สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี
สุชาสินี ดิษฐสมบูรณ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Demand from farmers in Ratchaburi province for rice seeds produced by Ratchaburi rice seed center
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาสินี ดิษฐสมบูรณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suchasinee Dithasomboon
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ทำนาในจังหวัดราชบุรี ดังนี้ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) ความรู้เกี่ยวกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี (3) ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี ประชากร คือ เกษตรกรผู้ทำนาที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวในปี2552/53 กับสำนักงานเกษตรอำเภอทั้งหมด 10 อำเภอ ในจังหวัดราชบุรี มีจำนวนประชากรทั้งหมด 14,122 ราย กลุ่มตัวอย่าง 155 ราย สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.31 ปี ประมาณสองในสามจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีจากสื่อบุคคล และสื่อสิ่งพิมพ์ระดับปานกลาง สื่อมวลชนและสื่อกิจกรรม ระดับน้อย มากกว่าครึ่งหนึ่งทำนาโดยเช่าพื้นที่ ขนาดพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 30.21 ไร่ เกือบทั้งหมดทำนาปีละ 2 ครั้งโดยวิธีหว่านน้ำตม โดยเฉลี่ยมีแรงงานในครัวเรือนทำนาทั้งหมด 3.29 ราย ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราเฉลี่ย 23.80 กิโลกรัม/ไร่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.88 บาท ได้รับผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 740.63 กิโลกรัม จำหน่ายผลผลิตราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.19 บาท มีรายได้จากการทำนาเฉลี่ย 199,972.20 บาท และมีรายได้ต่อไร่จากการทำนา เฉลี่ย 6,623.60 บาท (2) โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีอยู่ในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรประมาณสี่ในห้าต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์สุพรรณบุรี 1 เป็นลำดับที่ 1 เกือบครึ่งต้องการพันธุ์สุพรรณบุรี 3 เป็นลำดับที่ 2 มากกว่าหนึ่งในสี่ต้องการพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นลำดับที่ 3 และพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นลำดับที่ 4 และประมาณหนึ่งในห้าต้องการพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นลำดับที่ 5 ต้องการปริมาณเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 504.93กิโลกรัม ประมาณสามในห้าต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวในเดือนมกราคม มากกว่าครึ่งหนึ่งต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกปี และประมาณสามในห้าคิดว่าราคาเมล็ดพันธุ์แพงเกินไป เกษตรกรมีความต้องการคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการให้บริการจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีระดับมากทุกด้าน (4) เกษตรกรมากกว่าสามในห้ามีปัญหาในเรื่องเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง และมากกว่าครึ่งมีปัญหาเรื่องขาดเอกสารทางวิชาการที่มาสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการใช้เมล็ดพันธุ์ เกษตรกรมากกว่าสามในสี่มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้เมล็ดพันธุ์ดี และ หน่วยงานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีความแข็งแรงต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
บทคัดย่อ (EN): Objectives of this study were (1) to study social and economic state of farmers who had done rice farming in Ratchaburi Province; (2) to study their knowledge about Ratchaburi Rice Seed Center; (3) to study their needs for rice seeds produced by the center; and (4) to study their problems and suggestions on their needs for rice seeds produced by the center. The population in this study were 14,122 farmers who had been registered at the Office of Agriculture in 10 districts under Ratchaburi Province as farmers who had done rice farming in 2009/2010. The samples were selected by using stratified random sampling methodology, 155 samples altogether. The data were collected by using a structural interview form. The statistical methodology used to analyze the data by instant computer programs were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The findings of this study were as follows: (1) More than half of the studied farmers were female, with average age at 53.31 years. About two-thirds of them were educated at lower primary level. They had received information of Ratchaburi Rice Seed Center from personal and printed media at medium level, and from mass and event media at a little level. More than half of them had done rice farming in rented area. Their average area used for doing rice farming was 30.21 Rai. Almost all of them had done rice farming twice a year by sowing rice seeds into miring water. The average quantity of the labor in their family was 3.29 persons. The average quantity of rice seeds they needed was 23.80 kgs/Rai. The average price of the rice seeds was 19.88 Baht/kg. The average quantity of their produce was 740.63 kgs/Rai. The average selling The objectives of this study were (1) to study social and economic state of farmers who had done rice farming in Ratchaburi Province; (2) to study their knowledge about Ratchaburi Rice Seed Center; (3) to study their needs for rice seeds produced by the center; and (4) to study their problems and suggestions on their needs for rice seeds produced by the center. The population in this study were 14,122 farmers who had been registered at the Office of Agriculture in 10 districts under Ratchaburi Province as farmers who had done rice farming in 2009/2010. The samples were selected by using stratified random sampling methodology, 155 samples altogether. The data were collected by using a structural interview form. The statistical methodology used to analyze the data by instant computer programs were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The findings of this study were as follows: (1) More than half of the studied farmers were female, with average age at 53.31 years. About two-thirds of them were educated at lower primary level. They had received information of Ratchaburi Rice Seed Center from personal and printed media at medium level, and from mass and event media at a little level. More than half of them had done rice farming in rented area. Their average area used for doing rice farming was 30.21 Rai. Almost all of them had done rice farming twice a year by sowing rice seeds into miring water. The average quantity of the labor in their family was 3.29 persons. The average quantity of rice seeds they needed was 23.80 kgs/Rai. The average price of the rice seeds was 19.88 Baht/kg. The average quantity of their produce was 740.63 kgs/Rai. The average selling price of their produce was 10.19 Baht/kg. Their average income was 199,972.20 Baht, with average at 6,623.60 Baht/Rai. (2) Considering their knowledge about Ratchaburi Rice Seed Center, it was found that they generally had the knowledge at medium level. (3) Considering their needs for rice seeds produced by the center, it was found that they needed various tribes of rice seeds ranging from the most to the least need as follows: First, Suphan Buri 1 which was needed by four-fifths of them; second, Suphan Buri 3 which was needed by almost half of them; third, Chai Nat 1 which was needed by more than one-fourth of them; fourth, Pathum Thani 1 which was needed by more than one-fourth of them; and fifth, Chai Nat 1 which was needed by about one-fifth of them. The average quantity of rice seeds they needed was 504.93 kgs. About three-fifths of them needed rice seeds in January. More than half of them needed rice seeds every year. About three-fifths of them mentioned that the selling price of rice seeds was too high. They needed quality rice seeds and good services from the center at much level in every aspect. And (4) considering their problems and suggestions on their needs for rice seeds produced by the center, it was found that more than three-fifths of them had problems on the high price of rice seeds. More than half of them had problems on the lack of academic documents to support their knowledge of rice seed application. More than three-fourths of them suggested that agricultural extension sectors should have set a campaign for making public the benefits of applying quality rice seeds. And more than three-fourths of them suggested that the center should have produced rice seeds which were able to withstand the climate changes.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329693
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summaries only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร กระบวนการทำสวนยางพาราของเกษตรกรในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านธุรกิจกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี การศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้าพลิแคทูลั่มของเกษตรกรจังหวัดยโสธร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก