สืบค้นงานวิจัย
การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ
ณิชกานต์ นเรวุฒิกุล, อังสนา อัครพิศาล - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of Bacterial Antagonistic Efficiency for Control of Sclerotium rolfsii and Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici Causing Tomato Soil Borne Diseases
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nitchakarn Nareawuttikun
คำสำคัญ: โรครากและโคนเน่า(Sclerotium rot) Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici แบคทีเรียปฏิปักษ์(antagonist bacteria) มะเขือเทศ(tomato) การผลิตเอนไซม์(enzyme production)
บทคัดย่อ: จากการแยกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากดินบริเวณรอบรากมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) และพริก (Capsicum annuum) โดยวิธี soil dilution plate ได้ทั้งหมดจำนวน 33 ไอโซเลท  และได้นำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา  Sclerotium rolfsii  และเชื้อรา Fusarium oxysporum  f. sp. lycopersici ในเบื้องต้น  คัดเลือกได้  8 ไอโซเลท คือ ไอโซเลท TKC1, TKC4, TKC7, TKC10, CMM2, CMM5, CMM8 และ CMM13  สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. rolfsii โดยมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญคือ 15.6, 17.2, 22.0, 22.0, 23.6, 23.2, 22.8 และ 0 ตามลำดับ และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ F. oxysporum  f. sp. lycopersici โดยมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญคือ 38.0, 35.2, 34.8, 34.0, 30.4, 36.4, 35.2 และ 0  ตามลำดับ หลังจากนั้นนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งหมด 8 ไอโซเลท ทำการทดสอบความสามารถในการผลิตเอนไซม์ โดยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท TKC1, TKC4, TKC10 และ CMM13 มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ และมีเพียง 1 ไอโซเลท คือ CMM13 ที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ฟอสฟาเตส โดยปรากฏผลของการเกิดบริเวณใสรอบรอยเจริญของเชื้อ และพบว่าทั้ง 8 ไอโซเลทไม่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์     ไคติเนส นอกจากนี้ยังพบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ทุกไอโซเลทมีความสามารถในการผลิตเอนไซม์อะไมเลส ยูรีเอส และแคตาเลสได้  ทั้งนี้จะได้นำไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคของมะเขือเทศดังกล่าวในสภาพโรงเรือนต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Antagonistic bacteria were isolated from the rhizoshere of tomatos (Lycopersicon esculentum) and chillis (Capsicum annuum) by soil dilution plate technique. A total of thirty-three isolates were screened for their ability to inhibit in vitro the growth of  Sclerotium rolfsii  and  Fusarium  oxysporum  f. sp. lycopersici. Eight isolates were selected for further investigations. The isolates (TKC1, TKC4, TKC7, TKC10, CMM2, CMM5, CMM8 and CMM13) showed antagonistic activity against the mycelium growth of S. rolfsii with inhibition percentages of 15.6, 17.2, 22.0, 22.0, 23.6, 23.2, 22.8 and 0, respectively and F. oxysporum  f. sp. lycopersici with inhibition percentages of  38.0, 35.2, 34.8, 34.0, 30.4, 36.4, 35.2 and 0, respectively. Eight  isolates were tested for their enzyme production. The results showed four isolates (TKC1, TKC4, TKC10 and CMM13) for their ability to produce cellulose enzyme and only one isolate (CMM13) for their ability to produce phosphatase enzyme that showed positive results with clear zone around the cultures, and found that no isolate for their ability to produce chitinase enzyme. However, all eight bacterial isolates showed positive results for their ability to produce amylase, urease and catalase enzyme. Therefore, further study on evaluation of antagonistic bacteria ability in greenhouse experiment  will be conducted.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 การรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วยฟาจ ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ การพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับเชื้อ Vibrio parahaemolyticus และ V. vulnificus ประสิทธิภาพของเชื้อ Pseudomonas spp. ในน้ำหมักชีวภาพเพื่อควบคุม โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici การประเมินความต้านทานโรคและการควบคุมโรคสำคัญของมะเขือเทศผลโต ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยชีววิธี การดูดตรึงฟอสเฟตสูงของดินชุดต่าง ๆ การป้องกันกำจัดโรครากำมะหยี่ของมะเขือเทศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก