สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต
สุธาทิพย์ ทิพย์วงศ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate Weaning Period of Asia Arowana Scleropages formosus (Schlegel & Müller, 1844) by Replacing Live Feed with Pelleted Feed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธาทิพย์ ทิพย์วงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสําเร็จรูปชนิดเม็ดเพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต ดําเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นเวลา 60 วัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ได้แก่ ให้อาหารมีชีวิต (มวนกรรเชียง) ตลอดการทดลอง ให้อาหารเม็ดสําเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ําโปรตีน 32% ทดแทนอาหารมีชีวิตหลังจากลูกปลาถุงไข่แดงยุบ 15, 30, 45 วัน และให้อาหารเม็ดสําเร็จรูปตลอดการทดลอง อนุบาลลูกปลาในตู้กระจกขนาด 40x75x45 เซนติเมตร จํานวน 50 ใบ สุ่มปล่อยลูกปลาที่ถุงไข่แดงยุบหมด จํานวน 1 ตัวต่อตู้ลูกปลาทดลองมีความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 8.03±0.12, 8.04±0.12, 8.06±0.12, 8.04±0.14 และ 8.05±0.16 เซนติเมตร ตามลําดับ น้ําหนักเริ่มต้นเฉลี่ยเท่ากับ 3.18±0.17, 3.14±0.22, 3.15±0.16, 3.17±0.21 และ3.18±0.30 กรัม ตามลําดับ ความกว้างปากเฉลี่ย 15.0±0.3 มิลลิเมตร ผลการทดลองพบว่าลูกปลาตะพัดในชุดการทดลองที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 16.21±0.72, 13.79±0.67, 13.69±0.55, 16.33±0.92 และ 11.62±0.59 เซนติเมตรตามลําดับ น้ําหนักตัว เฉลี่ย 31.09±5.99, 17.09±3.95, 16.69±1.82, 30.14±4.94 และ 10.43±1.72 กรัม ตามลําดับ และมีอัตรารอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 100.0±0.0, 100.0±0.0, 100.0±0.0, 100.0±0.0 และ 60.0±51.6 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าลูกปลาที่ให้อาหารเม็ดตลอดการทดลองมีการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย และ Normalized biomass index (NBI) ต่ํากว่าทุกชุดการทดลอง (p<0.05) ลูกปลาที่ให้มวนกรรเชียงตลอดการทดลองมีการเจริญเติบโต และค่า NBI ดีกว่าลูกปลาที่ให้อาหารเม็ดหลังจากลูกปลาถุงไข่แดงยุบ15 วัน และ 30 วัน นอกจากนั้นพบว่าลูกปลาที่ให้มวนกรรเชียงตลอดการทดลองมีการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย และ NBI มีค่าใกล้เคียงกับลูกปลาที่ให้อาหารเม็ดหลังจากถุงไข่แดงยุบ 45 วัน ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าหลังจากลูกปลาตะพัดถุงไข่แดงยุบ 45 วัน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสําเร็จรูปชนิดเม็ดเพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2558
เอกสารแนบ 1
การอนุบาลลูกปลาอโรวานาด้วยอาหารมีชีวิตต่างชนิดกัน วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาจาด การอนุบาลลูกปลาตะเพียนข้างลาย, Systomus johorensis (Duncker, 1904) โดยการใช้อาหารมีชีวิตร่วมกับอาหารสำเร็จรูป (ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะเพียนข้างลายด้วยอาหารสำเร็จรูป) การอนุบาลม้าน้ำหนาม Hippocampus spinosissimus Weber, 1913 ด้วย อาหารมีชีวิตชนิดต่าง ๆ การอนุบาลลูกปลากดแก้วในกระชังด้วยอาหารต่างชนิด ระยะเวลาที่เหมาะสมและต้นทุนการผลิตในการอนุบาลลูกปลาพลวงชมพู (Tor douronensis Val, 1842) ด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาเทโพด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดทดแทนไรแดง การอนุบาลกั้งกระดาน(Thenus orientalis Lund, 1793) วัยอ่อนด้วยอาหารต่างๆกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก