สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา
อนุรัตน์ ศรีสุระ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุรัตน์ ศรีสุระ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้าน มันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตมันสำปะหลังและการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการผลิตมันสำปะหลัง เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยวิธี สำมะโนประชากร จำนวน 180 ราย นำมาตรวจสอบและจัดประเภทของข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F-Test ผลการศึกษามีดังนี้ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45 ปี ส่วนมาก จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้น และมีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน แรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3 คน เกษตรกรทุกรายประกอบอาชีพหลักทำไร่ทำนา มีพื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 31.23 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 78,770 บาทต่อปี ส่วนใหญ่กู้เงินมาลงทุนทำการเกษตร และมีหนี้สินเฉลี่ย 42,061.67 บาท ได้รับข่าวสารความรู้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 91.67 มีความถี่ในการติดต่อของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 1 เดือนต่อครั้ง เกษตรกรมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทุกราย มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 26.46 ไร่ มีประสบการณ์การปลูกเฉลี่ย 19.81 ปี มีการปลูกมันสำปะหลังมากในช่วงต้นฝนในเดือนมีนาคม ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 10-12 เดือน มีการเตรียมดินเฉลี่ย 2 ครั้ง ใช้วิธีปลูกแบบปักตรง ใช้ท่อนพันธุ์อัตราเฉลี่ย 667.22 ลำต่อไร่ มีการปรับปรุงดินก่อนและหลังจากปลูก ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 100-120 เซนติเมตร ระหว่างต้น 80-100 เซนติเมตร กำจัดวัชพืช ในช่วงอายุ 1 เดือน 2 เดือน และ 4 เดือน ด้วยแรงงานคนและสารเคมี ใช้ปุ๋ยเคมีจำนวน 2 ครั้ง ในอัตราเฉลี่ย 28.47 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 การเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนเมื่อมันสำปะหลังอายุ 11-12 เดือน ผลผลิตที่ได้รับเฉลี่ย 3,406.67 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์แป้งเฉลี่ย 25.96 เปอร์เซ็นต์ โดยมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,860 บาทต่อไร่ มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตและระดับปัญหาในการผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระดับของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังกับ ผลผลิต พบว่า ระดับการใช้เทคโนโลยีการใช้พันธุ์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยเคมี การกำจัดวัชพืช และการจัดการดิน ในระดับที่แตกต่างกัน จะได้รับผลผลิตแตกต่างกันด้วย โดยการใช้ระดับเทคโนโลยีที่มากสามารถทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้ระดับเทคโนโลยีที่น้อย สำหรับข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมันสำปะหลังควรสนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตและการตลาดให้กับกลุ่มและสมาชิกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ควรจัดหาแหล่งรวบรวมผลผลิตมันสำปะหลังแก่เกษตรกร ตลอดจนการประสานงานและอำนวยการให้เกิดตลาดข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในการผลิต และควรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิต และส่งเสริมให้กลุ่มได้มีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดีเพื่อให้กลุ่มเกิดความเข้มแข็งสำหรับสนับสนุนให้สมาชิกมีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นให้กลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น โดยให้กลุ่มมีการดำเนินงานในลักษณะกองทุนหมุนเวียน ในการวิจัยครั้งต่อไปควร ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ศึกษาวิธีการจัดการดินและพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพื่อการพัฒนาการผลิตที่ยั่งยืน ศึกษาการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาการผลิตพืชที่ปลอดภัยและยั่งยืนและการศึกษาเปรียบเทียบการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีในการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อสนองนโยบายเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
อาหารจากมันสำปะหลัง การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก