สืบค้นงานวิจัย
ความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่
วราภา คุณาพร - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Loan Repayment Potential of Village Fund Members in Chinag Mai province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภา คุณาพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Warapa Kunaporn
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกกองทุนผู้กู้สามารถชำระคืนเงินกู้ได้ตามกำหนด ดังนั้นการศึกษาความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการชำระคืน ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระคืน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการชำระคืนเงินกู้กองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีจำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ทั้งหมด 210 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างสมาชิกร้อยละ 56.7 ได้ทำการชำระคืนเงินกู้แก่กองทุนหมู่บ้านด้วยการชำระคืนครั้งเดียวพร้อมดอกเบี้ย และมีตัวอย่างสมาชิกฯ เพียงร้อยละ 6.7 ของจำนวนตัวอย่างสมาชิกฯ ทั้งหมดเท่านั้นที่ไม่สามารถคืนเงินกู้ได้ตามสัญญา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระคืนเงินกู้กองทุนหมู่บ้าน ได้แก่ การประกอบอาชีพรับจ้าง การศึกษาในระดับประถมศึกษา รายได้ของทั้งครัวเรือน และ อัตราดอกเบี้ยของกองทุนหมู่บ้าน สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการชำระคืนเงินกู้ คือ ระยะเวลาในการกู้เงินสั้นเกินไป จำนวนวงเงินกู้ไม่เพียงพอ และในบางกองทุนมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง และขั้นตอนการขอกู้มีความซับซ้อน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปัจจัยทั้ง 4 ที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ โดยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ระดับร้อยละ 6 ต่อปี นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงทางด้านกฎระเบียบของกองทุนใน 2 ประเด็น คือ 1) เพิ่มระยะเวลาของการกู้ยืมเงินให้มากกว่า 1 ปี และ 2) ขยายวงเงินกู้เพิ่มขึ้น สุดท้ายทางภาครัฐบาลควรมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ในการพัฒนาอาชีพแก่สมาชิกฯ เพื่อให้สมาชิกสามารถสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้แก่ตนเองจากเงินทุนที่ได้จากกองทุนหมู่บ้านได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Village and community fund was established as a revolving fund within the village and community. The operation of the village fund could be succeeded only when the member could repay loan back on time. The study of loan repayment potential of the member of village fund hence had its purpose to investigate the loan repayment of the member and the factors affecting loan repayment as well as problems for not be able to repay loan in Chiang Mai Province. The result showed that 56.7 percent of sample member had repayed loan back to the village fund once with interest. The factors affecting loan repayment were wage earning, primary education, household income and interest rate. The problems of loan repayment included short time duration for repayment, amount of loan was not enough, high interest rate and complicated loan request process. It was suggested that persons who got involved in village fund policy should pay special attention on 4 factors affecting loan repayment potential. The recommended interest rate was 6 percent per year. The village fund rule should also be improved in 2 aspects: extend time duration for repayment and increase amont of loan. Furthermore, the government should provide the officer to suggest the village fund member for they could have more opportunity to enhance their incomes fund more effectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246631/168700
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สมรรถภาพการให้ผลผลิตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในหมู่บ้าน แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ เทคนิคการควบคุมโรคเต้านมอักเสบของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำการเกษตรยั่งยืนในการส่งเสริมการปลูกและผลิตกาแฟอราบิก้า : กรณีศึกษาหมู่บ้านมูเซอห้วยตาด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของธุรกิจกล้วยไม้ตัดดอกในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อจำกัดของการมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเพียงพอในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ความยินดีที่จะจ่ายและความสามารถที่จะจ่ายได้สำหรับผักสดอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ บทบาทและอำนาจของชุมชนในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นกรณีศึกษาหมู่บ้านโพธิ์ทองเจริญ ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติที่มีผลต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ในจังหวัดสงขลา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก