สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
สถิตย์ อนันตภูมิ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สถิตย์ อนันตภูมิ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ และสภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรในเขตอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร ประชากรในการวิจัยคือเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในเขตอำเภอไทยเจริญ จำนวน 72 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.62 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.26 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.55 คน หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. มีรายได้รวมในครัวเรือนเฉลี่ย 34,206.94 บาทต่อปี รายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 23,569.44 บาทต่อปี และรายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 10,637.50 บาทต่อปี มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 25.28 ไร่ต่อครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 7.25 ไร่ ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้วัสดุปรับปรุงดินก่อนปลูก ใช้รถไถเดินตามในการเตรียมดิน ปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และจะเก็บท่อนพันธุ์ไว้ใช้เอง ร้อยละ 47.22 ใช้ความยาวของท่อนพันธุ์ที่ปลูกมีขนาด 7 นิ้ว และมีอายุ 12 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 38.89 ใช้ระยะปลูก 60 x 100 เซนติเมตร ร้อยละ 65.28 ปลูกมันสำปะหลังในเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม และจะปักท่อนพันธุ์เอียง แรงงานที่ใช้ปลูกเฉลี่ย 4.12 คน ร้อยละ 55.56 ใช้แรงงานในครัวเรือนและแรงงานจ้าง ร้อยละ 63.89 ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกมันสำปะหลัง ปุ๋ยเคมีที่ใช้คือสูตร 15-15-15 ร้อยละ 65.38 ใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง ในปีที่ผ่านมาใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 166.34 กิโลกรัม ส่วนใหญ่มีการกำจัดวัชพืช ทั้งหมดกำจัดวัชพืชโดยวิธีกล ร้อยละ 51.79 จะใช้แรงงานในครัวเรือนและแรงงานจ้าง ร้อยละ 5.56 พบการระบาดของโรคในแปลงปลูก ทั้งหมดไม่พบการระบาดของแมลงในแปลงปลูก ร้อยละ 52.78 เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเมื่ออายุ 12-13 เดือน โดยทั้งหมดใช้แรงงานคนขุด ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือนและแรงงานจ้าง ผลผลิตมันสำปะหลังในปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 2,337.50 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตในรูปหัวมันสด โดยทะยอยเก็บเกี่ยวบางส่วนจำหน่าย และขายผลผลิตให้พ่อค้าในท้องถิ่น ร้อยละ 68.06 จ้างรถรับจ้างในการขนส่งผลผลิตไปจำหน่ายเฉลี่ย 121.02 บาทต่อตัน ระยะทางจากแหล่งปลูกถึงสถานที่จำหน่ายเฉลี่ย 24.42 กิโลเมตร ปัญหาในการผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญที่สุดคือ ราคาปัจจัยการผลิตสูง รองลงมาได้แก่ปัญหาราคาผลผลิตต่ำ ปัญหาขาดแรงงาน และปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ จากการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ ควรมีการประกันราคามันสำปะหลัง ส่งเสริมความเข้าใจในการผลิตมันสำปะหลัง และมีส่วนในการซื้อขายผลผลิตร่วมกันระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้รับซื้อ ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตมันสำปะหลังเพื่อลดต้นทุนการผลิต ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตมันสำปะหลัง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
อาหารจากมันสำปะหลัง สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ความรู้และบทบาทในการผลิตมันสำปะหลังของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดชลบุรี แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก