สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำจันทบุรี
มัลลิกา วรรณประภา, แสงเดือน นาคสุวรรณ, สุชาติ ผึ่งฉิมพลี, จงกล บุญงาม, วรมิตร ศิลปชัย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำจันทบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Structure and Distribution of Fish Community in the Chanthaburi River
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำจันทบุรีดำเนินการสุ่มตัวอย่างด้วยเครื่องมืออวนทับตลิ่งและชุดเครื่องมือข่าย 6 ขนาดช่องตา คือ 20, 30, 40, 55, 70 และ 90 มิลลิเมตร จาก 6 จุดสำรวจ และ 4 เที่ยวสำรวจ ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึงเดือนสิงหาคม 2556 ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์และนำเสนอความหลากหลาย ความชุกชุม ลักษณะโครงสร้าง และการแพร่กระจายของประชาคมปลา รวมทั้งการเปรียบเทียบการจัดกลุ่มของโครงสร้างประชาคมปลาของตัวอย่างสุ่ม ผลการศึกษาพบแม่น้ำจันทบุรีมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลารวม 116 ชนิด 49 วงศ์ จำแนกเป็นพันธุ์ปลาน้ำจืด 59 ชนิด 19 วงศ์ และพันธุืปลาน้ำกร่อย 57 ชนิด 34 วงศ์ โดยพบพันธุ์ปลาในวงศ์ปลาตะเพียนมีจำนวนชนิดมากที่สุดรวม 22 ชนิด มีปริมาณความชุกชุมในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยมีค่าผลผลิตปลาต่อพื้นที่เฉลี่ย 5.37+-3.02 กิโลกรัมต่อไร่ และผลจับต่อการลงแรงของชุดเครื่องมือข่ายเฉลี่ย 201+-124 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน โครงสร้างกลุ่มปลาโดยน้ำหนักและจำนวนประกอบด้วยพันธุ์ปลาในกลุ่มปลาอื่น ๆ มากที่สุดร้อยละ 66.14 และ 69.26 และโครงสร้างประชาคมปลาโดยรวมที่ร้อยละสะสมร้อยละ 80 ประกอบด้วยพันธุ์ปลา จำนวน 22 ชนิด และ 17 ชนิด ตามลำดับ การศึกษาลักษณะประชาคมปลาโดยดัชนีบ่งชี้สภาพนิเวศน์พบมีค่าในระดับปานกลางโดยมีดัชนีความมากชนิดเฉลี่ย 2.76+-0.20 ค่าดัชนีความเท่าเทียมเฉลี่ย 0.63+-0.09 และค่าดัชนีความหลากหลายเฉลี่ย 2.75+-0.40 ภาพเส้นโค้งการจัดลำดับความชุกชุมของประชาคมปลาบ่งชี้ว่าที่จุดสำรวจที่ 3, 4 และ 6 ของบางเที่ยวสำรวจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพันธุ์ปลาชนิดเด่นแตกต่างไปจากจุสำรวจอื่น ๆ ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของประชาคมปลาโดบรวมพบมีค่าเฉลี่ยในระดับค่อนข้างต่ำเฉลี่ยร้อยละ 26.76 การวิเคราะห์กลุ่มและมาตรพหุมิติประชาคมปลาแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามปัจจัยความแตกต่างของพื้นที่ศึกษาในแหล่งน้ำ โดยกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงเฉลี่ยร้อยละ 50.35 และ 37.91 ตามลำดับ และพบพันธุ์ปลาแป้นเหลืองทอง ปลาแป้นแก้ว ปลาเสือสุมาตรา และปลาซิวหางกรรไกร เป็นพันธุ์ปลาหลักที่บ่งชี้ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
บทคัดย่อ (EN): A Study on structure and distribution of fish community in the Chanthaburi river was investigates by seine net and a set of gillnet sampling (20, 30, 40, 55, 70 and 90 mm). Field survey was conducted during December 2012 to August 2013 from 6 stations 4 sampling periods. All data were analysed to identify fish diversity, abundance, fish community structure and distribution and also comparison of community structure by multivariate analysis. The study indicated there were 116 fish species from 49 families found which Cyprinids was the most dominant group as 22 species. The freshwater fish diversity was retained as 59 species from 19 families and the brackish water fish diversity was 57 species from 34 families. The abundance was estimated at medium to low level, which composted of abundance by area catch as 5.37+-3.02 kg/rai and catch per unit of effort of gillnets as 201+-124 g/100 m^2/night. The majority of fish group structure in term of weight basis and number basis was consisted of fishes in miscellaneous group as 66.14% and 69.26%. Whereas the community structure at 80% accumulative comprised of 22 and 17 species, respectively. The characteristic of fish community structure by ecological indice showed a moderate value by richness, eveness and diversity indices as 2.76+-0.20, 0.63+-0.09 and 2.75+0.40, respectively. The pattern of rank species abundance curve of community structure showed the different pattern of the dominance species group at station 3, 4 and 6 in some sampling period. An average of Bay-Curtis siimilarity index of all fish community data was 26.76%. The clustering of fish community structure divided into 2 groups by the influented of sampling stations. Group 1 and 2 were similar together at the average Bray-Curtis similarity index as 50.35% and 37.91%, respectively. Nuchequula gerreoides, Parambassis siamensis, Systomus partipentazona and Rasbora trilineata were the dominance fish species indicated their difference between two groups.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำจันทบุรี
กรมประมง
31 มีนาคม 2557
กรมประมง
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำชี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ในแม่น้ำน่าน โครงสร้าง และการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำตาปี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ในเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้าเขื่อนสิริกิติ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก