สืบค้นงานวิจัย
การจัดการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้สภาวะโรงเรือนเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือ
พีระศักดิ์ ฉายประสาท - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การจัดการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้สภาวะโรงเรือนเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Mango cv. Nam Dok Mai Sri tong Production under Green house for export in Northern Part of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พีระศักดิ์ ฉายประสาท
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Peerasak Chaiprasart
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การจัดการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้สภาวะโรงเรือนเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือ” แก่มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบระบบการให้น้ำและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอไชยปราการ หรือ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่แบบเกษตรกรมีส่วนร่วมและลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสด้วยการใช้โรงเรือนพลาสติก จากการศึกษาวิจัย พบว่าการออกดอกของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเชียงใหม่ที่อยู่ภายใต้โรงเรือนมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกเฉลี่ย 95 และ 94 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และภายนอกโรงเรือน 79 และ 85 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีเปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ยภายในโรงเรือนเท่ากับ 78.59 และ 77.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และภายนอกโรงเรือน 64.58 และ 66.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มะม่วงที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด 24 วัน การให้น้ำ 50% ของระดับความจุน้ำในดิน (ภายในโรงเรือน) คุณภาพของมะม่วงดีที่สุด เนื่องจากมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เฉลี่ยสูงสุด 16.17% ปริมาณ กรดที่ไทเทรตได้เฉลี่ยต่ำสุด 1.41%ค่าความแน่นเนื้อ (เปลือก) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 0.34 นิวตัน มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคแอนแทรคโนสเท่ากับ 4.20 ซึ่งต่ำกว่าการให้น้ำแบบเกษตรกรทั่วไป (ภายนอกโรงเรือน) มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคแอนแทรคโนสเท่ากับ 8.33 ดังนั้นการทดลองให้น้ำที่อยู่ภายใต้การคลุมหลังคาพลาสติกครั้งนี้จึงสามารถลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคแอนแทรคโนสในระยะผลสุกได้ ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ข้อมูลการเปรียบเทียบระบบการให้น้ำและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอไชยปราการ หรือ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่แบบเกษตรกรมีส่วนร่วมและลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสด้วยการใช้โรงเรือนพลาสติก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561-08-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562-08-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้สภาวะโรงเรือนเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
27 สิงหาคม 2562
การบริหารและจัดการความเสี่ยงเพื่อลดโรคแอนแทรคโนสของผล มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก การพัฒนาศักยภาพการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน การจัดการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้สภาวะโรงเรือนเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือ การพัฒนาคุณภาพผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองโดยการห่อผลต่างขนาดด้วยถุงกระดาษคาร์บอน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี ปี 2538 การพัฒนาของรอยผสานของมะม่วง บูรณาการความรู้มะม่วงน้ำดอกไม้ในเขตพื้นที่ตำบลดงมูลเหล็กเพื่อส่งเสริมการส่งออก การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ด้วยแนวคิด วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ของชุมชนดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก