สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะและการจัดการชั้นดานเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อัญชลี สุทธิประการ, เอิบ เขียวรื่นรมณ์, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม, ศุภิฌา ธนะจิตต์, สุรเชษฎ์ อร่ามรักษ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ลักษณะและการจัดการชั้นดานเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Characteristics and management of hardpan for cassava’s yield improvement in the Northeast
บทคัดย่อ: การศึกษาลักษณะและปัญหาของชั้นดานไถพรวนภายใต้ระบบการปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่นตามลำดับภูมิประเทศจำนวน 8 ชุดดิน เก็บตัวอย่างดินตามลำดับภูมิประเทศบริเวณละ 4-5 จุด เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป สัณฐานวิทยาของดินในสนาม สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมี รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดชั้นดินดานไถพรวนกับลักษณะดินที่พบ และทำการศึกษาการเปรียบเทียบรูปแบบการไถพรวนต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและผลผลิตมันสำปะหลังกับการแก้ไขปัญหาชั้นดานไถพรวนเพื่อการปลูกมันสำปะหลัง ผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ชั้นดานไถพรวนเกิดขึ้นในทุกตำแหน่งตามลำดับภูมิประเทศ โดยพบชั้นดานนี้เริ่มต้นที่ความลึกตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตรจากผิวดิน มีความหนาของชั้นระหว่าง 13-32 เซนติเมตร ชั้นดานไถพรวนส่วนใหญ่มีค่าความหนาแน่นรวมสูงกว่า 1.60 เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชุดดินยโสธรมีแนวโน้มเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1.83 เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชั้นดินบนและชั้นดินล่างใต้ชั้นดานไถพรวนมีค่าความหนาแน่นรวมต่ำกว่าชั้นดานไถพรวนในทุกบริเวณ ส่วนค่าความแข็งของชั้นดานไถพรวนมีค่าอยู่ในพิสัย 0.34-5.23 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สภาพนำน้ำของชั้นดินดานไถพรวนขณะอิ่มตัวอยู่ในพิสัย 0.2-3.4 เซนติเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าลดลงตามความหนาแน่นรวมที่เพิ่มขึ้น ในชุดดินสตึกมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งมากกว่าทำให้ช่องว่างในดินมีขนาดเล็กกว่า ความจุความชื้นใช้ประโยชน์ได้ของชั้นดานไถพรวนทั้งหมดมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 3.17 โดยชุดดินยโสธรมีปริมาณต่ำสุด (ร้อยละ 2.36 โดยปริมาตร) ความลึกและความหนาของชั้นดานไถพรวนรวมถึงสมบัติกายภาพอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งตามลำดับภูมิประเทศ ขณะที่ชั้นนี้ไม่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของดิน การที่ชั้นนี้มีความแข็งมากเมื่อแห้ง ความหนาแน่นรวมสูง สภาพนำน้ำช้า และความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ต่ำส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ส่วนในพื้นที่ จ.ขอนแก่น พบชั้นดานไถพรวนในเกือบทุกบริเวณยกเว้นในดินคล้ายชุดดินโพนพิสัยที่เป็นดินทราย โดยพบที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร และมีความหนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร ชั้นดังกล่าวมีความหนาแน่นรวม (1.69-1.85 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และความแข็งของดิน (0.3-3.3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) สูงกว่า แต่ความพรุนรวม (ร้อยละ 30.1-36.2) สภาพการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (0.04-1.21 เซนติเมตรต่อชั่วโมง) และความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ (ร้อยละ 4.95-7.63 โดยปริมาตร) ต่ำกว่าชั้นดินบนและชั้นดินที่วางตัวอยู่ใต้ชั้นดานไถพรวน อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารหลักและอินทรียวัตถุของชั้นดานไถพรวนอยู่ในพิสัยเดียวกันกับชั้นดินล่าง แต่มีปริมาณน้อยกว่าในชั้นดินบน ความต้านทานในการแทงทะลุของดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยมีค่าอยู่ในพิสัย 3-10 และ 2-8 เมกะพาสคาล ตามลำดับ และมีค่าสูงถึง 6 เมกะพาสคาลตั้งแต่ที่ผิวดินในบางบริเวณ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังพบชั้นดานไถพรวนที่ความลึกประมาณ 10 เซนติเมตรซึ่งอยู่ตื้นกว่าในแปลงอ้อย (20 เซนติเมตร) สมบัติทางกายภาพเคมีของชั้นดานไถพรวนภายใต้พืชทั้งสองชนิดคล้ายคลึงกัน ยกเว้นในชั้นดานไถพรวนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความหนาแน่นรวม (1.70-1.83 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) สูงกว่าในแปลงอ้อย (1.56-1.80 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) แต่กลับมีความแข็งต่ำกว่า (0.43-2.79 และ 0.28-6.87 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สำหรับดินที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยตามลำดับ) นอกจากนี้การแจกกระจายของรากพืชในชั้นนี้มีปริมาณน้อยกว่าในชั้นดินบนอย่างชัดเจน ชั้นดานไถพรวนพบสมบัติที่เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสองชนิดที่ไม่รุนแรงนัก ความหนาแน่นรวมที่สูงจะส่งผลต่อการชอนไชของรากพืช สภาพการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำลดต่ำลงในชั้นดังกล่าวจะไปจำกัดการเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำ เป็นผลให้ความเป็นประโยชน์ของน้ำในดินลดลงในฤดูแล้งเนื่องจากไปขัดขวางการเคลื่อนที่ของน้ำขึ้นมาตามท่อคาพิลลารี ขณะที่ทำให้เกิดการสะสมของน้ำที่ผิวดินในกรณีที่มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำไหล่บ่าที่ผิวดิน ทำให้เกิดการกร่อนดินได้ง่ายในพื้นที่ที่มีความลาดชัน อย่างไรก็ตามชั้นดานไถพรวนไม่มีผลต่อการสะสมธาตุอาหารพืชในตอนบนของชั้นดาน ผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการไถพรวนต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและผลผลิตมันสำปะหลัง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา พบว่า วิธีการไถพรวนดินรูปแบบต่าง ๆ ให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด (เก็บเกี่ยวที่อายุ 10 เดือน) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยที่การใช้ผาล 3 ผาล 7 และยกร่องปลูกมีแนวโน้มให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดสูงสุดเท่ากับ 2.61 ตันต่อไร่ ขณะที่การไถด้วยผาล 3 ตามด้วยผาล 7 มีแนวโน้มให้ผลผลิตต่ำสุดเท่ากับ 1.76 ตันต่อไร่ ส่วนน้ำหการศึกษาลักษณะและปัญหาของชั้นดานไถพรวนภายใต้ระบบการปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่นตามลำดับภูมิประเทศจำนวน 8 ชุดดิน เก็บตัวอย่างดินตามลำดับภูมิประเทศบริเวณละ 4-5 จุด เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป สัณฐานวิทยาของดินในสนาม สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมี รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดชั้นดินดานไถพรวนกับลักษณะดินที่พบ และทำการศึกษาการเปรียบเทียบรูปแบบการไถพรวนต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและผลผลิตมันสำปะหลังกับการแก้ไขปัญหาชั้นดานไถพรวนเพื่อการปลูกมันสำปะหลัง ผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ชั้นดานไถพรวนเกิดขึ้นในทุกตำแหน่งตามลำดับภูมิประเทศ โดยพบชั้นดานนี้เริ่มต้นที่ความลึกตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตรจากผิวดิน มีความหนาของชั้นระหว่าง 13-32 เซนติเมตร ชั้นดานไถพรวนส่วนใหญ่มีค่าความหนาแน่นรวมสูงกว่า 1.60 เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชุดดินยโสธรมีแนวโน้มเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1.83 เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชั้นดินบนและชั้นดินล่างใต้ชั้นดานไถพรวนมีค่าความหนาแน่นรวมต่ำกว่าชั้นดานไถพรวนในทุกบริเวณ ส่วนค่าความแข็งของชั้นดานไถพรวนมีค่าอยู่ในพิสัย 0.34-5.23 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สภาพนำน้ำของชั้นดินดานไถพรวนขณะอิ่มตัวอยู่ในพิสัย 0.2-3.4 เซนติเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าลดลงตามความหนาแน่นรวมที่เพิ่มขึ้น ในชุดดินสตึกมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งมากกว่าทำให้ช่องว่างในดินมีขนาดเล็กกว่า ความจุความชื้นใช้ประโยชน์ได้ของชั้นดานไถพรวนทั้งหมดมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 3.17 โดยชุดดินยโสธรมีปริมาณต่ำสุด (ร้อยละ 2.36 โดยปริมาตร) ความลึกและความหนาของชั้นดานไถพรวนรวมถึงสมบัติกายภาพอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งตามลำดับภูมิประเทศ ขณะที่ชั้นนี้ไม่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของดิน การที่ชั้นนี้มีความแข็งมากเมื่อแห้ง ความหนาแน่นรวมสูง สภาพนำน้ำช้า และความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ต่ำส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ส่วนในพื้นที่ จ.ขอนแก่น พบชั้นดานไถพรวนในเกือบทุกบริเวณยกเว้นในดินคล้ายชุดดินโพนพิสัยที่เป็นดินทราย โดยพบที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร และมีความหนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร ชั้นดังกล่าวมีความหนาแน่นรวม (1.69-1.85 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และความแข็งของดิน (0.3-3.3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) สูงกว่า แต่ความพรุนรวม (ร้อยละ 30.1-36.2) สภาพการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (0.04-1.21 เซนติเมตรต่อชั่วโมง) และความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ (ร้อยละ 4.95-7.63 โดยปริมาตร) ต่ำกว่าชั้นดินบนและชั้นดินที่วางตัวอยู่ใต้ชั้นดานไถพรวน อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารหลักและอินทรียวัตถุของชั้นดานไถพรวนอยู่ในพิสัยเดียวกันกับชั้นดินล่าง แต่มีปริมาณน้อยกว่าในชั้นดินบน ความต้านทานในการแทงทะลุของดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยมีค่าอยู่ในพิสัย 3-10 และ 2-8 เมกะพาสคาล ตามลำดับ และมีค่าสูงถึง 6 เมกะพาสคาลตั้งแต่ที่ผิวดินในบางบริเวณ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังพบชั้นดานไถพรวนที่ความลึกประมาณ 10 เซนติเมตรซึ่งอยู่ตื้นกว่าในแปลงอ้อย (20 เซนติเมตร) สมบัติทางกายภาพเคมีของชั้นดานไถพรวนภายใต้พืชทั้งสองชนิดคล้ายคลึงกัน ยกเว้นในชั้นดานไถพรวนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความหนาแน่นรวม (1.70-1.83 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) สูงกว่าในแปลงอ้อย (1.56-1.80 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) แต่กลับมีความแข็งต่ำกว่า (0.43-2.79 และ 0.28-6.87 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สำหรับดินที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยตามลำดับ) นอกจากนี้การแจกกระจายของรากพืชในชั้นนี้มีปริมาณน้อยกว่าในชั้นดินบนอย่างชัดเจน ชั้นดานไถพรวนพบสมบัติที่เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสองชนิดที่ไม่รุนแรงนัก ความหนาแน่นรวมที่สูงจะส่งผลต่อการชอนไชของรากพืช สภาพการนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำลดต่ำลงในชั้นดังกล่าวจะไปจำกัดการเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำ เป็นผลให้ความเป็นประโยชน์ของน้ำในดินลดลงในฤดูแล้งเนื่องจากไปขัดขวางการเคลื่อนที่ของน้ำขึ้นมาตามท่อคาพิลลารี ขณะที่ทำให้เกิดการสะสมของน้ำที่ผิวดินในกรณีที่มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำไหล่บ่าที่ผิวดิน ทำให้เกิดการกร่อนดินได้ง่ายในพื้นที่ที่มีความลาดชัน อย่างไรก็ตามชั้นดานไถพรวนไม่มีผลต่อการสะสมธาตุอาหารพืชในตอนบนของชั้นดาน ผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการไถพรวนต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและผลผลิตมันสำปะหลัง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา พบว่า วิธีการไถพรวนดินรูปแบบต่าง ๆ ให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด (เก็บเกี่ยวที่อายุ 10 เดือน) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยที่การใช้ผาล 3 ผาล 7 และยกร่องปลูกมีแนวโน้มให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดสูงสุดเท่ากับ 2.61 ตันต่อไร่ ขณะที่การไถด้วยผาล 3 ตามด้วยผาล 7 มีแนวโน้มให้ผลผลิตต่ำสุดเท่ากับ 1.76 ตันต่อไร่ ส่วนน้ำห
บทคัดย่อ (EN): The investigation on characteristics and problems of plough pan in cassava production areas, Nakhon Ratchasima and Khon Kaen Provinces was undertaken in eight areas. Samples collection and soil miniprofile characterization were done along toposequence at each site, objectively to acquire specific information of the sites and to examine soil physical and chemical property along with determining relationship between an occurrence of plough pan and soil characteristics. Field experiments were also conducted, including a comparison of tillage practices on the change of soil properties and cassava yield trial and an alleviation of plough pan problem for growing cassava trial. The results revealed that in the case of Nakhon Ratchasima province, the soils studied were developed from residuum of sandstone and siltstone with some areas being overlaid by local alluvium and wash materials. They had loamy sand to sandy loam texture. The plough pan occurred on every position of the landscapes, starting at the depth of 15-25 cm from soil surface with thickness of the layer ranging between 13-32 cm. Plough pan layer had high bulk density (>1.6 Mg m-3) with the highest value of 1.83 Mg m-3 being in Yasothon series. Layers directly overlying and underlying plough pan layer was clearly less dense than this compacted layer in all locations. Dry soil strength of plough pan layers varied between 0.34-5.23 kg cm-2. This pan had low saturated hydraulic conductivity (0.2-3.4 cm hr-1) and got slower as bulk density increased. Plough pan found in Satuk series tended to have lower saturated hydraulic conductivity than did other two because this soil comprised higher content of silt particle which resulted in smaller soil pores. Available moisture capacity of plough pan in all soils was lower than 3.17% by volume with the lowest amount (2.36% by volume) being in Yasothon series. Depth where plough pan started to form and its thickness, including other soil physical properties had no relationship with positions within the same toposequence whereas soil chemical property was not affected by the occurrence of this pan. Whereas, plough pan found in Khon Kaen province, plough pan was found in all soils except Phonphisai, sandy variant soil. The pans formed at depths of 20-25 cm from soil surface with approximate thickness of 15-20 cm. Bulk density (1.69-1.85 Mg m-3) and strength (0.3-3.3 kg cm-2) of plough pan were higher than that of the topsoil and layer directly below the pan but porosity (30.1-36.2%), saturated hydraulic conductivity (0.04-1.21 cm hr-1) and available water capacity (4.95-7.63% by volume) were lower. However, plant nutrient and organic matter contents in these compacted layers were indifferent from subsoils but lower than that in the topsoil. Penetrometer resistance in cassava and sugarcane growing soils ranged between 2-8 and 3-10 MPa, respectively and the values were higher than 6 MPa at the soil surface in some areas. Depths of plough pan found in cassava growing areas, approximately at 10 cm from the surface, were shallower than those of sugarcane growing soils (20 cm). Pysico-chemical properties of plough pan in the areas of growing both crops were quite similar. Bulk density values in plough pan (1.70-1.83 Mg m-3) under cassava cultivated soils were higher than those under the use for growing sugarcane (1.56-1.80 Mg m-3), which was in contrast to soil strength that the former soils had higher values (0.43-2.79 kg cm-2) than did the latter soils (0.28-6.87 kg cm-2). In addition, the amounts of root distribution in these layers were clearly lower than that in the topsoils. Plough pan had some properties that slightly severely limited the growth of both plants. High bulk density can restrict root penetration. Slow saturated hydraulic conductivity retards up and down movement of water, which results in the reduction of available water during drought season due to the impediment of capillary rise. Water runoff can The investigation on characteristics and problems of plough pan in cassava production areas, Nakhon Ratchasima and Khon Kaen Provinces was undertaken in eight areas. Samples collection and soil miniprofile characterization were done along toposequence at each site, objectively to acquire specific information of the sites and to examine soil physical and chemical property along with determining relationship between an occurrence of plough pan and soil characteristics. Field experiments were also conducted, including a comparison of tillage practices on the change of soil properties and cassava yield trial and an alleviation of plough pan problem for growing cassava trial. The results revealed that in the case of Nakhon Ratchasima province, the soils studied were developed from residuum of sandstone and siltstone with some areas being overlaid by local alluvium and wash materials. They had loamy sand to sandy loam texture. The plough pan occurred on every position of the landscapes, starting at the depth of 15-25 cm from soil surface with thickness of the layer ranging between 13-32 cm. Plough pan layer had high bulk density (>1.6 Mg m-3) with the highest value of 1.83 Mg m-3 being in Yasothon series. Layers directly overlying and underlying plough pan layer was clearly less dense than this compacted layer in all locations. Dry soil strength of plough pan layers varied between 0.34-5.23 kg cm-2. This pan had low saturated hydraulic conductivity (0.2-3.4 cm hr-1) and got slower as bulk density increased. Plough pan found in Satuk series tended to have lower saturated hydraulic conductivity than did other two because this soil comprised higher content of silt particle which resulted in smaller soil pores. Available moisture capacity of plough pan in all soils was lower than 3.17% by volume with the lowest amount (2.36% by volume) being in Yasothon series. Depth where plough pan started to form and its thickness, including other soil physical properties had no relationship with positions within the same toposequence whereas soil chemical property was not affected by the occurrence of this pan. Whereas, plough pan found in Khon Kaen province, plough pan was found in all soils except Phonphisai, sandy variant soil. The pans formed at depths of 20-25 cm from soil surface with approximate thickness of 15-20 cm. Bulk density (1.69-1.85 Mg m-3) and strength (0.3-3.3 kg cm-2) of plough pan were higher than that of the topsoil and layer directly below the pan but porosity (30.1-36.2%), saturated hydraulic conductivity (0.04-1.21 cm hr-1) and available water capacity (4.95-7.63% by volume) were lower. However, plant nutrient and organic matter contents in these compacted layers were indifferent from subsoils but lower than that in the topsoil. Penetrometer resistance in cassava and sugarcane growing soils ranged between 2-8 and 3-10 MPa, respectively and the values were higher than 6 MPa at the soil surface in some areas. Depths of plough pan found in cassava growing areas, approximately at 10 cm from the surface, were shallower than those of sugarcane growing soils (20 cm). Pysico-chemical properties of plough pan in the areas of growing both crops were quite similar. Bulk density values in plough pan (1.70-1.83 Mg m-3) under cassava cultivated soils were higher than those under the use for growing sugarcane (1.56-1.80 Mg m-3), which was in contrast to soil strength that the former soils had higher values (0.43-2.79 kg cm-2) than did the latter soils (0.28-6.87 kg cm-2). In addition, the amounts of root distribution in these layers were clearly lower than that in the topsoils. Plough pan had some properties that slightly severely limited the growth of both plants. High bulk density can restrict root penetration. Slow saturated hydraulic conductivity retards up and down movement of water, which results in the reduction of available water during drought season due to the impediment of capillary rise. Water runoff can
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะและการจัดการชั้นดานเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2553
อาหารจากมันสำปะหลัง ลักษณะและการจัดการชั้นดานเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดินและการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์เพื่อการผลิตมันสำปะหลังในชุมชน การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ดินทราย การจัดการดินและพืชร่วมกับการใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเพิ่มศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังแบบมีส่วนร่วมในภาคตะวันออก การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การแก้ไขปัญหาชั้นดานไถพรวนเพื่อการปลูกมันสำปะหลัง การปรับปรุงดินและการใช้จุลธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก