สืบค้นงานวิจัย
การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา
พิลาณี ไวถนอมสัตย์ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Monitoring, Evaluating and Utilizingof Pararubber Research
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิลาณี ไวถนอมสัตย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: จากการติดตาม ประเมินผลโครงการวิจัย และการสนับสนุนงานวิจัยยางพารา ปี 2561 จำนวน 3 แผนงาน 19 โครงการ โดยวิเคราะห์ผลจากการความเห็นและคะแนนประเมินของผู้ทรงคุณวุติที่ มีต่อผลการ ดำเนินงานของทุกโครงการ ตลอดจนการเดินทางไปติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่สำหรับโครงการที่คัดเลือก รวม ทั้งสิ้น 4 โครงการ จำนวน 5 ครั้ง พบว่า ทุกแผนงาน/โครงการดำเนินงานครบถ้วนตามกิจกรรมที่ปรากฏข้อ สัญญา แต่โครงการไม่สามารถดำเนินงนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพิจารณาจากการขอขยายระยะเวลาของ โครงกร อย่างไรก็ตาม ทุกโครงการมีศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ เชิงพณิชย์ เชิงนโยบาย และ เชิงสาธารณะ นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการต่อยอดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยการจัดประชุม และ สัมมนางานวิจัยด้านยางพารา 2 ครั้ง เพื่อสร้างเครือข่ายวิจัยและบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐกับภาคอุตสาหกรรม และสร้างความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมยางพาราไทย รวมถึงการรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลผลงานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยมุ่งเป้าด้านยางพาราระหว่างปี 2555 -2560 จำนวนทั้งสิ้น 213 โครงกร และเดินทางไปยังสถานที่วิจัยเพื่อสัมภาษณ์ผู้วิจัย เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการ ดำเนินการเพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง สามารถคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่น (Product champion ที่สามารถผลักดันการนำไปใช้ประโยชน์ ได้ 9 เรื่อง ได้แก่ (1) ข้อมูลคาร์บอนฟุตปริ้นต์และวอเตอร์ ฟุตปริ๊นต์ของสวนยางพารา, (2) ชุดอุปกรณ์และเครื่องมือการแพทย์จากยางธรรมชาติ, (3) เฝือกสำหรับขาจาก ยางธรรมชาติ, (4) นวัตกรรมยางพาราด้านวัสดุก่อสร้าง, (5) จึโอโพลิเมอร์คอนกรีตก่อตัวเร็วผสมน้ำยางพารา สำหรับงานผิวทางคอนกรีต, (6) วัสดุเทอร์โมพลาสติกจากยางธรรมชาติสำหรับทาเครื่องหมายบนผิวทาง, (7) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง (8) หุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษา โรคมะเร็งด้วยเทคนิคกรรักษาสามมิติ และ (9) คู่มือของผู้ทำสวนยางพาราและผู้ประกอบธุรกิจไม้ยางพาราให้ ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ยังสามารถสรุปเป็นต้นแบบที่เหมาะสมสำหรับโครงการวิจัยมุ่งเป้า เพื่อให้สามารถผลักดัน ผลงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ตั้งแต่เริ่มโครงการควรมีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) นักวิจัยหลักที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญในโครงการที่จะดำเนินการ (2) ที่ปรึกษาโครงการขี่งสามารถให้คำแนะนำแก่นักวิจัยหลัก (เช่น ชนิด ของวัตถุดิบที่เหมาะสม แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพสม่ำสมอ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา เป็นต้น) และ (3) ผู้ที่จะนำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อช่วยกำหนดทิศทางหรือยืนยันศักยภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา
บทคัดย่อ (EN): The performance of 22 pararubber research projects of fiscal year 2018 (3 research programs and 19 individual research projects) were monitored in this study. Result interpreted from research committee board’s comments and evaluation scores based on research progress, research outcomes integrating with on-site progress research evaluation accounted for 4 research projects (5 times) suggested that every project was able to accomplish research objectives at the end of study. However, most of researchers failed to finish projects in one year as they requested to postpone the project ending period. Interestingly, researcher groups produced outputs that can be potentially applied further for academic usages, industrial usage, policy usage and public usage. In addition, there was the attempt to support the extension of research utilization. Two conferences and seminars on rubber research were organized in order to create a research network, to integrate the cooperation between government agencies and industry sections, as well as to strengthen the Thai rubber industry. The collection and analysis of research data (between year 2012-2017, total 213 projects) were also performed prior to interview the researchers at research sites in order to sort out the problems, obstacles and ways to proceed the extension of research results. Nine product champions were selected to be driven for the actual utilization as followings: (1) Carbon footprint and water footprint data of rubber plantation, (2) Medical equipment and tools set from natural rubber, (3) Splint for legs from natural rubber, (4) Innovations from rubber for building materials, (5) Geopolymer quick forming concrete mixed with latex for pavement work, (6) Thermoplastic materials from natural rubber for marking pavement, (7) Rubber product standards, ( 8 ) Para rubber phantom for radiation dose verification of 3D cancer treatment radiation therapy and (9) Manual of rubber planters and rubber wood business entrepreneurs to be certified forest management at an international level. Furthermore, it can be summarized as a suitable model for the research project, since the beginning there should be (1) principal researchers with expertise, (2) project consultants (appropriate type of raw materials, consistent quality of raw materials, standards related to the developing product, etc.) and (3) end user who can support the direction and potential of the product to be developed.
ชื่อแหล่งทุน: T2561008 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2561 ยางพารา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2561
กลุ่มวิจัยยางพารา การติดตาม ประเมินผลโครงการวิจัยยางพาราปี 2560 และการผลักดันการใช้ประโยชน์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555 การติดตามประเมินผล โครงการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดิน จังหวัดน่าน ปี 2555 การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินการพึ่งพาตนเองและความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ในการปลูกยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก