอนุบาลปลาดุกลำพันในสภาพน้ำพรุ การจัดการพันธุกรรมพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกลำพันในโรงเพาะฟักโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย AFLP การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์และการเพาะเลี้ยง เชิงพาณิชย์ ผลของการเสริมบีตากลูแคนในอาหารต่อภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) การอนุบาลกั้งกระดาน(Thenus orientalis Lund, 1793) วัยอ่อนด้วยอาหารต่างๆกัน การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus) การอนุบาลปลานวลจันทร์น้ำจืดด้วยอาหารต่างชนิดกัน การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร อาหารบำรุงสมอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก