สืบค้นงานวิจัย
ระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสมในแหล่งที่มีการระบาดของข้าววัชพืชในจังหวัดอุตรดิตถ์
วลัยพร แสนวงษ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสมในแหล่งที่มีการระบาดของข้าววัชพืชในจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable rice crop planting system in weedy rice infested area in Uttaradit province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วลัยพร แสนวงษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Walaiporn Sanwong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ได้ทำการศึกษาหาระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสมในแหล่งผลิตที่มีการทำนาอย่างต่อเนื่องปีละ 3 ครั้ง และมีการระบาดของข้าววัชพืชอย่างรุนแรงในเขต อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ.2553 เพื่อให้ได้การปลูกระบบที่เหมาะสมที่ใช้ต้นทุนการผลิตโดยรวมลดลง ได้ผลกำไรสูงสุด และสามารถแก้ปัญหาการระบาดของข้าววัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตข้าวและปริมาณข้าววัชพืชจากเกษตรกรที่เป็นตัวแทนที่ใช้วิธีการปลูกที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูจนทำให้เกิดระบบการปลูกในรอบปี การผลิตในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบการปลูกแบบหว่าน-หว่าน-หว่าน, หว่าน-หว่าน-ดำเครื่อง, ดำมืิอ-หว่าน-หว่าน, ดำเครื่อง-ดำมือ-หว่าน, ดำมือ-หว่าน-ดำมือ, ดำมือ-ดำมือ-หว่าน, ดำเครื่อง-ดำเครื่อง-หว่าน, ดำเครื่อง-ดำเครื่อง-ดำเครื่อง และดำมือ-ดำมือ-ดำมือ โดยใช้ข้อมูลต้นทุนการผลิตของแต่ละวิธีการปลูกที่ได้ทำการศึกษาในปี พ.ศ.2552 มาคำนวณ รายได้และผลกำไรที่ได้จากการใช้ระบบการปลูกแบบต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ระบบการปลูกแบบดำมือ-ดำมือ-หว่าน เป็นระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพราะเป็นระบบที่ให้ผลผลิตข้าวโดยรวมสูงสุด (2,438 กิโลกรัม/ไร่/ปี) แต่ใช้ต้นทุนการผลิต โดยรวมลดลง (11,053 บาท/ไร่/ปี) ให้ผลกำไรสูงสุด (13,717 บาท/ไร่/ปี) และให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสูงสุด (4,466 บาท/ไร่/ปี) นอกจากนั้นยังมีประสิทธิภาพทำให้ปริมาณข้าววัชพืชโดยรวมทั้ง 3 ฤดู เหลืออยู่น้อยที่สุด (19 ต้น/ม2) ส่วนระบบการปลูกแบบหว่าน-หว่าน-หว่าน แม้จะเป็นระบบการปลูกที่ให้ต้นทุน การผลิตโดยรวมต่ำสุด (9,111 บาท/ไร่/ปี) แต่เป็นระบบที่ให้ผลผลิตข้าวโดยรวมต่ำสุด (1,603 กิโลกรัม/ไร่/ปี) และไม่มีประสิทธิภาพในการทำให้ปริมาณข้าววัชพืชโดยรวมลดลงได้ โดยพบปริมาณข้าววัชพืชโดยรวมสูงสุดถึง (926 ต้น/ม2) ส่วนระบบดำเครื่อง-ดำเครื่อง-หว่านเป็นอีกระบบหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อการปฏิบัติในกรณีที่เกิดการขาดแคลนแรงงานสำหรับการปักดำด้วยมือ
บทคัดย่อ (EN): Study on rice crop planting system in an outbreak of weedy rice infested area was conducted in the 2010s in Amphor Pichai, Uttaradit Province, where rice cultivations were done 3 times a year. The research aimed to approach a suitable rice crop planting system that gave productive results in reducing cost of total production, obtaining the total highest profit and the remarkable in controlling weedy rice infestation effectively. Primary data of rice yield and weedy rice population in farmers’ fields representing each type of planting system were collected. The common rice crop planting systems could be classified into 9 patterns; PGSB-PGSB-PGSB, PGSB-PGSB-MT, HT-PGSB-PGSB, MT-HT-PGSB, HT-PGSB-HT, HT-HTPGSB, MT-MT-PGSB, MT-MT-MT and HT-HT-HT. Cost of production of each planting method in the 2010s, total income, total benefit and economic return on the increased investment were used for economic consideration for assessing the suitable planting system in weedy rice infested area by descriptive statistics. The results indicated that HT-HT-PGSB rice crop planting system gave the highest yield (2,438 kg./rai/year), whereas the total cost was minimized (11,053 Baht/rai/year), the highest total benefit obtained (13,717 Baht/rai/year) and the highest economic return (4,466 Baht/rai/year). Apart from that, it could control weedy rice population effectively. Only 19 stems of weedy rice/m2 left in the field for all 3 crops. The PGSB-PGSB-PGSB rice crop planting system not only used the lowest cost (9,111 Baht/rai/year), but it also gave the lowest total yield (1,603 kg./rai/year) and no effective in controlling weedy rice population that showed the 926 stems of weedy rice / m2 left in the field for all 3 crops. MT-MT-PGSB was another planting system that should be considered in case of labor shortage for hand transplanting.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329477
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสมในแหล่งที่มีการระบาดของข้าววัชพืชในจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการข้าว
2554
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร รูปแบบวิธีการปลูกข้าวที่เหมาะสมในแหล่งที่มีการระบาดของข้าววัชพืชในจังหวัดอุตรดิตถ์ การควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชด้วยเทคนิคสารต้านพิษในนาข้าว การควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชด้วยเทคนิคสารต้านพิษในนาข้าว โครงการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อลดความเสียหายจากการระบาดของข้าววัชพืช แนวทางส่งเสริมการปลูกข้าวตามความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดพัทลุง คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 การควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชด้วยเทคนิคสารต้านพิษในนาข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก