สืบค้นงานวิจัย
ผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดมุกดาหาร
เกษริน ภักดีพิพัฒน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดมุกดาหาร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกษริน ภักดีพิพัฒน์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร ผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน และปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกร ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้มาตราประมาณค่าวัดระดับความคิดเห็น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 46.9 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.9 คน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.9 คน มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 13.0 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 5,005.1 กิโลกรัมต่อครอบครัว มีปริมาณการจำหน่ายข้าวโดยเฉลี่ย 2,503.6 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ย 20,082.5 บาทต่อครอบครัว แต่มีรายได้ภาคการเกษตรโดยเฉลี่ย 41,297.6 บาทต่อครอบครัวต่อปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.6 เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ประจำหมู่บ้าน และมีสถานที่ตั้งศูนย์อยู่ที่บ้านประธานศูนย์ประมาณครึ่งหนึ่งเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์โดยการทำความสะอาด กระจายพันธุ์โดยวิธีการแลกเปลี่ยน สถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ ยุ้งฉางของสมาชิก ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดมีความคิดเห็นต่อการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวแบบผสมผสานอยู่ในระดับมาก มีคณะกรรมการศูนย์เฉลี่ย 7.8 คน คณะกรรมการศูนย์มีการประชุมเฉลี่ย 4.9 ครั้งต่อปี มีสมาชิกศูนย์เฉลี่ยศูนย์ละ 29.4 คน มีเงินกองทุนศูนย์เฉลี่ย 90,268.9 บาทต่อศูนย์ ร้อยละ 91.4 ใช้ประโยชน์จากกองทุนศูนย์โดยการให้สมาชิกกู้ยืม แหล่งที่มาของเงินกองทุนศูนย์ส่วนใหญ่ได้จากปัจจัยการผลิตของกรมส่งเสริมการเกษตร ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานศูนย์ที่สำคัญ ได้แก่ ฝนแล้ง/น้ำท่วม ไม่มีเครื่องเย็บกระสอบ เกษตรกรอื่นๆ ไม่เชื่อถือในคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และมีปัญหาขาดวัสดุอุปกรณ์ในการถ่ายทอดความรู้ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ คือ เจ้าหน้าที่ควรถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ควรมีฉางเก็บเมล็ดพันธุ์ และควรมีวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา คือ เห็นควรถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรและกำกับดูแล การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ให้ศูนย์สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างมีคุณภาพ และเป็นที่น่าเชื่อถือของเกษตรกรในชุมชน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดมุกดาหาร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์ ความคิดเห็นของเกษตรกรในการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ทัศนคติของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ฤดูการผลิต ปี 2546/2547 ความคิดเห็นของผู้แทนศูนย์ที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในเขตชลประทาน การศึกษาผลการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาผลการดำเนินงานและความพึงพอใจของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2546 จังหวัดสตูล ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอนากลางจังหวัดหนองบัวลำภู ผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปี 2545 การยอมรับของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก