สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
สมหญิง ชูประยูร, สฤษดิพร ชูประยูร, อนุชิต หาญนุรักษ์, กรทิพย์ วัชรปัญญาวงศ์ เตชะเมธีกุล, ชนกสุดา มุกดา, สาวิตรี เที่ยงจันทึก, ปรานทิพย์ ชัยศรีภิรมย์ - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ชื่อเรื่อง (EN): The Development of Thai Silk Logistics and the Practical Applications of Thai Silk logistics Model Leading to Asean Economic Community (AEC)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ต้นแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการวางแผนการผลิต การจัดการวัตถุดิบสินค้าคงคลัง การส่งมอบขนส่งร่วมกันตลอดโซ่อุปทานทั้งระดับภายในและภายนอกของกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตไหมไทยต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประเมินความพร้อมระบบโลจิสติกส์ไหมไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์และแผนปฏิบัติการประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบโลจิสติกส์ไหมไทยภายใต้การเปิดประชาคมอาเซียน ได้ดำเนินการในกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตไหมไทย จำนวน 8 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายรูปแบบโซ่อุปทานผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวเส้นไหม ทอผ้าไหม แปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม การตลาด และกิจกรรมบริการอื่นๆ ด้านหม่อนไหม ในพื้นที่ 5 จังหวัดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และภาคเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน โดยดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างครบถ้วนด้านการผลิต การจัดการวัตถุดิบสินค้าคงคลัง สถานที่ การขนส่ง ข้อมูลข่าวสาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2559 ผลปรากฏว่าได้กลุ่มการผลิตไหมไทย 2 ลักษณะ คือ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อขายเส้นไหม ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ไหม จำนวน 6 กลุ่ม ส่วนอีก 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อขายรังไหม ทำการวิเคราะห์ Key Performance Indicator Supply Chain (KPI Supply Chain) ของแต่ละกระบวนการปฏิบัติภายในกลุ่มผู้ผลิตเพื่อประเมินให้ระดับคะแนน พร้อมทั้งวิเคราะห์แผนภูมิแบบเรดาร์ (Radar Chart) พบว่ากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อขายเส้นไหม ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ไหม มีประสิทธิภาพที่ต่างกัน คือ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดงบัง มีความพร้อมในการทำธุรกิจ โดยให้พัฒนาการบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศรีสำราญ กลุ่มปลูกหม่อน-เลี้ยงไหมบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน ต้องปรับปรุงการวางแผน การผลิตเพื่อการรองรับการสั่งซื้อ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนห้วยบง เป็นกลุ่มที่มีความพร้อมในด้านทรัพยากรดี แต่การบริหารจัดการเพื่อการทำธุรกิจยังมีประสิทธิภาพต่ำ จึงส่งผลต่อผลตอบแทนที่ต่ำ หากได้มีการนำการบริหารจัดการเชิงธุรกิจทั้งระบบมาใช้ในกลุ่มแล้วก็จะทำให้เกิดรายได้ดีขึ้น ส่วนกลุ่มสหกรณ์ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมหัวสะพานและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกู่กาสิงห์ ทำได้ดีระดับหนึ่ง หากเพิ่มเติมในส่วนนวัตกรรม ปรับปรุงการวางแผน การผลิต เพื่อการส่งมอบให้ดีขึ้นก็จะสร้างโอกาสการแข่งขันได้ ส่วนกลุ่มผู้ผลิตไหมเพื่อการขายรังไหมอีก 2 กลุ่ม ต้องเพิ่มเติมองค์ความรู้การผลิตรังไหมมาตรฐานคุณภาพ เพื่อการเชื่อมโยงตลาดการซื้อขายรังไหมที่ใช้มาตรฐานคุณภาพรังไหมเป็นปัจจัยกำหนดราคา ดังนั้นการนำข้อมูลของผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวไปวางแผนในขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนตลอดห่วงโซ่อุปทานก็จะทำให้ระบบโลจิสติกส์เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมในการแข่งขันทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
บทคัดย่อ (EN): To study a development of Thai silk logistic and the application of the logistic model in all supply chain toward ASEAN community. The purpose of this study is planning production process, managing raw material inventory, delivering transportation throughout the supply chain both internal and external levels of the Thai silk manufacturers (water upstream through downstream) and evaluating of Thai silk logistic for developing logistics capabilities and application plans. The Thai silk logistic toward ASEAN community of 8 Thai silk manufacturer networks was investigated. The area covered 5 provinces, 4 provinces in the Northeastern (Chaiyaphum, Nakhon Ratchasima, Buriram, Roi-Et) and 1 province in the North (Nan). The data of raw material management, inventory, location, transportation, information were collected during October 2014 and September 2016. The purpose of sericulture farmers on silk production can be divided into 2 types. First, sericulture farmers rear silkworm for selling silk yarn, silk cloth, and silk product. Another group rears silkworm for cocoon selling. Key performance indicators (KPI Supply Chain) analysis of each process within the producer group to evaluate the score and analysis of the radar chart were conducted. Dong Bung manufactures network was ready to do the business. However, they requested to develop raw materials management to improve the efficiency of the production. Sri Samran and Kumma-au manufacture networks need to improve production plan in order to support the demand. Huai Bong manufactures network had good resources but low in business management, resulting in low income. To apply business management system could benefit to increase their income. Silkworm cooperatives in Kuja Sing manufacture network had good performance. Using innovation, improving manufacturing plan for the better delivery process could create competitive opportunities. Other two groups of silk producers for cocoons selling needed more knowledge on quality cocoon production in order to link to market that uses cocoon quality standards as a pricing factor. Consequently, using the data from this study to apply throughout the supply chain could make the Thai silk logistic more systematically which will have the opportunity to compete within and foreign markets.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2559
กรมหม่อนไหม
ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์มันสำปะหลัง การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของส้มโอ จังหวัดสมุทรสงคราม ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้ การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าน้ำนมโค การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้สัก การวิเคราะห์โซ่คุณค่ากุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการด้านโลจิสติกส์ผลิตผลโครงการหลวง ประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ในประเทศไทย การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโซ่อุปทานผลหม่อนในจังหวัดน่าน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก