สืบค้นงานวิจัย
การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของข้าวก่ำพะเยา
สุภัค มหัทธนพรรค - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของข้าวก่ำพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): DNA Fingerprints Investigation for Support Geographical Indication (GI) Patent of Phayao Purple Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภัค มหัทธนพรรค
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วีระชัย ตีรอรุณศิริ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวกำพะเยา ซึ่งเป็นข้าวที่พบใน ท้องถิ่นและปลูกแพร่หลายในจังหวัดพะเยา โดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี (RAPD, Random amplified polymorphic DNA) ในการหาความแตกต่างของลายพิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวกำพะเยากับข้าวพันธุ์ พื้นเมืองที่มีลักษณะต้นหรือเมล็ดคล้ายกับข้าวก่ำพะเยา เริ่มต้นจากการนำตัวอย่างใบข้าวมาทำการ สกัดดีเอ็นเอ (DNA Extracion) โดยดัดแปลงวิธีการของ Doyle and Doyle (1990) เมื่อนำไปตรวจสอบ ด้วย agarose gel ผลที่ได้ปรากฏแถบดีเอ็นเอของตัวอย่างพืชมีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปเป็นต้นแบบใน การเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในการทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้ จากนั้นจึงได้นำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค อาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์ที่ไม่จำเพาะเจาะจง (arbitrary primer) ซึ่งในการทดลองได้ใช้ไพรเมอร์ใน กลุ่ม operon theory มีขนาดสั้นๆ 10 นิวคลีโอไทด์ โดยใช้ไพร์เมอร์แบบสุ่มจำนวน 52 ไพร์เมอร์ และมี ไพเมอร์ที่ทำให้เกิด PCR product จำนวน 18 ไพรเมอร์ที่ให้จำนวนแถบดีเอ็นเอมากกว่า 5 แถบ และทำ ให้เกิดลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ชัดเจน นอกจากนี้พบว่าไพเมอร์ OPAR15 และ 0PF03 สามารถแยกความ แตกต่างระหว่างข้าวกำพะเยากับข้าวพันธุ์พื้นเมืองอื่นได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของข้าวก่ำพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2556
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำสำหรับผู้สูงอายุ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การจำแนกประชากรโรคไหม้ของข้าวโดยใช้ลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอในประเทศไทย การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของตาลโตนด โดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ. การศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิสูงและสภาวะแล้งต่อรูปแบบการแสดงออกของกลุ่มยีน Heat shock protein และการให้ผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตจังหวัดพะเยา การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อเห็ดโคนน้อยด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพืชสมุนไพรในป่าพรุ จำปีสิรินธรในประเทศไทย การใช้หลักวิศวกรรมนาข้าวเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำไร่เลื่อนลอยเป็นนาขั้นบันได แบบอนุรักษ์ดิน-น้ำ การสะสมคาร์บอนในดิน และเพิ่มมูลค่า ในพื้นที่โครงการหลวงปังค่า อ.ปง จ.พะเยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก