สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกกล้วยน้ำว้าโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและลายพิมพ์ DNA
กัลยาณี สุวิทวัส - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจำแนกกล้วยน้ำว้าโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและลายพิมพ์ DNA
ชื่อเรื่อง (EN): Classification of ‘KluaiNamwa’ bananas by morphological characteristics and DNA fingerprint techniques
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัลยาณี สุวิทวัส
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): KunlayaneeSuvittawat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: กล้วยในกลุ่มกล้วยน้ำว้ามีความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาได้จำแนกกล้วยน้ำว้า 8 พันธุ์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 หรือกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองอุบล (PC50) กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (ML) กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี (TNS) กล้วยน้ำว้าเงิน (NWN) กล้วยน้ำว้าค่อม (NWK) กล้วยน้ำโว้ (NV) กล้วยน้ำว้าทองมาเอง (TME) และกล้วยน้ำว้าดำ (NWD) ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับลักษณะเด่นอื่นๆ และลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิค HAT-RAPD โดยใช้ 97 primer และแสดงผลแบบ dendrogram พบว่าสามารถจำแนกพันธุ์กล้วยน้ำว้าด้วยลักษณะสัณฐานวิทยาได้จาก (1) ลักษณะความสูงต้น ซึ่งจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าต้นสูง ได้แก่ NV, NWN, TME, PC50, NWD, ML, TNS และกลุ่มกล้วยน้ำว้าต้นเตี้ย ได้แก่ NWK และ (2) ลักษณะสีผิวผล-สีไส้กลางผล ซึ่งจำแนกได้ 4 กลุ่ม คือ (1) ผิวผลดิบ สีเขียว ผิวผลสุกสีเหลือง ไส้ผลสีเหลือง ได้แก่ PC50, ML, TNS, NWK (2) ผิวผลดิบสีเขียวนวล ผิวผลสุกสีเหลืองนวล ไส้ผลสีเหลืองอมชมพู ได้แก่ NWN (3) ผิวผลดิบสีเขียวเข้ม ผิวผลสุกสีเหลืองเข้ม ไส้ผลสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองอ่อน ได้แก่ NV, TME (4) ผิวผลดิบสีน้ำตาลดำ ผิวผลสุกสีน้ำตาลอมส้ม ไส้ผลสีเหลืองอ่อน ได้แก่ NWD ผลการจำแนกนี้ ใกล้เคียงกับการจำแนกโดยใช้เทคนิค HAT-RAPD โดยมี 28 primer ที่ให้แถบ DNA ที่แตกต่าง และสามารถแยก กล้วยน้ำว้าออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ในกลุ่มหลักแรกแยกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ที่ค่าความเหมือนประมาณ 95% กลุ่มย่อยแรก ประกอบด้วย NWN, PC50, ML, TNS กลุ่มย่อยที่สอง ประกอบด้วย NV, TME และ กลุ่มย่อยที่สาม ประกอบด้วย NWD ส่วนกลุ่มหลักที่สองมีเพียง NWK เท่านั้น
บทคัดย่อ (EN): Many banana cultivars in ‘KluaiNamwa’ group are slightly morphologically different. To classify eight cultivars found in Thailand, standard morphological identification with some traits and DNA fingerprint with 97 RAPD primers were employed over ‘Pak Chong50 (PC50) or ‘NamwaSaiLuengUbon’, ‘Nam-Wa Mali-Ong’ (ML), ‘Nam-WaTanaow Sri’ (TNS), ‘Nam-WaNgern’ (NWN), ‘Nam-WaKhom’ (NWK), ‘Nam Wo’ (NV), ‘Nam-Wa Tong Ma Eang’ (TME) and ‘Nam-Wa Dum’ (NWD). The bananas were morphologically classified as 1) pseudostem height composing of 1.1) tall: NV, NWN, TME, PC50, NWD, ML, TNS and 1.2) dwarf: NWK; as 2) color of fruit peel and fruit core composing of 2.1) unripe green - ripe yellow with yellow core: PC50, ML, TNS, NWK 2.2) unripe creamy green – ripe creamy yellow with pinky-yellow core: NWN 2.3) unripe dark green - ripe dark yellow with creamy yellow or orange-yellow core: NV, TME 2.4) unripe dark brown–orange brown with creamy yellow core:NWD. The DNA fingerprints by HAT-RAPD with distinguished 28 primers yielded two groups. The first group was divided with 95% similarity into three sub-groups as (1) NWN, PC50, ML, TNS; (2) NV, TME and (3) NWD. Only NWK was in the second group.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=F_036.pdf&id=1564&keeptrack=9
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ ม.เกษตรศาสตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคม 2553 - กุมภาพันธ์ 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกกล้วยน้ำว้าโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและลายพิมพ์ DNA
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2555
เอกสารแนบ 1
การศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของกล้วยน้ำว้า การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมะแว้งต้น การตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอและประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยน้ำว้าในจังหวัดพิษณุโลกด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การประเมินพันธุ์และพัฒนาการขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าเพื่อการค้า การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา การประยุกต์ใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อจำแนกสายพันธุ์กล้วยน้ำว้า การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกชนิดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกล้วยเพื่อการค้า การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยน้ำว้า ในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เครื่องหมายชีวโมเลกุล การประเมินความแปรปรวนลักษณะทางสัณฐานวิทยา และความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวนาที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก