สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ของความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน Insulin-like growth factor II (IGF-II) ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและขนาดร่างกายในประชากรสุกรเชิงการค้าแห่งหนึ่ง
แพรว เที่ยงพิมล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน Insulin-like growth factor II (IGF-II) ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและขนาดร่างกายในประชากรสุกรเชิงการค้าแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Association of the Insulin-like Growth Factor II Gene (IGF-II) with Growth and Body Conformation Traits in a Commercial Swine Population
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แพรว เที่ยงพิมล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Praew Thengpimol
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้อมูลการเจริญเติบโต ความยาวลำตัว (BL ความกว้างไหล่ (SW ความกว้างสะโพก (HW) ความลึกไขมันสันหลัง (BF ความลึกเนื้อสัน (LD) และเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง (PL) ของสุกรเพศเมียและเพศผู้ตอนพันธุ์เพียเทรน (P; 19 ตัว) ยอร์คเชีย (V; 16 ตัว) ลูกผสมระหว่างเพียเทรนและยอร์คเชีย (YP; 17 ตัว ลูกผสมระหว่างแลนด์เรซและเพียเทรน LP: 18ตัว) และลูกผสมระหว่างยอร์คเชียและแลนด์เรซ-เพียเทรน (YLP; 23 ตัว ถูกพิจารณาร่วมกับลักษณะของจีโนไทป์ของยีน IGF-II (Insulin-like growth factor-II) ที่เป็นผลมาจากการตัดดีเอ็นเอ ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ Bcnl (GG, GC และ CC) เพื่อศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของสุกรในระดับยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาขนาดร่างกายสุกรทั้งหมดเป็นสุกรปลอดยีนเครียด และได้รับการเลี้ยงดูภายใต้การจัดการสภาพแวดล้อมโรงเรือนระบบเปิด ในช่วงอายุ 84 ถึง 178 วัน หุ่นจำลองทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยอิทธิพลร่วมระหว่างเพศและกลุ่มพันธุ์ อายุ และลักษณะจีโนไทป์เป็นปัจจัยกำหนด และมี residual เป็นปัจจัยสุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะจีโนไทป์ของสุกรมีอิทธิพลต่อ BL (P < 0.01) BF (P < 0.05) และ PL (P < 0.05) สุกรที่มีจีโนไทป์ GG มีคำเฉลี่ยแบบลีสท์สแควร์ LSM) สำหรับ BL (76.20 + 1.37 ซม) และ BF (12.25 + 0.75 มม; P < 0.05) สูงที่สุด ส่วนสุกรที่มีจีโนไทป์ GC นั้นมี LSM สำหรับ PL สูงที่สุด (60.13 + 0.21%; P <0.05) ความผันแปรของยีน IGF-IIตรงบริเวณ intron ที่ 7 เกิดจากการแทนที่เบส G ด้วยเบส C ที่ตำแหน่ง 162 ส่งผลให้สุกรมี BL และ BF ลดลง แต่มี PL เพิ่มขึ้น อิทธิพลแบบบวกสะสมของอัลลีล C ส่งผลให้ BL และ FAT2 ลดลง (P < 0.05) และอิทธิพลของการข่มกันของอัลลีลส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ PL (P < 0.05) ในประชากรที่ศึกษาดังนั้น ความผันแปรของยีน IGF.II ที่บริเวณดังกล่าว อาจนำมาใช้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างสุกรสำหรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาขนาดร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกพันธุ์สุกร
บทคัดย่อ (EN): Data on growth, body length (BL), shoulder width (SW), hip width (HW), backfat depth (BF), loin dept(LD), and percent lean (PL) of gilts and castrated males from Pietrain (P; 19 pigs), Yorkshire (Y; 16 pigs), crossbred between Y and P (YP; 17 pigs), crossbred between Landrace (L) and P (LP; 18 pigs), and crossbred between Y and LP(YLP; 23 pigs) were considered with genotype (GG, GC, and CC) of IGF-II (Insulin-like growth factor-II), which was from DNA restricted by a specific restriction endonuclease enzyme BcnI, in order to study the difference at gene level related to growth and body conformation. All pigs were negative halothane gene and they were raised under an open-house system from 84 to 178 days of age. The statistical model composed of interaction between sex and breed group, age, and genotype as fixed effects, and had residual as the random effect. The results revealed that IGF-II genotype had influenced on BL (P < 0.01), BF (P < 0.05), and PL (P < 0.05). Pigs with GG genotype had highest least square means (LSM) for BL (76.20 + 1.37 cm; P < 0.05) and BF (12.25 + 0.75 mm; P < 0.05). Pigs with GC genotype had highest LSM for PL (60.13 + 0.21%; P < 0.05). Substitution G with C at position of 162 in intron 7 of the IGF-II resulted in reducing BL and BF, but increasing PL. Additive effect of allele C decreased BL and FAT2(P < 0.05). Dominance effect was found in increasing PL (P < 0.05) of the studied population. Thus, variation of IGF-II gene at the position would be used to classify the difference in growth and body conformation among pigs in order to genetic selection.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250438/171268
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ของความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน Insulin-like growth factor II (IGF-II) ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและขนาดร่างกายในประชากรสุกรเชิงการค้าแห่งหนึ่ง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2552
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความสัมพันธ์ของรูปแบบยีน IGF-II กับลักษณะการเจริญเติบโตในสุกรพันธุ์กระโดน อิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพันธุ์กระโดน ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเจริญเติบโต ปริมาณ Growth Hormone และ Lipoprotein ในกระแสเลือดของสุกรที่ถูกคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุกรรมภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลและระดับเฮทเทอโรซิสสำหรับการเจริญเติบโตและขนาดร่างกายของสุกรที่ถูกเลี้ยงดูในประเทศไทย อิทธิพลทางพันธุกรรมของขนาดร่างกายต่อความหนาไขมันสันหลังและการเจริญเติบโตของสุกรสาวเชิงการค้าที่เลี้ยงภายใต้สภาพเขตร้อนชื้น ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ยีน Insulin – like growth factor I, II เพื่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารในไก่พื้นเมืองไทย ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะการเจริญเติบโตของลูกสุกรก่อนหย่านม ผลการใช้บัวบกเสริมในอาหารสุกรระยะเจริญเติบโตที่มีต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันโรค และองค์กระกอบของเลือด การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก