สืบค้นงานวิจัย
ยุทธวิธีการทำสวนยางพาราอย่างมืออาชีพ
บำรุง ศรีนวลปาน - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ยุทธวิธีการทำสวนยางพาราอย่างมืออาชีพ
ชื่อเรื่อง (EN): The Strategies on Professional Planting Para-rubber Trees
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บำรุง ศรีนวลปาน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชวัลรัตน์ ทองช่วย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ยุทธวิธีการทำสวนยางพาราอย่างมืออาชีพเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดูแลรักษายางพาราที่มีประสิทธิภาพ เพื่อศึกษาขั้นตอนในการผลิตยางแผ่นที่ได้คุณภาพ และเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากโรคและแมลงที่เป็นศัตรูในยางพาราที่เกษตรกรกำลังเผชิญอยู่ ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ในการทำสวนยางส่วนใหญ่อยู่ที่ 11 ปีขึ้นไป วิธีการดูแลรักษาสวนยางพาราด้านต่าง ๆ มีดังนี้ 1) การกำจัดวัชพืช จะใช้สารเคมีมากกว่าใช้วิธีอื่น 2) การใส่ปุ๋ยจะใช้ปุ๋ยผสม (เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี) 3) ชนิดของต้นพันธุ์ยางที่นำมาปลูก จะใช้ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือถุงยาง (ต้นตอตาที่นำมาชำในถุงพลาสติกที่บรรจุดินเรียบร้อยแล้ว) ด้านลักษณะของยางพันธุ์ดีที่ต้องการ ในภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการยางที่มีลักษณะให้น้ำยางมาก ต้านทานลม และต้านทานโรค ด้านการปลูกพืชแซมยาง เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอยู่ในระดับที่น้อยมาก ด้านขั้นตอนในการผลิตยางแผ่นที่ได้คุณภาพ ในภาพรวมเกษตรกรจะให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ด้านปัญหาที่เกิดจากโรคและแมลงที่เป็นศัตรูในยางพารา ในภาพรวมเกษตรกรจะพบปัญหาโรคและแมลงที่เป็นศัตรูในยางพารามากที่สุด 4 อย่าง คือ โรคเปลือกเน่า โรคเส้นดำ โรคเปลือกแห้ง และปลวก
บทคัดย่อ (EN): This quantitative research attempted to study the effective methods of keeping Para-rubber trees, to study the procedures of producing quality para-rubber sheets, and to study the problems caused by plant diseases as well as the insects. The finding indicated that the farmers had more than 11 years of experience. As for the methods of keeping para-rubber trees, the weeds were get rid of by using chemical substance more than any other methods. Besides, mixed fertilizers were mostly used, while the para-rubber trees to be grown were crown budding in a plastic bag. The most desirable para-rubber trees for the farmers were those which produced much rubber liquid flow and were resistant to wind and plant diseases. However, the growing of another plant was reported at lowest level while the procedures of producing quality para-rubber sheets were rated at high level. All in all, the problems encountered were listed as mouldy rot, black stripe, tapping panel dryness and termites.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/wichcha/article/view/101769/78810
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ยุทธวิธีการทำสวนยางพาราอย่างมืออาชีพ
การยางแห่งประเทศไทย
2552
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนทำสวนยางพาราในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้ กระบวนการทำสวนยางพาราของเกษตรกรในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี การมีส่วนร่วมในการทำสวนยางพาราของแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกยางพารา ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เทคโนโลยีการผลิตยางพาราในสวนยางที่เปิดกรีดจังหวัดหนองบัวลำพู สำรวจสภาพของปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยยางพาราของเกษตรกรในสวนยางพ้นสงเคราะห์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก