สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิต และองค์ประกอบของน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียน
ปราโมทย์ แพงคำ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิต และองค์ประกอบของน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียน
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Dried Brewers Grains Levels in Diets on Milk Yields and Miilk Compositions in Holstein Friesian Dairy Cows
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปราโมทย์ แพงคำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pramote Paengkoum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับกากเบียร์แห้ง (dried brewers grains, DBG) ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตของโคนม โดยใช้โคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนในระยะรีดนม จำนวน 24 ตัวอายุประมาณ 4-5 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 472±11 กก. ใช้แผนการทดลองแบบ Randomised complete block design (RCBD) โดยใช้ช่วงการรีดนมเป็นบล็อคมี 2 บล็อค ได้แก่ ช่วงแรก และช่วงกลางของการรีดนมประกอบด้วยอาหารทดลอง 4 กลุ่ม คือ ใช้กากเบียร์แห้ง 0% (0% DBG) กากเบียร์แห้ง 10% (10% DBG) กากเบียร์แห้ง 20% (20% DBG) และกากเบียร์แห้ง 30% (30% DBG) คิดเป็นวัตถุแห้งในอาหารข้น ผลการทดลองพบว่าปริมาณการกินได้ คิดเป็นกรัม/น้ำหนักตัว0.75 กลุ่ม 109% DBG และ 20% DBG สูงกว่า (p<0.05) กลุ่ม 30% DBG และมีความสัมพันธ์กับระดับกากเบียร์แห้งแบบเส้นโค้ง (p<0.02) การย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุ ลดลงตามระดับกากเบียร์แห้งที่เพิ่มขึ้น (quadratic<0.01, cubic p<0.03) กลุ่มที่ใช้กากเบียร์แห้ง 20 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตน้ำนมสูงกว่า กลุ่มที่ใช้กากเบียร์แห้ง 10% (18.7 และ 18.4 กิโลกรัม ตามลำดับ ที่ p<0.05) และทั้งสองกลุ่มสูงกว่า กลุ่มที่ใช้กากเบียร์แห้ง 0% และ 30% (15.95 และ 15.90 กิโลกรัม ตามลำดับที่ p<0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์ของโปรตีน และไขมันในน้ำนมกลุ่ม 20% DBG และ 30% DBG สูงกว่ากลุ่มอื่น (p<0.05) ดังนั้นการใช้กากเบียร์แห้งในสูตรอาหารโคนมในระดับ 20% ในสูตรอาหารให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มอื่น และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มกากเบียร์แห้งสูงถึง 30% ในสูตรอาหาร
บทคัดย่อ (EN): To evaluate the effects of dried brewers grains (DBG) levels on performances of lactating dairy cows, an experiment was conducted using 24 Holstein Friesian lactating dairy cows, averaging 472±11 kg liveweight, 4-5 years old. The cows were assigned at random into Randomized Complete Block Design (RCBD). The blocks were allotted according to stage of lactating i.e. early and mid lactation. The 4 dietary treatments were 0%DBG, 10%DBG, 20%DBG and 30%DBG, which were the percentage of DBG on dry matter basis contained in the concentrates, respectively. The intake data (g/kg Wu75) for cows fed 10%DBG and 20%DBG were numerically different (p<0.05) from cows fed 30%DBG, dry matter and organic matter digestibility were tended to decrease in proportion of an increasing dried brewers grains (quadratic p<0.01, cubic p<0.03). Yields of milk for cows fed 20%DBG was numerically different from cows fed 10%DBG (18.7 kg and 18.4 kg respectively, p<0.05) and cows in both fed were numerically different from cows fed 10%DBG and 30%DBG (15.95 kg and 15.90 kg respectively, p<0.05). Percentage of milk fat and milk protein were tended to increase in proportion of an increasing dried brewers grains. Cows fed 20%DBG gave higher income over feed cows. This experiment indicates that diet containing 20%DBG can be fed to lactating dairy cows to increase financial return.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247175/169089
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิต และองค์ประกอบของน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2542
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
พันธุกรรมกับอาหารโคนม อิทธิพลของวิธีการสกัดไขมันกระบกในอาหารต่อปริมาณน้ำนม องค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันในน้ำนมของโคนม ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับถั่วท่าพระสไตโลหมักที่ระดับอาหารข้นต่างกันต่อคุณภาพและผลผลิตน้ำนมในโคนม ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์ อิทธิพลของแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนต่อองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม กรดลิโนเลอิก ชนิด คอนจูเกตในน้ำนม และจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในโคนม ระบบการผลิตโคนมอินทรีย์ต่อคุณค่าทางโภชนะของน้ำนมในฟาร์มขนาดเล็ก ศักยภาพการให้ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสหสัมพันธ์ของ องค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์ ผลการเสริมหัวมันสำปะหลังสดในอาหารโคนมระยะยาวต่อระดับไธโอไซยาเนตในพลาสมาและน้ำนม และผลกระทบต่อกสนเปลี่ยนแปลงค่าเคมีบางประการในเลือด ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง การศึกษาการพยากรณ์ผลผลิตลำไยโดยแบบจำลองผลผลิตในจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก