สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
อนันต์ ลิลา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนันต์ ลิลา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการกษตรประจำตำบล (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล โดยการศึกษาจากประชากร ได้แก่ ผู้นำชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 76 จังหวัด ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เหลือ 15 จังหวัด 30 อำเภอ จำนวน 30 ตำบล โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน เป็นผู้นำชุมชนจากคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกร 73 คน คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 84 คน คณะกรรมการกลุ่ม ยุวเกษตรกร 22 คน คณะกรรมการกลุ่มสหกรณ์การเกษตร 48 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 86 คน ผู้ใหญ่บ้าน 78 คน และกำนัน 29 คน จากประชากร 364,700 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) และรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า F-test ตามลำดับ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 71.0 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 39.5 อายุเฉลี่ย 47.30 ปี ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4-7 ร้อยละ 44.3 รายได้ของผู้นำชุมชนต่อปี อยู่ระหว่าง 50,001 - 75,000 บาท ร้อยละ 44.3 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4 คน อาชีพหลักส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตร ร้อยละ 76 อาชีพรองมีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 2.4 ระยะเวลาในการเป็นผู้นำชุมชนในตำแหน่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 1 - 5 ปี ร้อยละ 79.5 บ้านผู้นำชุมชนที่อยู่ห่างจากศูนย์บริการฯ ไม่เกิน 1 กิโลเมตร ร้อยละ 34.3 เฉลี่ย 3.25 กิโลเมตร การใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคนละ 1 - 5 ครั้งต่อปี ร้อยละ 48.6 เฉลี่ย 12.5 ครั้งต่อปี ผู้นำชุมชนที่มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเกือบทุกบทบาท ยกเว้นบทบาทการเป็นศูนย์กลางประสานการทำงาน (บูรณาการ) ของเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าใจ ร้อยละ 49.5 ทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์บริการฯ ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี เห็นด้วยอย่างยิ่ง คะแนนเฉลี่ย 3.31 ด้านการจัดทำข้อมูล เห็นด้วย คะแนนเฉลี่ย 3.00 ด้านสถานที่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง คะแนนเฉลี่ย 3.29 ด้านการช่วยเหลือเกษตรกร เห็นด้วยอย่างยิ่ง คะแนนเฉลี่ย 3.44 โดยมีปัจจัยด้านอาชีพรองและความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับศูนย์บริการฯ จำนวน 2 ปัจจัย ที่มีผลต่อทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำชุมชน มีผู้แสดงความคิดเห็นเพียง ร้อยละ 36.9 ข้อเสนอแนะที่มีความสำคัญเรียงตามลำดับ 3 ลำดับแรก ได้แก่ จัดเงินอุดหนุนและกองทุนให้ศูนย์ เพื่อให้คณะกรรมการบริหารศูนย์จัดการเอง ร้อยละ 5.71 มีสถานที่ทำงานที่แน่นอนและมีเครื่องมือการเกษตรไว้บริการ ร้อยละ 4.76 มีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีการเกษตรไว้บริการ ร้อยละ 3.33
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
อนันต์ ลิลา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
ความพึงพอใจของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ความพึงพอใจของผู้นำสถาบันเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในเขตกรุงเทพมหานคร บทบาทขององค์กรบริหารส่วนตำบลต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดอำนาจเจริญ บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดสกลนคร บทบาทของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสกลนคร เปรียบเทียบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ระหว่างตำบลหลักและกลุ่มตำบลบริวารในจังหวัดระยอง ทัศนคติคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับตำบลต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของจังหวัดพะเยา การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดมุกดาหาร การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดสิงห์บุรี ความพึงพอใจของผู้นำชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลห้วยไร่ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก