สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการเก็บรักษาข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำกับวิธีการรมด้วยสารเคมีและวิธีเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
วัชรพล ชยประเสริฐ, กนกวรรณ เที่ยงธรรม, วิฑูรย์ ใจผ่อง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการเก็บรักษาข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำกับวิธีการรมด้วยสารเคมีและวิธีเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison of the efficiency, and investment and operating cost of rice storage by hermetic low-pressure, fumigation, and temperature and humidity control techniques
บทคัดย่อ: ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำ การรมด้วยฟอสฟีน และการเก็บในสภาวะการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ วางแผนการทดลองแบบ split-split plot design จำนวน 4 ซ้ำ main plot คือ สภาพการเก็บรักษา 5 ประเภท ได้แก่ 1) กระสอบป่านที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 45 เปอร์เซ็นต์ (15?C -45%RH) 2) สภาวะปิดความดันต่ำที่อุณหภูมิห้อง 3) กระสอบป่านที่อุณหภูมิห้องและรมด้วยฟอสฟีน 4) ภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง และ 5) กระสอบป่านที่อุณหภูมิห้อง sub plot คือ เมล็ดพันธุ์ข้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ ปทุมธานี 1 ปิ่นเกษตรและชลสิทธิ์ sub-sub plot คือ ระยะเวลาการเก็บรักษา 0 2 4 6 8 10 และ 12 เดือน ผลการทดลองพบว่า การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวในกระสอบป่านที่ 15?C-45%RH มีความงอก ความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุ และความงอกในไร่เท่ากับ 94.92, 94.33 และ 94.57 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าการเก็บรักษาในสภาวะปิดความดันต่ำ กระสอบป่านที่อุณหภูมิห้องและรมด้วยฟอสฟีน ภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง และกระสอบป่านที่อุณหภูมิห้อง เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บรักษาในกระสอบป่านที่อุณหภูมิห้อง มีจำนวนแมลงสูงที่สุด เมื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว 3 พันธุ์ เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า พันธุ์ปทุมธานี 1 มีความงอก ความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุ และความงอกในไร่ เท่ากับ 85.55, 85.32 และ 88.07 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์ปิ่นเกษตร และชลสิทธิ์ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำ การรมด้วยฟอสฟีน และการเก็บในสภาวะการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ วางแผนการทดลองแบบ split-split plot design จำนวน 4 ซ้ำ main plot คือ สภาพการเก็บรักษา 5 ประเภท ได้แก่ 1) กระสอบป่านที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 45 เปอร์เซ็นต์ (15?C -45%RH) 2) สภาวะปิดความดันต่ำที่อุณหภูมิห้อง 3) กระสอบป่านที่อุณหภูมิห้องและรมด้วยฟอสฟีน 4) ภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง และ 5) กระสอบป่านที่อุณหภูมิห้อง sub plot คือ เมล็ดพันธุ์ข้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ ปทุมธานี 1 ปิ่นเกษตรและชลสิทธิ์ sub-sub plot คือ ระยะเวลาการเก็บรักษา 0 2 4 6 8 10 และ 12 เดือน ผลการทดลองพบว่า การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวในกระสอบป่านที่ 15?C-45%RH มีความงอก ความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุ และความงอกในไร่เท่ากับ 94.92, 94.33 และ 94.57 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าการเก็บรักษาในสภาวะปิดความดันต่ำ กระสอบป่านที่อุณหภูมิห้องและรมด้วยฟอสฟีน ภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง และกระสอบป่านที่อุณหภูมิห้อง เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บรักษาในกระสอบป่านที่อุณหภูมิห้อง มีจำนวนแมลงสูงที่สุด เมื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว 3 พันธุ์ เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า พันธุ์ปทุมธานี 1 มีความงอก ความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุ และความงอกในไร่ เท่ากับ 85.55, 85.32 และ 88.07 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์ปิ่นเกษตร และชลสิทธิ์
บทคัดย่อ (EN): Rice seed storage under hermetic low-pressure, fumigation, and temperature and humidity control techniques on seed quality of rice and number of insect were studied. Split-split plot designs were arranged with 4 replications. Five storage conditions consisted of 1) jute bag at 15?C-45%RH 2) hermetic low-pressure at room temperature 3) jute bag at room temperature with phosphine fumigation 4) closed container at room temperature and 5) jute bag at room temperature as main plot. Three rice seed varieties were Pathum Thani 1, Pinkaset and Cholasith as sub plot and storage periods of 12 months as sub-sub plot. The results revealed that rice seed storage in jute bag at 15?C-45%RH had higher in germination, vigor as determined by AA and field emergence of 94.92, 94.33 and 94.57% than those of hermetic low-pressure at room temperature, jute bag at room temperature with phosphine fumigation, closed container at room temperature and jute bag at room temperature. Rice seed stored in jute bag at room temperature had the highest in number of insect. As 12 months after storage, Pathum Thani 1 showed higher in germination, vigor as determined by AA and field emergence of 85.55, 85.32 and 88.07%, respectively than Pinkaset and Cholasith.Rice seed storage under hermetic low-pressure, fumigation, and temperature and humidity control techniques on seed quality of rice and number of insect were studied. Split-split plot designs were arranged with 4 replications. Five storage conditions consisted of 1) jute bag at 15?C-45%RH 2) hermetic low-pressure at room temperature 3) jute bag at room temperature with phosphine fumigation 4) closed container at room temperature and 5) jute bag at room temperature as main plot. Three rice seed varieties were Pathum Thani 1, Pinkaset and Cholasith as sub plot and storage periods of 12 months as sub-sub plot. The results revealed that rice seed storage in jute bag at 15?C-45%RH had higher in germination, vigor as determined by AA and field emergence of 94.92, 94.33 and 94.57% than those of hermetic low-pressure at room temperature, jute bag at room temperature with phosphine fumigation, closed container at room temperature and jute bag at room temperature. Rice seed stored in jute bag at room temperature had the highest in number of insect. As 12 months after storage, Pathum Thani 1 showed higher in germination, vigor as determined by AA and field emergence of 85.55, 85.32 and 88.07%, respectively than Pinkaset and Cholasith.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการเก็บรักษาข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำกับวิธีการรมด้วยสารเคมีและวิธีเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของการใช้อุณหภูมิสูงในการอบลดความชื้นต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว การพัฒนาระบบเก็บรักษาและกำจัดแมลงปนเปื้อนในข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำ การประเมินศักยภาพการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวไทยโดยวิธีการเร่งอายุ การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อประเมินอายุการเก็บรักษาในเขตร้อนชื้น ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน Super Bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลกระทบของโรคเมล็ดด่างต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพและความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก