สืบค้นงานวิจัย
การจัดชั้นคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งโดยการวิเคราะห์การรวมกลุ่ม
จันทกานต์ อรณนันท์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การจัดชั้นคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งโดยการวิเคราะห์การรวมกลุ่ม
ชื่อเรื่อง (EN): Cluster analysis of pangola grass for hay quality grading
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันทกานต์ อรณนันท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อจัดชั้นคุณภาพของหญ้าแพงโกล่าแห้ง ดำเนินการที่กลุ่มวิเคราะห์อาหารสัตว์และพืชอาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2550 - ธันวาคม 2552 ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเขตกรรม และส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าแพงโกล่าแห้งจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และจากโครงการศึกษาเกณฑ์การผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้งให้มีคุณภาพสำหรับเลี้ยงสัตว์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์การรวมกลุ่ม (Cluster analysis) หาความเหมือนหรือความคล้ายกันของปัจจัยกำหนด พบว่า การวิเคราะห์ การรวมกลุ่มแบบ K-means ร่วมกับแบบ Hierarchical โดยใช้ส่วนประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีน NDF และ ADF เป็นปัจจัยกำหนดในการจัดกลุ่มหญ้าแพงโกล่แห้งเพื่อการจัดชั้นคุณภาพ สามารถจัดกลุ่มหญ้าแพงโกล่าได้ 38 กลุ่ม และเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับความต้องการโภชนะของโคเนื้อ โคนม ม้า และแพะ ทำให้ได้ชั้นคุณภาพรวม 16 กลุ่ม โดยจัดกลุ่มหลักตามค่าโปรตีนได้ 4 กลุ่ม คือ มีค่ามากกว่า 13.0% 10.0-12.9% 7.0-9.9% และน้อยกว่า 7.0 % และในแต่ละระดับโปรตีนจัดกลุ่มย่อยตามค่า ADF ได้ 4 ค่า คือ น้อยกว่า 30.0% 30.0-34.9% 35.0-39.9% และ มากกว่า 40.0% ทั้งนี้ อายุการตัดและการใส่ปุ้ยเป็นปัจจัยกำหนดค่โปรตีน ADF ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพของหญ้าแพงโกล่าแห้งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น การตัดหญ้าที่อายุ 30-45 วัน และใส่ปุ้ยตามคุณภาพดินและความต้องการธาตุอาหารของหญ้าแพงโกล่า จะทำให้ได้หญ้าแห้งคุณภาพดี
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://nutrition.dld.go.th/newletter/1512553/15-2.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดชั้นคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งโดยการวิเคราะห์การรวมกลุ่ม
กองอาหารสัตว์
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
การทำหญ้าแพงโกล่าแห้ง การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้ง การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้งที่การเจริญเติบโตต่างกัน ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าแพงโกล่าที่ปลูกด้วยอัตราท่อนพันธุ์ที่แตกต่างกันในพื้นที่ลุ่มจังหวัดสุโขทัย ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคลูกผสมบราห์มันอายุมาก ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองเต็มวัย ความเป็นไปได้ของเกษตรกรรายย่อยในการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งเลี้ยงโครีดนม คุณภาพของหญ้าแพงโกล่าผสมถั่วท่าพระสไตโลหมักในสัดส่วนต่าง ๆ การพัฒนากระบวนการผลิตหญ้าแพงโกล่าเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก