สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย:การพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้ปลอดจากการปนเปื้อนของกลิ่นไม่พึงประสงค์
นิวุฒิ หวังชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย:การพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้ปลอดจากการปนเปื้อนของกลิ่นไม่พึงประสงค์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of fish culture system under food safety: Development of tilapia cultuer system to reduce the contamination of off-flavors
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิวุฒิ หวังชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บัญชา ทองมี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจระดับของกลิ่นไม่พึงประสงค์ (Geosmin และ MIB) ในน้ำ ดินพื้นบ่อ และเนื้อปลานิลที่เลี้ยงด้วยระบบผสมผสาน โดยทำการศึกษาในบ่อดิน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 6 บ่อ เป็นเวลา 8 เดือน พบว่า ในตัวอย่างน้ำ ดินพื้นบ่อ และเนื้อปลามีปริมาณจีออสมินเฉลี่ย 11.14+4.23 ไมโครกรัมต่อลิตร, 3.12+1.17 และ 2.14+1.02 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และพบปริมาณเอ็มไอบีเฉลี่ย 23.34+9.07 ไมโครกรัมต่อลิตร, 19.22+5.15 และ 2.21+1.90 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าระดับของกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่พบในเนื้อปลานิลสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้ (Threshold level) ส่วนชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่สร้างกลิ่นไม่พึงประสงค์ พบ Oscillatoria spp. เป็นสปีชีส์เด่น รองลงมาคือ Anabaena spp. และจากการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หมัก (มูลสุกรและมูลไก่) เพื่อลดกลิ่นและเพิ่มคุณค่าของผลผลิตในบ่อเลี้ยงปลา โดยทำการเลี้ยงที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 บ่อ เป็นเวลา 8 เดือน พบว่า บ่อที่ใส่ปุ๋ยมูลสุกรร่วมกับการให้อาหารตลอดการเลี้ยงมีค่าความเข้มข้นของจีออสมินและเอ็มไอบีเฉลี่ยสูงกว่าบ่ออื่นๆ ทั้งตัวอย่างน้ำ ดิน และเนื้อปลานิล และในบ่อที่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับการให้อาหารตลอดการเลี้ยงมีการเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่สร้างกลิ่นไม่พึงประสงค์ พบ Anabaena spp. เป็นสปีชีส์เด่น รองลงมา คือ Oscillatoria spp.
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to investigate the level of odorous compounds (geosmin and MIB) in pond water, sediment, and fish flesh (tilapia) which collected from 6 earthen ponds in Phan district, Chiang Rai provinc. The data was collected monthly for 8 months. Result showed that all geosmin and MIB levels in fish flesh were higher than threshold level. Geosmin in samples from pond water, sediment and fish flesh were 11.14+4.23 ?g.L-1, 3.12+1.17 and 2.14+1.02 ?g.kg-1, respectively and MIB levels in samples from pond water, sediment and fish flesh were 23.34+9.07 ?g.L-1, 19.22+5.15 and 2.21+1.90 ?g.kg-1, respectively. The dominant types of phytoplankton which produce off-odors were Oscillatoria spp. and Anabaena spp.. The effects of manures (pig dunk and cheken manure) application on odorous compound in tilapia flesh was investigated in 9 earthen ponds at Maejo University farms. The experiment was done for 8 months. The result showed that tilapia which use pig dunk contained both geosmin and MIB higher than that in tilapia which uses cheken manure. The dominant types of phytoplankton in both treatments were Anabaena spp. and Oscillatoria spp.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-54-030.6/55-021.6
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 233,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/Niwooti_Whangchai_2556/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย:การพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้ปลอดจากการปนเปื้อนของกลิ่นไม่พึงประสงค์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเลี้ยงปลาดุกผสมร่วมกับปลานิลในสวนปาล์มน้ำมัน การวิจัยและพัฒนาระบบชีววิถีเพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ( Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus ) ร่วมกับปลานิล ( Oreochromisniloticus ) เป็นอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ร เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล (Oreochromis niloticus) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารป การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำพริกน้ำปูเพื่อความปลอดภัยทางด้านอาหาร ผลของการเสริมเศษเนื้อจากโครงปลานิลต่อคุณภาพของบะหมี่ไข่ ผลของระบบการเลี้ยงต่อการกำจัดกลิ่นโคลนในปลานิล ผลกระทบการเลี้ยงต่อการกำจัดกลิ่นโคลนในปลานิล ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก การผลิตปลานิลร่วมกับปลาช่อนในระบบอะควาโปนิคส์ เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย ผลของการเลี้ยงปลานิลสายพันธุ์ทนเค็มร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อปูพื้นพลาสติก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก