สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2)
รองศาสตราจารย์ ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Industrial Development of Lanna Purple Rice: Bioactive Compounds Extraction and Separation Process Development from Lanna Purple Rice and Value-added Products Development from Lanna Purple Rice for Industrial uses
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม
คำสำคัญ: สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
คำสำคัญ (EN): Bioactive Compounds
บทคัดย่อ:            สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2)” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบข้าวก่ำล้านนามูลค่าสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำและ กลูโคสไซรัปจากข้าวก่ำ           จากผลการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบข้าวก่ำล้านนามูลค่าสูงได้แก่ผลิตภัณฑ์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำและกลูโคสไซรัปจากข้าวก่ำพบว่ามีข้าวก่ำบางสายพันธุ์เท่านั้นที่มีสารไบโอแอคทีฟปริมาณสูงและมีบางสายพันธุ์เท่านั้นที่มีความทนทานในการผ่านกระบวนการปรุงอาหาร ในกรณีทีผู้บริโภคเลือกสายพันธุ์ที่ไม่ทนทาน ต่อความร้อนในกระบวนการปรุงอาหารก็เท่ากับเป็นการเสียเงินเปล่าในการซื้อข้าวก่ำที่มีราคาแพงแต่เกิดคุณค่าดังที่ตั้งใจ จากผลสัมฤทธิ์ของโครงการวิจัยนี้สามารถหาสายพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ (อาทิฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเบาหวาน และฤทธิ์ต้านอัลไซเมอร์) ในปริมาณมากและมีความคงตัวเนื่องจากกระบวนการสกัดที่เหมาะสมโดยทำการเอนแคปซูเลทสารให้อยู่ในสภาพเสถียรเหมาะแก่การใช้งาน ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวพร้อมที่จะนำไปขยายขนาดในการผลิตผลิตภัณฑ์ไบโอแอคทีฟแคปซูลข้าวก่ำเป็นสารเสริมอาหารชนิดใหม่ทีได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขสำหรับจำหน่ายต่อไป โดยกระบวนการดังกล่าวใช้วิธีการย่อยแป้งข้าวก่ำเหนียวและข้าวเจ้า โดยใช้เอนไซม์แบบ 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่อันตรายและลดปัญหาเรื่องการกัดกร่อนของกรด           ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้คือ ได้กระบวนการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและการทำบริสุทธิ์บางส่วน และกระบวนการผลิตกลูโคสไซรัปจากข้าวก่ำล้านนาคุณภาพสูง 3 สายพันธุ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27 กันยายน 2557
การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม - การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขึ้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดเมล็ดสมุนไพรที่กำลังงอก การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม - การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2) การขยายพันธุ์มะแขว่น (Zanthoxylum limonella Alston) ที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตสู่อุตสาหกรรมเกษตร การวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การสกัดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก