สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี ปี 2538
กุลดิลก แก้วประพาฬ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี ปี 2538
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กุลดิลก แก้วประพาฬ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม การใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วง ต้นทุน ผลตอบแทน และวิธีการจำหน่าย ตลอดจนปัญหาการผลิต และการจำหน่ายมะม่วงของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี มีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 300 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และทดสอบค่าไคสแคว ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงที่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล เกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีอายุเฉลี่ย 42.8 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.7 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.8 คน ขนาดพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 37.96 ไร่/ครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะม่วงเฉลี่ย 9.34 ไร่/ครัวเรือน จำนวนพันธุ์มะม่วงที่ปลูกเฉลี่ย 5.18 พันธุ์/ครัวเรือน และที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล เกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 44.3 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.2 จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.1 คน ขนาดพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 36.67 ไร่/ครัวเรือน และจำนวนพันธุ์มะม่วงที่ปลูกเฉลี่ย 1.64 พันธุ์/ครัวเรือนเกษตรกรปลูกมะม่วงส่วนมากระหว่างปี 2533-2537 พันธุ์มะม่วงส่วนมากที่ปลูกเป็นพันธุ์ส่งเสริมหลัก คือ พันธุ์เขียวเสวย พันธุ์แก้ว พันธุ์น้ำดอกไม้ จำนวนต้นที่ปลูกสำหรับพันธุ์ส่งเสริมหลักเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ปลูกเฉลี่ยต่อครัวเรือน คือ 84.97 ต้น 49.09 ต้น และ 67.17 ต้น ตามลำดับ ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ปลูกเฉลี่ยต่อครัวเรือน คือ 92.36 ต้น 30.85 ต้น และ 37.28 ต้น ตามลำดับ พันธุ์มะม่วงที่ปลูกรองลงมา คือ พันธุ์หนองแซง พันธุ์อกร่อง และพันธุ์ฟ้าลั่น จำนวนต้นที่ปลูกเฉลี่ยต่อครัวเรือน เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ปลูก 22.55 ต้น 23.36 ต้น และ 22.31 ต้น ตามลำดับ ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กลุ่มพัฒนาไม้ผลปลูก 46.54 ต้น 35.97 ต้น และ 22.31 ต้น ตามลำดับ การปลูกมะม่วงส่วนมากปลูกบนพื้นที่ราบที่เป็นที่ดอน โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีการใช้กิ่งพันธุ์ปลูก มีการใส่ปุ๋ย มีการตัดแต่งกิ่ง และป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูเป็นส่วนมาก โดยเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล มีสัดส่วนการปฎิบัติมากกว่าเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล การลงทุนส่วนมากเป็นค่าพันธุ์ ค่าจ้างแรงงาน ค่าปุ๋ยเคมี และค่าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูมะม่วง โดยจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่า 1,000 บาท/ครัวเรือน เป็นส่วนมาก ผลตอบแทนเป็นผลผลิตที่เก็บเกี่ยวทั้งหมดเฉลี่ย/ครัวเรือน เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ได้ผลผลิตเฉลี่ย 7,195.04 กิโลกรัม เกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,569.63 กิโลกรัม สำหรับจำนวนเงินลงทุนและรายได้สุทธิเฉลี่ย (บาท/ไร่/ครัวเรือน) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ลงทุนและมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 5,576.76 และ 8,713.44 บาท/ไร่/ครัวเรือน ตามลำดับ เกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ลงทุนและมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 1,333.33 และ 1,869.83 บาท/ไร่/ครัวเรือน ตามลำดับ การจำหน่ายมะม่วงเกษตรกรส่วนมากเก็บเกี่ยวผลผลิต และนำส่งพ่อค้าในตัวจังหวัดและอำเภอ หรือนำผลผลิตไปจำหน่ายเอง ปัญหาในการผลิตคือ ขาดแคลนเงินลงทุน ขาดความรู้การเกษตรสมัยใหม่ ขาดเครื่องมือ ขาดแคลนแรงงานและมีปัญหาโรคแมลงศัตรูมะม่วง สำหรับปัญหาการจำหน่ายผลผลิต คือ ขาดการรวมกลุ่ม ยังไม่มีการคัดขนาดคุณภาพมาตรฐานผลผลิต และการทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ขนาดพื้นที่การเกษตร พื้นที่ปลูกมะม่วง การลงทุน ผลตอบแทนการผลิต การตัดแต่งกิ่ง กับการเป็นและไม่เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่พบจากการวิจัย คือ ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ส่งเสริมให้เป็นเขตส่งเสริมการผลิตที่ชัดเจน มีการประสานงาน วางแผน สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต สถาบันการเงิน การให้ข้อมูล-ข่าวสารการผลิตและการตลาด รณรงค์และเร่งรัดการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และส่งเสริมการบริโภคในรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี ปี 2538
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตมะม่วง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ สภาพการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การดำเนินการผลิตและส่งมะม่วงออกโดยเกษตรกรชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายมะม่วง จ.ราชบุรี การดำเนินการผลิตและส่งมะม่วงออกโดยเกษตรกรชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายมะม่วง จ.ราชบุรี ความต้องการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของกลุ่มส่งเสริมไม้ผล ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และกลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี การส่งเสริมการผลิตและการตลาดมะม่วงของกลุ่มเกษตรกรทำไร่หนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของกลุ่มเกษตรกรทำสวนโคกมะม่วงอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาวิธีการปฏิบัติในการพัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูมะม่วงหนังกลางวันเพื่อส่งออกของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงส่งออกเชียงใหม่-ลำพูน สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธานี ปีการผลิต 2546/2547 ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก