สืบค้นงานวิจัย
ผลของไคโตซานและไทอะมีโทแซมต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
ระวีวรรณ สุวรรณศร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่อง: ผลของไคโตซานและไทอะมีโทแซมต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Chitosan and Thiamethoxan on Thein Corn Seed Storability
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ระวีวรรณ สุวรรณศร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้ไคโตซานเพื่อช่วยในการงอกและการยืดอายุการเก็บรักษาพบในพืชหลายชนิด การทดลองนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเวลาการแช่เมล็ด และความเข็มข้นของไคโตซานต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ด พันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเมล็ดพันธุ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2556 ถึงเดือนมิถุนายน 2558 วางแผนการทดลอง แบบ split plot in randomized complete block design ทำ 4 ซ้ำ ประกอบด้วย main plot คือ ระยะเวลาการแช่เมล็ด 6 ชั่วโมง และ 12 ชั่วโมง sub plot คือ อัตราไคโตซานที่ใช้แช่เมล็ด 09 0.25% 0.50% และ 0.75% นำเมล็ดมาลดความชื้นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส จนความชื้นของเมล็ดเหลือ ประมาณ 8-10 % หลังจากนั้นนำเมล็ดมาเก็บรักษาไว้ในถุงพลาสติกปิดสนิท เก็บในกล่องพลาสติกที่ อุณหภูมิห้อง ทำการสุ่มตัวอย่างทุกๆ 2 เดือนเพื่อทดสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์จนถึง 10 เดือน ผลการ ทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาวต้นอ่อน ความยาวรากอ่อน น้ำหนักแห้งของต้นอ่อน และ เปอร์เซ็นต์ความชื้นของเมล็ด มีความแตกต่างกันเมื่อแช่เมล็ดในเวลาที่ต่างกันและใช้อัตราไคโตซานที่ต่างกัน เมื่อแช่เมล็ดด้วยไคโตซานอัตรา 0.50, 0.25 ,0.50 and 0.25% มีผลให้เปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาวต้น อ่อน ความยาวรากอ่อน และน้ำหนักแห้งของต้นอ่อนได้ผลดีตามลำดับ ระยะเวลาการแช่เมล็ดและทุกอัตรา ไคโตซานที่ใช้แช่มีปฏิสัมพันธ์กัน เมล็ดที่แช่ไคโตซานอัตราต่างๆ นาน 6 ชั่วโมงสามารถยืดอายุการเก็บรักษา ได้นานถึง 10 เดือน
บทคัดย่อ (EN): Chitosan has been used for stimulating germination and extending storability in many plant species.The purpose of this study was to investigate the effect of various chitosan rates and soaked period on storability of Thein comn cv. Ban Koh. The experiment was conducted at Department of Plant Science, Faculty of Agriculture and Agro-industry, Rajamangala University of Technology Suvarnnabhumi, during August 2013 to June 2015. The experimental design was set up with split plot in RCB with 6 and 12 h of soaked period (main plots) and 0, 0.25%, 0.50% and 0.75% of chitosan (sub plot). Soaked seed were dried at 37*c until seed moisture content reached 8-10%. After that they were contained in sealed plastic bag and then placed in plastic container at room temperature until 10 months. Soaked seed were sampled every two month for seed quality assessment. The results found that Thein corn seeds soaked with chitosan for 6 h had positive effect on germination percentage, shoot length and dry weight.There were significant differences among various chitosan concentration. Germination percentage, shoot length, root length and dry weight were positively affected at the concentration of 0.5, 0.25 ,0.5 and 0.25% respectively. Interaction effect between soaked period and chitosan concentration was found in all characteristics. Thein corn seeds soaked with chitosan for 6 h extended seed storability to 10 month.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของไคโตซานและไทอะมีโทแซมต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
30 กันยายน 2558
ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ ต้นทุนการทําธุรกิจข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ ผลของไคโตซานต่อคุณภาพหลังเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาของ หน่อไม้ฝรั่ง ผลของสภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมแตกต่างกันของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ ผลของการประยุกต์ใช้น้ำแข็งดัดแปลงต่ออายุการเก็บรักษาปลาน้ำจืด สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดเทียน 10 พันธุ์ ผลของไคโตซานความเข้มข้นต่ำต่อคุณภาพการเก็บรักษาชมพู่ พันธุ์ทองสามสี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องเพาะงอกผสมและทดสอบอายุการเก็บรักษา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก