สืบค้นงานวิจัย
วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่
จักรี เส้นทอง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่
ชื่อเรื่อง (EN): Planting Date Study in Upland Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรี เส้นทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chuckree Senthong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: ข้าวไร่
บทคัดย่อ: การศึกษาวันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่พันธุ์ขาวหนองหอย ได้ทำการทดลองที่สถานีทดลองดอยหนองหอย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเวลา 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2523 ถึง ปี พ.ศ. 2525 ผลการทดลองพบว่า ถ้าปลูกข้าวไร่ในวันที่ 20 , 30 พฤษภาคม และวันที่ 10 มิถุนายน จะได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 4.0 ตัน/เฮกตาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกในวันที่ 10 พฤษภาคม ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 3.4 ต้น/เฮกตาร์ หรือเพิ่มผลผลิตได้ 17.6% และถ้าเปรียบเทียบกับการปลูกในวันที่ 20 และวันที่ 30 มิถุนาย ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 1.4 ตัน/เฮกตาร์ จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 57.5% นอกจากนี้ยังพบว่าการปลูกในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมและตอนต้นเดือนมิถุนายน จะทำให้ข้าวไร่ไม่มีปัญหาอันเนื่องมาจากโรคใบจุดสีน้ำตาล (Helminthosporium oryzae).
บทคัดย่อ (EN): An experiment to establish the most suitable planting date for puland rice was undertaken in each of three years at the Nong Hoi Highland Research Station, Chiang Mai during 1980 - 82. In 1980 four sowings were compared over the period May 20 to August 20; in 1981 six sowings were made between March 20 and june 20 and in 1982 eight sowings were compared between April 20 and June 30. Highest yields (up to 4 tons per hectare) were obtained from sowings in the period May 20 to June 10. sowings in late June (June 20 to 30) yielded between 25 and 45 per cent of the maximum yields achieved with earlier sowings. Generally the later the sowing date after June 10 the greater the yield reduction. Reduced night temperatures during the later stages of grwoth of the later sowings was considered to be a major factor contributing to the reduced yields. An added advantage of the sowings in the last week of May and first week of June was the reduced incidence of the disease brown spot (Helminthosporium oryzae).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่
กรมวิชาการเกษตร
2527
เอกสารแนบ 1
การปรับปรุงคุณสมบัติของดินและการเพิ่มผลผลิตของอ้อยปลูกร่วมระบบหลังการปลูกข้าวไร่ การตอบสนองของข้าวไร่และข้าวสาลีต่ออัตราของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี นวัตกรรมสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว: สบู่ก้อนจากข้าวไร่ การปรับตัวต่อสภาพแอโรบิกของพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาสวน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองเพื่อปลูกแซมยางพาราและปาล์มน้ำมันในภาคใต้ โครงการย่อยที่ 4 การทดสอบพันธุ์ข้าวร่วมกับระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในข้าวไร่และระบบนาน้ำน้อยในข้าวนาบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการน้ำและธาตุอาหารข้าวหลังการปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน ซิวเกลี้ยง ข้าวไร่เฉพาะถิ่นจังหวัดเลย โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวไร่ การสำรวจและจำแนกพื้นที่ปลูกข้าวไร่และข้าวนาที่สูง เพื่อบ่งชี้สภาวะวิกฤติจากสภาพดินกรด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก