สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกันในบึงบอระเพ็ด
นิพนธ์ จันทร์ประทัด - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกันในบึงบอระเพ็ด
ชื่อเรื่อง (EN): net cage rearing of black ears catfish
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิพนธ์ จันทร์ประทัด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองเลี้ยงปลาเทโพ (Pangasius Iamnaudi Bocourt) ในกระชังที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกันในบึงบอระเพ็ดบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครกวรรค์ ระหว่างเดือนมีนากม 2539 ถึง เดือนมีนาคม 2540 รวมระยะเวลา 12 เดือน โดยใช้ปลาเทโพขนาดน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 158.90±36.08 กรัม และความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 25.66±1.70 เชนติเมตร ปล่อยปลาที่ระดับความหนาแน่น 30, 40 และ 50 ตัวต่อตารางเมตร ในกระชังขนาด 1 8x2.0X1.5 เมตร จำนวน 6 กระชัง แบ่งกระชังออกเป็น 3 ชุด ละ 2 ซ้ำ ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีน 30 % จำนวน 2 % ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน ผลการทดลองพบว่า ปลาเทโพที่เลี้ยงมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 1 ,522.50±325.85,1,616.82±266.69 และ 1,641.55 ±299.01 กรัม ความยาวสุดท้ายเฉสี่ยเท่ากับ 44.55±2.80, 44.59±2.41 และ 45.52±2.76 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่มเท่ากับ 858.17± 37.02, 917.52±82.25 และ 933.09±21.01 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเพิ่มต่อวันเท่ากับ 3.74±0. 16, 3.99±0.36 และ 4.06 ±0.09 กรัมต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเท่ากับ 0.62±0.01, 0.64±0.02 และ 0.64±0.01 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราแลกเนื้อเท่ากับ 2.51±0.16, 2.54±0.20 และ 2.49±0.15 และอัตราการรอดตายเท่ากับ 93.98±0.65, 94.79 ±1.47 และ 94.44±0.79 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตรวมเท่ากับ 309 .03±4.89, 441.67±21.27 และ 558.17±7.99 กิโลกรัม ตามลำดับ น้ำหนักและความยาวชุดท้ายเฉลี่ย และอัตราการรอดตายของปลาเทโพหลังสิ้นสุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จึงสรุปได้ว่า ระดับความหนาแน่นทั้ง 3 ระดับ คือ 30, 40 และ 50 ตัวต่อตารางเมตร นั้นไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาเทโพที่เลี้ยง ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากผลการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิตของปลาเทโพอากการทดลองครั้งนี้เห็นได้ ว่าการเลี้ยงโดยปล่อยปลาที่ระดับความทนาแน่น 50 ตัวต่อตารางมตรเป็นระดับที่เหมาะสมที่สุด โดยให้ผลกำไรสุทธิเท่ากับ 5,476,90 บาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=269
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกันในบึงบอระเพ็ด
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังที่มีระดับความลึกของกระชังและความหนาแน่นแตกต่างกัน การเลี้ยงปลาจาดในกระชังที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 3 ระดับ การเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ช่วงอายุ การเลี้ยงปลาช่อนงูเห่า (Channa marulius Hamilton, 1822) ในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส การเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน ผลของความหนาแน่นที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปลาโมง(Pangasius bocourti Sauvage,1880) ในกระชังในแม่น้ำโขง การเลี้ยงลูกปลาช่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาโมงในกระชังที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน 4 ระดับ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก