สืบค้นงานวิจัย
การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
วนิศรา ม่วงศรี, ศิริวรรณ แดงภักดี, นายจำรัส บุญเพ็ง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Application of Isotope Technique in Fertilizer Use Efficiency Study for Paddy Rice Plantation in the Central of Thailand.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ได้ดำเนินการในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เริ่มต้น เดือนเมษายน พ.ศ 2557 สิ้นสุด เดือนกันยายน พ.ศ 2558 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 5 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ รวม 20 แปลง ขนาดแปลงย่อย 5 * 10 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 1.50 เมตร วิธีการคือ กรรมวิธีที่ 1 แปลงควบคุม กรรมวิธีที่ 2 วิธีปฏิบัติของเกษตรกร กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน กรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างในปีที่ 1 อยู่ระหว่าง 3.5-4.1 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปีที่ 2 อยู่ระหว่าง 3.5-4.1 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุในปีที่ 1 อยู่ระหว่าง 3.58-3.76 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ปีที่ 2 อยู่ระหว่าง 3.12-4.01 มีแนวโนเมลดลงทุกตำรับการทดลอง ปริมาณฟอสฟอรัส ในปีที่ 1 อยู่ระหว่าง 9.50-13.75 ลดลงทุกตำรับการทดลอง ปีที่ 2 อยู่ระหว่าง 9.00-14.75 ลดลงทุกตำรับการทดลอง ปริมาณโพแทสเซียมในปีที่ 1 อยู่ระหว่าง 302.50-360.75 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปีที่ 2 อยู่ระหว่าง 315.00-360.75 มีแนวโน้มลดลง ด้านองค์ประกอบผลผลิต กรรมวิธีที่ 3 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้การแตกกอเฉลี่ยสูงสุด 2.47 ต้นต่อกอ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และให้จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยสูงสุด 2.25 รวงต่อกอ โดยมีความแตกต่างกันทางสถิติในปีที่ 1 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติในปีที่ 2 กรรมวิธีที่ 2 วิธีเกษตรกร ให้ร้อยละของจำนวนเมล็ดดีต่อรวงสูงสุด 84.16 มีความแตกต่างกันทางสถิติในปีที่ 1 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติในปีที่ 2 กรรมวิธีที่ 4 การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้น้ำหนักฟางแห้งเฉลี่ยสูงสุด 1731 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และในด้านผลผลิต ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง 766.56 กิโลกรัมต่อไร่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ในด้านผลตอบแทนทางสถิติ ทั้งสองปี กรรมวิธีที่ 4 การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดสุทธิสูงสุดคือ 5,526.32 บาทต่อไร่ ส่วนปีที่ 2 คือ 2,930.48 บาทต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): Application of Isotope Technique in Fertilizer Use Efficiency Study for Paddy Rice Plantation in the Central of Thailand. The study was conducted in April 2014 to September 2015 in Pathumthani Province. The experimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 Replications, 5 threatments (1) Control(not applying fertilizer) (2) Put the fertilizer by Farmer Practices (3) Put hight quality compost (4) Put fertilizer by soil analyzation and (5) Put the fertilizer by Onfarm Thai LDD Program. The experiment found that, the part of soil analysis, in the first year, pH are 3.5-4.1, OM are 3.58-3.76, Available Phosphorus are 9.50-13.75, Extractable Potassium are 302.50-360.75. In the second Year, pH are 3.5-4.1, OM are 3.12-4.01, Available Phosphorus are 9.00-14.75, Extractable Potassium are 315.60-360.75. In the part of yield and rice quality, Treatment (3) gave the highest tillering is 2.47 and gave the highest number of panicles per clump 2.25. Treatment (2) gave the highest good seed per panicles 84.16. Treatment (4) gave the highest straw weight 1731 kg/rai. , highest yield 766.56 kg/rai. and the highest rice gave good result for cost and return on investment 2930.48 baht/rai.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-05-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ ปุ๋ยเพื่อ การปลูกพืชในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูกข้าวโพดหวานของประเทศไทย ประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวนาปรังที่ปลูกในนาดินเหนียวภาคกลาง เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจพื้นที่ปลูกข้าว และการพยากรณ์ผลผลิตข้าวประเทศไทย การปรับปรุงการผลิตข้าวหอมด้วยระบบเกษตรอินทรีย์สำหรับพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โครงการการใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจพื้นที่ปลูกข้าว และการประกันภัยพืชผลในประเทศไทย การใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวอย่างยั่งยืน การใช้เทคนิคการวิเคราะห์หลายตัวแปรสำหรับการประเมินค่าทางเคมีกายภาพ ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก