สืบค้นงานวิจัย
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการทำประมงกุ้งทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
ทิวารัตน์ สินอนันต์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการทำประมงกุ้งทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
ชื่อเรื่อง (EN): Economic Loss, Cost and Return from Shrimps Fisheries in the Eastern Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิวารัตน์ สินอนันต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thiwarat Sinanun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการทำประมงกุ้งทะเลที่เกิดจากการนำลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจมาใช้ก่อนขนาดแรกสืบพันธุ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเรือประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก (ความยาวเรือต่ำกว่า 14 เมตร) อวนลากคานถ่าง และอวนลอยกุ้งสามชั้น ในบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม ปี 2559 พบเรือมีขนาดความยาว 8-14 11-20 และ 3-10 เมตร ตามลำดับ มีกำลังเครื่องยนต์ 25-160 150-450 และ 5.5-115 แรงม้า ตามลำดับ ออกทำการประมงเฉลี่ย 5.02 2.05 และ 1 วัน/เที่ยว ตามลำดับ มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย เท่ากับ 836.394 267.234 และ 9.719 กิโลกรัม/เที่ยว ตามลำดับ เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจร้อยละ 66.08 95.89 และ 87.66 ตามลำดับ และปลาเป็ดร้อยละ 33.92 4.11 และ 12.34 ตามลำดับ สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กจับได้มากที่สุด คือ กลุ่มปลาหน้าดิน ร้อยละ 46.80 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ส่วนปลาเป็ด ประกอบด้วย ปลาเป็ดแท้และสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก ร้อยละ 80.43 และ 19.57 ตามลำดับ กุ้งทะเลที่จับได้ปริมาณสูงสุด คือ กุ้งทราย พบสัดส่วนการจับกุ้งโอคักชนิด Metapenaeus affinis กุ้งแชบ๊วย และกุ้งโอคักชนิด M. ensis ที่มีขนาดความยาวเล็กกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ร้อยละ 94.33 84.32 และ 25.38 ตามลำดับ สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่อวนลากคานถ่างจับได้มากที่สุด คือ กลุ่มกุ้ง ร้อยละ 85.52 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ส่วนปลาเป็ด ประกอบด้วย ปลาเป็ดแท้และสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก ร้อยละ 90.15 และ 9.85 ตามลำดับ กุ้งที่จับได้ปริมาณสูงสุด คือ กุ้งแชบ๊วย พบสัดส่วนการจับกุ้งแชบ๊วย กุ้งโอคักชนิด M. affinis และ M. ensis ที่มีขนาดความยาวเล็กกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ร้อยละ 90.68 93.34 และ 82.89 ตามลำดับ สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่อวนลอยกุ้งสามชั้นจับได้มากที่สุด คือ กลุ่มกุ้ง ร้อยละ 72.35 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ส่วนปลาเป็ด ประกอบด้วย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กและปลาเป็ดแท้ ร้อยละ 59.66 และ 40.34 ตามลำดับ กุ้งที่จับได้ปริมาณสูงสุด คือ กุ้งแชบ๊วย พบสัดส่วนการจับกุ้งแชบ๊วย กุ้งโอคักชนิด M. affinis และ M. ensis ที่มีขนาดความยาวเล็กกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ร้อยละ 74.18 42.88 และ 31.59 ตามลำดับ การทำประมงกุ้งทะเลด้วยเครื่องมืออวนลากคานถ่างก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงที่สุด เท่ากับ 7,877.10 บาท/เที่ยว รองลงมาคือ อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก และอวนลอยกุ้งสามชั้น เท่ากับ7,078.46 และ 397.54 บาท/เที่ยว ตามลำดับ ต้นทุนเฉลี่ยในการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลากคานถ่างมีค่าสูงที่สุด เท่ากับ 11,152.51 บาท/วัน รองลงมาคือ อวนลากแผ่นตะเฆ่ และอวนลอยกุ้งสามชั้น เท่ากับ 5,304.80 และ 861.63 บาท/วัน ตามลำดับ อวนลากคานถ่างมีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 1,405.69 บาท/วัน รองลงมาคือ อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก และอวนลอยกุ้งสามชั้น เท่ากับ 761.67 และ 320.81 บาท/วัน ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Economic loss, cost and return of shrimp fisheries were studied along the Eastern Gulf of Thailand during January to December 2016 by collecting data from otter board trawl smaller than 14 meters, beam trawl and shrimp gill net with the objective to analyze the exploited undersized of fish which smaller than a size at first maturity. The results found that those fishing boats were 8-14, 11-20 and 3-10 meters in length overall and equipped with 25-160, 150-450 and 5.5-115 horse-power engines respectively. The fishing operation took 5.02, 2.05 and 1 day/trip respectively. The overall catch rates were 836.394, 267.234 and 9.719 kg/trip respectively which composed of 66.08%, 95.89% and 87.66% of economic aquatic animals respectively and 33.92%, 4.11% and 12.34% of trash fish respectively. The majority group of economic aquatic animals which caught by small otter board trawl was 46.80% of demersal fish. Trash fish were composed of 80.43% of true trash fish and 19.57% of small economic aquatic animals. The most of total shrimp catch composition was rough shrimp. Proportions of the catch of shrimp which length lower than a length at 1st maturity were 94.33% of Metapenaeus affinis, 84.32% of Penaeus merguiensis and 25.38% of M. ensis. The majority group of economic aquatic animals which caught by beam trawl was 85.52% of shrimp. Trash fish were composed of 90.15% of true trash fish and 9.85% of small economic aquatic animals. The most of total shrimp catch composition was P. merguiensis. Proportions of the catch of shrimp which length lower than a length at 1st maturity were 90.68% of P. merguiensis, 93.34% of M. affinis and 82.89% of M. ensis. The majority group of economic aquatic animals which caught by shrimp gill net was 72.35% of shrimp. Trash fish were composed of 59.66% of small economic aquatic animals and 40.34% of true trash fish. The most of total shrimp catch composition was P. merguiensis. Proportions of the catch of shrimp which length lower than a length at 1st maturity were 74.18% of P. merguiensis, 42.88% of M. affinis and 31.59% of M. ensis. Shrimp fisheries operated by beam trawl caused the highest economic losses for 7,078.46 baht/trip, followed by otter board trawl smaller than 14 meters and shrimp gill net were 7,877.10 and 397.54 baht/trip respectively. The beam trawl also showed the highest average fishing operation cost for 26,523.98 baht/trip (5,304.80 baht/day) followed by otter board trawl smaller than 14 meters and shrimp gill net were 22,305.01 and 861.63 baht/trip (11,152.51 and 861.63 baht/day) respectively while average returns of fishers from beam trawl showed the highest value for 3,808.33 baht/trip (761.67 baht/day) followed by otter board trawl smaller than 14 meters and shrimp gill net were 2,811.37 and 320.81 baht/trip (1,405.69 and 320.81 baht/day) respectively.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 59 0408 59013
ชื่อแหล่งทุน: ทุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2560 (4033)
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 0
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 387,080
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2559
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการทำประมงกุ้งทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
กรมประมง
2560
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตกุ้งทะเลของเกษตรกรในโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่จังหวัดตราด ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี ปี 2560 การกำหนดพื้นที่ทำการประมงทะเลให้เหมาะสมกับเครื่องมือประมงและฤดูกาลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก สภาวะการทำประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ต้นทุนและผลตอบแทนของการทำประมงคราดหอยลายบริเวณอ่าวไทยตอนบน เครื่องมือประมงขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ต้นทุน ผลตอบแทน และความสูญเสียทางการเงินจากการทำประมงโพงพางบริเวณคลองสรรพสามิต การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก