สืบค้นงานวิจัย
การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว
พากเพียร อรัญนารถ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Using mixture powder formulation of antagonistic bacteria Bacillus subtilis and some chemicals to control rice seed discoloration disease
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พากเพียร อรัญนารถ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Parkpian Arunyanart
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ในแปลงย่อยขนาด 4*4 เมตร จำนวน 32 แปลงย่อย แต่ละแปลงย่อยมีคันล้อมรอบ หว่านปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่ พ่นสารแขวนลอยของผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis No.33 ที่ความเข้มข้นของเชื้อ 1.6*10**(9) cfu/ml จำนวน 3 ครั้งในระยะข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง ระยะข้าวออกรวงได้ 5 เปอร์เซ็นต์ และระยะรวงข้าวโผล่ทั้งแปลงแล้ว และทำการพ่นสารแขวนลอยของผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis No.33 ที่ความเข้มข้นของเชื้อ 1.6*10**(8) cfu/ml ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช แต่ละชนิด อัตราสารออกฤทธิ์ครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำได้แก่ สารป้องกันกำจัดโรคพืช carbendazim+epoxiconazole 25 เปอร์เซ็นต์ SC, propiconazol 25 เปอร์เซ็นต์ E.C และ propiconazol+difenoconazole 30 เปอร์เซ็นต์ E.C ตลอดจนการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แต่ ละชนิดอัตราสารออกฤทธิ์ตามอัตราแนะนำ ได้แก่ carbendazim+epoxiconazole 25 เปอร์เซ็นต์ SC, propiconazol 25 เปอร์เซ็นต์ E.C และ propiconazol+difenoconazole 30 เปอร์เซ็นต์ E.C พบการพ่นเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis No.33 ความเข้มข้น 1.6*10**(8) cfu/ml ร่วมกับ สารป้องกันกำจัดโรคพืช carbendazim+epoxiconazole 25 เปอร์เซ็นต์ SC หรือpropiconazol 25 เปอร์เซ็นต์ E.C หรือpropiconazol+difenoconazole 30 เปอร์เซ็นต์ E.C ในอัตราสารออกฤทธิ์ ครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำในระยะตั้งท้องใกล้ออกรวงและระยะรวงข้าวโผล่ได้ 5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลใน การควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าวในนาได้ดีเท่ากับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช carbendazim+epoxiconazole 25 เปอร์เซ็นต์ SC หรือ propiconazol 25 เปอร์เซ็นต์ E.C หรือ propiconazol+difenoconazole 30 เปอร์เซ็นต์ E.C ในอัตราสารออกฤทธิ์อัตราแนะนำ และรองลง มาได้แก่พ่นเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis No.33 ความเข้มข้น 1.6*10**(9) cfu/ml ซึ่งทุก กรรมวิธีที่กล่าวสามารถควบคุมโรคเมล็ดด่างให้มีระดับความรุนแรงของโรคต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินอกจากนี้ยังพบว่าทุกกรรมวิธีที่กล่าวมาจะมีผลผลิตข้าวไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): Experiments were laid out as Randomized Complete Block Design with 4 replications and 8 treatments. Khao Jow Hawm Khlong Luang 1, which is the most susceptible variety, was direct germinated-seed sown in 32 plots (a plot size 4*4 meter). Three applications with 1.6*10**(9) cfu/ml. of antagonistic bacterial suspention were made at booting, early heading and late heading stage and two applications with 1.6*10**(8) cfu/ml. of antagonistic bacterial suspention mixed with carbendazim+epoxiconazole 25 percent SC (11.25 gm.ai/rai) or propiconazol 25 percent E.C (7.5 gm.ai/rai ) or propiconazol+difenoconazole 30 percent E.C (6.75 gm.ai/rai ), an individual using of carbendazim+epoxiconazole 25 percent SC (22.5 gm.ai/rai) or propiconazol 25 percent E.C (15 gm.ai/rai) or propiconazol+difenoconazole 30 percent E.C (13.5 gm.ai/rai) were made at booting and early heading stage. One week before harvest, 100 panicles were randomly collected from each plot for disease severity examination and yield component of all plot were collected and analyzed The results indicated that the bacterium suspension (B.subtilis No.33, 1.6*10**(8) cfu/ml) mixec with carbendazim+epoxiconazole 25 percent SC (11.25 gm. ai/rai ) or propiconazol 25 percent E.C (7.5 gm.ai/rai) or propiconazol+difenoconazole 30 percent E.C (6.75 gm.ai/rai) fungicides showed the most effective in suppressing the rice grain discoloration disease development as well as an individual using of carbendazim+epoxiconazole 25 percent SC (22.5 gm.ai/rai), propiconazol 25 percent E.C (15 gm.ai/rai) and propiconazol+difenoconazole 30 percent E.C (13.5 gm.ai/rai) fungicides. We also found that using with 1.6*10**(9) cfu/ml. of antagonistic bacterial (B. subtilis No.33) also showed significant difference in suppressing the disease development compared to control plot.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155807
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 3 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเมล็ดด่างในข้าว แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การควบคุมโรคไหม้ของข้าวด้วยผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารจากพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการป้องกันกำจัดโรคพืช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก