สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตผักปลอดสารพิษ : กรณีศึกษาในบ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
สุเทพ นาร่อง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตผักปลอดสารพิษ : กรณีศึกษาในบ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุเทพ นาร่อง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยสภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ในบ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ 2) เพื่อศึกษาการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กลุ่มปลูกผักบ้านหม้อ ตำบลคูคำ เก็บข้อมูลทั้งหมด 32 รายโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นหญิง มีอายุ เฉลี่ย 43.94 ปี มีพื้นที่เป็นของตนเอง มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง เฉลี่ย 16.87 ไร่ โดยส่วนใหญ่ มีพื้นที่ ระหว่าง 11-20 ไร่ มีพื้นที่นาเฉลี่ย 9.31 ไร่ พื้นที่ทำไร่ เฉลี่ย 16.25 ไร่ มีพื้นที่ทำสวนโดยเฉลี่ย 6.17ไร่ พื้นที่ ปลูกผักโดยเฉลี่ย 2.67 ไร่ ส่วนใหญ่ มีพื้นที่ ระหว่าง 1 - 3 ไร่ รายได้อาชีพภาคเกษตรกรรม โดยเฉลี่ย 88,162.5 บาท รายได้ในการทำนา เฉลี่ย 22,300 บาท รายได้จากการทำไร่ เฉลี่ย 55,250 บาท รายได้จากการทำสวน โดยมีรายได้เฉลี่ย 36,683.33 บาท รายได้จากการปลูกผัก เฉลี่ย 57,843.75 บาท รายได้ทั้งหมด ทั้งภาคเกษตรกรรม และ นอกภาคเกษตรกรรม มีรายได้โดยเฉลี่ย 91,350 บาท ต้นทุนการผลิตผักในมุ้ง เฉลี่ย 2,021.43 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตผักนอกมุ้ง เฉลี่ย 1,866.67 บาทต่อไร่ การเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร ส่วนใหญ่ เป็นสมาชิก ธกส. ส่วนใหญ่มีการกู้เงินมาลงทุน จาก ธกส. ดินที่ใช้ในการปลูกมีลักษณะดินทราย มีการเตรียมพื้นที่ก่อนการปลูกผัก โดยการยกแปลง มีการปรับปรุงปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ มีการใส่ปุ๋ยเคมีร้อยละ 40.6 ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 มีการใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช โดยการใช้วิธีกลและสารเคมีในป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การใช้สารเคมี ใช้ โฟลิดอล มีการสำรวจโรคแมลงศัตรูพืชในแปลง ส่วนใหญ่ทุกวันข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา ควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากยังขาดความรู้ เกี่ยวกับการใช้ยาเคมีใช้ ปุ๋ยเคมีกันมาก เพื่อให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพให้มากขึ้นโดยให้กลุ่มจัด ทำปุ๋ยไว้เพื่อใช้เอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มากและยังเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้มากควรให้กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ มีการระดมหุ้นกันเพื่อเป็นการจัดหาวัสดุการเกษตรมาจำหน่ายให้กลุ่มที่ราคาถูก และมีคุณภาพ ควรให้ประธานกลุ่มหรือสมาชิกได้มีการประสานกันได้ประสานงานกับหน่วยงานไฟฟ้าเพื่อขยายเขตไฟฟ้าไปยังแปลงผักของกลุ่ม เนื่องจากปัจจุบันสมาชิกยังใช้รถไถนาเดินตามในการสูบน้ำจากบ่อบาดาลแปลงผักทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากน้ำมันยังมีราคาแพง ควรให้กลุ่ม มีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในรอบเดือนที่ผ่านมา และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในเดือนต่อไป ได้ทันกับเหตุการณ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตผักปลอดสารพิษ : กรณีศึกษาในบ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การศึกษาสภาพปลูกผักปลอดสารพิษและการเลี้ยงสัตว์ของ บ้านสว่าง-ซำโอง อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น แรงจูงใจและผลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านสว่าง ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผักปลอดสารพิษกับการผลิตผักโดยใช้สารเคมีของเกษตรกรชุมชนวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตผักปลอดสารพิษระหว่างสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ความต้องการส่งเสริมการเกษตรของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรกิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาและพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร : กรณีกลุ่มเกษตรกรลำน้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก